Loading color scheme

การประชุมรัฐมนตรีศึกษา SDEM ครั้งที่ 2 เมืองบันดุง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

SDEM 25 5 2559

สรุปสาระสำคัญการประชุมหารือโต๊ะกลม
หัวข้อที่ 1 เรื่อง “SEAMEO Education Agenda and Sustainable Development Goal # 4”
ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีศึกษา SDEM ครั้งที่ 2
วันที่ 28 เมษายน 2559 ระหว่างเวลา 10.00 – 11.00 น.
ณ ห้อง Champaka ชั้น 7 โรงแรม Padma เมืองบันดุง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
****************************

SDEM1 25 5 2559

1. หลักการแนวคิด : เน้นพัฒนาคุณภาพการศึกษาแบบองค์รวมและให้เกิดความเสมอภาคของผู้เรียนทุกคน ในภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 4
2. การนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น :
2.1 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ H.E. Br Armin A Luistro, FSC รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีความสาคัญอย่างมากเพราะเป็นเวทีที่ประเทศสมาชิกจะได้มา ร่วมกันพิจารณาถึงแนวทาง ในการปฏิรูปการศึกษาภายหลังการประชุม SDEM ครั้งที่ 1 ที่ สปป.ลาว เมื่อเดือนกันยายน 2557 ซึ่งในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาขององค์การซีมีโอ ประเทศในภูมิภาคต่างเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายหลายประการ และแม้ว่า หลายประเทศจะเน้นพัฒนาประเทศของตน แต่รัฐมนตรีศึกษายังคงรวมตัวกันเพื่อมุ่งพัฒนาการศึกษา ของภูมิภาคต่อไปในอนาคต จากข้อมูลสถาบันสถิติของยูเนสโก (UIS) ระบุว่า เด็ก 7 ล้านคนยังคงเป็น เด็กตกหล่นและอีกหนึ่งร้อยล้านคนยังคงอยู่ในสภาพที่เปราะบางไม่สามารถช่วย เหลือตนเองได้ ดังนั้น ประเทศสมาชิกจึงควรรวมพลังกันเพื่อประสานความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการ ศึกษา ในหลายเวทีของ การประชุมซีมีโอที่ผ่านมาจะเน้นแค่เพียงการหาแนวทางจัดการศึกษาเพื่อให้ บรรลุผลสำเร็จเฉพาะประเทศ ของตน แต่สิ่งสาคัญที่สุดนับจากนี้ไปคือ การร่วมกันแก้ไขปัญหาและสิ่งท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศในภูมิภาค อันจะนำไปสู่การบรรลุผลวาระการศึกษาของซีมีโอภายในอีก 20 ปีข้างหน้า รวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพื่อให้เกิดการปฏิวัติทางการศึกษา โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ แนวคิด และหลักการทางานใหม่ๆ ซึ่งขณะนี้ฟิลิปปินส์มีข้อริเริ่มหลายประการเพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงการ ศึกษาในพื้นที่ห่างไกล โดยจะเป็นการขจัดสิ่งท้าทายทางการศึกษาของภูมิภาคเพื่อก้าวไปสู่การศึกษาไร้ พรมแดน นอกจากนี้ ศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอยังมีศักยภาพในการดำเนินภารกิจด้านการศึกษาที่มี ประสิทธิภาพ ดังนั้น ประเทศสมาชิกจึงควรใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ของแต่ละศูนย์อย่างคุ้ม ค่า เช่น ศูนย์ซีมีโอซีโมเลค มีความเชี่ยวชาญเรื่อง การส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล ซึ่งสามารถประสานและแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน เป็นต้น
2.2 บรูไนดารุสซาลาม H.E. Pehin Dato Suyoi Hj Osman รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวสนับสนุนข้อคิดเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของฟิลิปปินส์ ในเรื่องของการผนึก และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกซีมีโอเพื่อบรรลุผลด้านการศึกษา อย่างไรก็ตาม การพัฒนาคุณภาพการศึกษาควรเริ่มจากประเทศของตน ขณะเดียวกันต้องพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีของประเทศ อื่นด้วยเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศตนเอง ต่อไป ในส่วนของบรูไนดารุสซาลาม มุ่งเน้นการศึกษาระหว่างเพศหญิง-ชาย การพัฒนาการศึกษาในกลุ่มเด็กชายขอบ การส่งเสริมทักษะด้านอาชีวศึกษา การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา การศึกษาครู การพัฒนาหลักสูตร การประกันคุณภาพ และการประเมินผลทางการศึกษา ซึ่งได้บรรจุไว้ในแผน SPN 21 (วิสัยทัศน์ของบรูไนฯ ในศตวรรษที่ 21) นอกจากนี้ ยังมุ่งแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาซึ่งมีนักเรียนจานวนหนึ่งที่ออกจากโรงเรียน เพื่อไปประกอบอาชีพแต่ยังขาดความรู้สามารถในการทางานหรือการเป็นผู้ประกอบ การที่เพียงพอ ทั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างนโยบายสำคัญของประเทศ 3 เรื่อง ดังนี้
2.2.1 การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เน้นการจัดการศึกษาครูที่ให้มั่นใจได้ว่าครูมีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมีคุณสมบัติครบถ้วนก่อนบรรจุเข้าเป็นครูในโรงเรียน ตลอดจนส่งเสริมทักษะชีวิตเพื่อให้นักเรียนสามารถทำงาน ในภาคอุตสาหกรรม
2.2.2 การส่งเสริมภาวะผู้นำในสถานศึกษา (Leadership in Schools) เน้นพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีทักษะด้านความเป็นผู้นำควบคู่ไปกับการดูแล และบริหารโรงเรียน

2.2.3 การจัดการศึกษาด้านทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Skills in Education) เน้นการสอนหลักสูตรที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการด้วยตน เอง ซึ่งบรูไนฯ มุ่งหวังที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องนี้จากประเทศอื่นด้วย
2.3 ประเทศไทย พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและประธานสภาซีเมค กล่าวถึงสิ่งที่ดำเนินการในประเทศไทยและประเด็นสำคัญ ดังนี้
2.3.1 การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต รัฐบาลชุดปัจจุบันเน้นให้ทุกกระทรวงทางานประสานกัน เพื่อจะได้ศึกษาและแก้ไขปัญหาการศึกษาในแต่ละช่วงชั้นร่วมกัน โดยยกตัวอย่างการดำเนินงานเรื่องของ กลุ่มเด็กพิการและกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับกระทรวงศึกษาธิการแต่อย่าง ใด สำหรับการดำเนินงาน ตามแนวทางใหม่นั้น จะต้องร่วมมือกันโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ส่งข้อมูลของเด็กทั้งสองกลุ่มให้กับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อวางแผนการจัดการ ศึกษา และกระทรวงสาธารณสุขจัดทำแผนของเด็กตั้งแต่เกิด จนตาย และแผนพัฒนาด้านโภชนาการเพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี ทั้งนี้ ในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิตนั้น หากประเทศในภูมิภาคมีการวางแผนร่วมกัน จะทาให้สามารถร่วมแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีได้ เนื่องจากมีระดับการศึกษาที่เหมือนกัน ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัย
2.3.2 จุดเน้นการปฏิรูปการศึกษา 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 2) การผลิตและพัฒนาครู 3) การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา 4) การผลิต พัฒนากำลังคน และงานวิจัย ที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ 5) ICT เพื่อการศึกษา และ 6) การบริหารจัดการ
2.3.3 การประชุมสุดยอดผู้นำ (Summit) รัฐมนตรีฯ เสนอแนวคิดในการผลักดันวาระการศึกษา ไปสู่การประชุมสุดยอดผู้นำ ASEAN Summit on Education เนื่องจากที่ผ่านมาการประชุม ASEAN Summit เน้นการค้าและเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงน่าจะมีเวทีที่เน้นเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งหากเรื่องนี้ทาสำเร็จ องค์การซีมีโอจะเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษาใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2.4 สาธารณรัฐสิงคโปร์ Assoc. Prof. Muhammad Faishal Ibrahim รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สิงคโปร์ได้พัฒนาการใช้โครงสร้างพื้นฐานเพื่อนาไปสู่การศึกษาแบบองค์รวม แก่ประชาชนทุกคน และเห็นพ้องเหมือนกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทยและประธานสภาซีเมค เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียน ซึ่งสิงคโปร์ได้บรรจุเรื่องนี้ไว้ในแผนพัฒนาแม่บท 3 ด้วย โดยเน้นการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีจากประเทศอื่น การดำเนินความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เพื่อดูแลและจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง หรือแม้แต่กลุ่มเด็กพิการ ทั้งนี้ สิงคโปร์เน้นเรื่องของการส่งเสริมการศึกษาเป็นสำคัญ โดยให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่โรงเรียน เพื่อสร้างความผาสุกให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ตลอดจนมุ่งพัฒนาการศึกษาผ่านการจัดกิจกรรมอาสาสมัคร
2.5 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย H.E. Dr. Anies Rasyid Baswedan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และวัฒนธรรม กล่าวถึงสิ่งท้าทายของภูมิภาคที่เปลี่ยนไปจากเมื่อ 50 ปีที่แล้ว และย้ำว่าเทคโนโลยีไม่สามารถเข้ามาแทนที่ครูผู้สอนหรือการเรียนรู้จากสิ่ง แวดล้อมได้ แต่ครูจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยี อย่างเหมาะสมและสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักเรียนได้ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการพัฒนาการศึกษา นอกจากนี้ องค์การซีมีโอควรระดมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการแสวงหาผลประโยชน์ และสารวจแนวทางการดำเนินงานร่วมกันกับภาครัฐบาลและท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสในการริเริ่มและขยายโครงการความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาให้ มากยิ่งขึ้น
--------------------------------------------
สรุปสำระสำคัญการประชุมหารือโต๊ะกลม
หัวข้อที่ 2 เรื่อง “Innovations on Learning Delivery and Content”
ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีศึกษา SDEM ครั้งที่ 2
วันที่ 28 เมษายน 2559 ระหว่างเวลา 11.30 – 12.30 น.
ณ ห้อง Champaka ชั้น 7 โรงแรม Padma เมืองบันดุง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
------------------------ ------------------------ ------------------------
1. หลักการแนวคิด : เน้นการดำเนินข้อริเริ่มที่สำคัญในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนา เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและวิธีการสอนหรือการประเมิน อันจะนำไปสู่การดูแลและพัฒนา เด็กปฐมวัยอย่างเป็นสากล โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ
2. การนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น :
2.1 มาเลเซีย H.E. Dato’ Seri Mahdzir Khalid รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอเรื่อง การขยายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาทั้งในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ห่างไกล ชุมชนพื้นเมืองและชุมชนกลุ่มน้อย ซึ่งประเทศมาเลเซียมุ่งจัดการศึกษาในระดับเด็กก่อนวัยเรียน โดยเพิ่มจำนวนห้องเรียนและให้ความช่วยเหลือ ค่าเล่าเรียนสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อยและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ขยายหลักสูตรด้านการรู้ภาษา และด้านการคำนวณ (Literacy and Numeracy) เปลี่ยนรูปแบบการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา โดยเพิ่มโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตรอาชีวศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกระดับโรงเรียนอาชีวศึกษาไปเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษา ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ดำเนิน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาด้วยหลักสูตรที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังสร้างความเชื่อมโยงที่แน่นแฟ้นระหว่างผู้ประกอบการของภาคอุตสาหกรรมกับ ผู้ให้บริการ ด้าน TVET โดยเปิดหลักสูตรด้านการท่องเที่ยวและด้านยานยนต์ เป็นต้น
2.2 สาธารณรัฐสิงคโปร์ Assoc. Prof. Muhammad Faishal Ibrahim รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นาเสนอว่าการศึกษาไม่ใช่แค่เรื่องของวิชาการแต่ยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของ ศีลธรรม การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน สังคม และเศรษฐกิจ โดยเชื่อว่าการศึกษานั้นจะทาให้คนได้รับสิ่งที่ดีที่สุด สิงคโปร์ มุ่งจัดเตรียมความพร้อมในอนาคตให้แก่เด็ก เพราะการศึกษาเปิดโอกาสให้เด็กได้เข้าถึงเรื่องของศีลธรรม ธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการศึกษาในวงกว้าง และได้วางแผนในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาคนให้มีความมั่นใจ เรียนรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมและรับผิดชอบ และพร้อมช่วยเหลือ สาหรับ การออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนได้เน้นการปูพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยบูรณาการการเรียนรู้ ให้เข้ากับการใช้ชีวิตประจาวัน การเรียนรู้สู่อนาคตโดยพัฒนาห้องเรียนศตวรรษที่ 21 การศึกษาแบบองค์รวมโดยพัฒนากรอบโครงสร้างการเรียนการสอนให้เป็นหนึ่งเดียว กันเนื่องจากสิงคโปร์มีหลายเชื้อชาติ รวมถึงการสอนในเรื่องความเห็นใจและความเข้าใจผู้อื่น ตลอดจนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยเน้นว่าการศึกษาเปรียบเสมือนการเดินทาง ตลอดชีวิตที่ช่วยพัฒนากรอบการเรียนรู้ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพท่ามกลางสภาพแวดล้อม ที่ดีซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาและการเรียนรู้ สิ่ง ที่สังเกตได้ประการหนึ่งคือ ทุกคนล้วนคาดหวังในเรื่องของความสำเร็จทางด้านวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รัฐมนตรีฯ สิงคโปร์ เชื่อว่าการเปลี่ยนจากจุดเน้นด้านวิชาการจะช่วยส่งเสริมในเรื่องของการคิด เชิงวิเคราะห์และเชิงยุทธศาสตร์มากยิ่งขึ้น ดังนั้น สิงคโปร์จึงได้นำดนตรีและศิลปะมาใช้ในการเรียนการสอน ในชั้นเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการสอนอีกรูปแบบหนึ่ง พวกเราต้องการเด็กที่สามารถทาอะไรได้เองเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบองค์รวมและ ใช้เวลากับสิ่งอื่นๆ นอกเหนือไปจากเรื่องของวิชาการ และเน้นเรื่องภาษา คณิตศาสตร์ และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ครูสามารถแบ่งปันและเรียนรู้ซึ่งกัน และกันได้ เช่น การส่งครูไปเรียนภาษาในประเทศสมาชิกซีมีโอ เป็นเวลา 1 ภาคเรียน เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ทั้งด้านภาษาและด้านวัฒนธรรม เป็นต้น ประการสุดท้ายคือ การก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ จากประเทศสมาชิกเพื่อให้สามารถผ่านพ้นข้ออุปสรรคต่างๆ สร้างเครือข่ายและหุ้นส่วนความร่วมมือ รวมทั้งผลักดันให้เวทีนี้สามารถพัฒนาแนวทางใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่ การสร้างสังคมที่ดีกว่าของคนในภูมิภาคต่อไปในอนาคต
2.3 ประเทศไทย พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและประธานสภาซีเมค กล่าวสนับสนุนประเด็นของมาเลเซียและสิงคโปร์ สาหรับประเทศไทยได้สนับสนุนให้สถาบันครอบครัว และสังคมมีบทบาทสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้แก่เด็ก แต่ปัญหาที่ประสบคือ วิธีการสอน ที่โรงเรียนกับที่บ้านมีความแตกต่างกัน การเรียนรู้และแสดงออกของเด็กเมื่ออยู่ที่บ้านและโรงเรียน ก็ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งหากจะยุบรวมโรงเรียน ก็ดำเนินการค่อนข้างยาก เนื่องจากชุมชนหนึ่งจะประกอบด้วย บ้าน วัด และโรงเรียน และหากมีความจำเป็น ต้องลดจานวนโรงเรียนลง จะต้องได้รับการอนุญาตจากชุมชนนั้นๆ ก่อน ทั้งนี้ สาเหตุหลักมาจากการขาดแคลนครูผู้สอนประจำวิชาและประจำชั้นเรียน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวง อื่นๆ และเนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างสัดส่วนของโรงเรียน ครู และนักเรียน ประเทศไทยจึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนทางไกลเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาเป็น เวลากว่า 10 ปี จนถึงรัฐบาลชุดนี้ซึ่งได้ส่งเสริมระบบการศึกษาทางไกลในโรงเรียนจนบรรลุผล สำเร็จตามเป้าหมาย จำนวน 15,000 แห่ง
2.4 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา Dr. Soe Win ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอประเด็นคำถาม ต่ออินโดนีเซียเกี่ยวกับกระบวนการรวบรวมข้อมูลในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากผู้ใหญ่จานวนมาก ในเมียนมาที่ไม่มีทักษะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น จะทำอย่างไรถึงจะรู้ได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความถูกต้อง และหน่วยงานที่ดำเนินการมีเพียงแค่กระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น หรือมีหน่วยงานอื่น เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
2.5 มาเลเซีย H.E. Dato’ Seri Mahdzir Khalid รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ยังคงมีช่องว่างอย่างมากระหว่างครูและนักเรียน เกี่ยวกับเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรให้เด็ก และผู้ใหญ่สามารถปรับตัวได้เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถฝ่าฟันและก้าวข้ามสิ่ง ท้าทายต่างๆ ไปได้
2.6 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย H.E. Dr. Anies Rasyid Baswedan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และวัฒนธรรม กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ครูและนักเรียนต่างเป็นผู้เรียนด้วยกันทั้งคู่ จึงจาเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้นอย่างรวดเร็ว นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้เนื้อหาในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น ครูจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการที่จะถ่ายทอดเนื้อหาให้แก่นักเรียนได้ อย่างบรรลุผลสำเร็จ รวมถึงการเรียนรู้จากผู้อื่น เพราะไม่มีใครที่แก่เกินเรียน (เอกสารคำกล่าวเปิด)
--------------------------------------------
สรุปสาระสำคัญการประชุมหารือโต๊ะกลม
หัวข้อที่ 3 เรื่อง “Engaging Key Education Players and Stakeholders”
ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีศึกษา SDEM ครั้งที่ 2
วันที่ 28 เมษายน 2559 ระหว่างเวลา 14.30 – 15.30 น.
ณ ห้อง Champaka ชั้น 7 โรงแรม Padma เมืองบันดุง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
------------------------ ------------------------ ------------------------
1. หลักการแนวคิด : มุ่งพัฒนาการศึกษาโดยยกระดับความสามารถและคุณภาพของผู้ที่ทำงานด้านการศึกษา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน โดยเฉพาะครูซึ่งมีบทบาทสาคัญในการให้บริการทางการศึกษา รวมทั้งการหาแนวทางในการดำเนินความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับหน่วย งานภาครัฐ และหน่วยงานท้องถิ่น การเชื่อมโยงการทำงานระหว่างโรงเรียนและชุมชน ตลอดจนการเปิดโอกาส ให้หน่วยงานภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
2. การนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น :
2.1 อินโดนีเซีย H.E. Dr. Anies Rasyid Baswedan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมกล่าวว่า ปัจจุบันอินโดนีเซียได้เน้นบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ชุมชนและสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผ่านการใช้เทคโนโลยี เช่น วิกิพีเดีย เพื่อเป็นเวทีให้กับทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม การที่ภาครัฐจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับหุ้นส่วนความร่วมมืออื่นๆ นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก ดังนั้น จึงจำเป็น ที่จะต้องหาแนวทางผลักดันและจูงใจภาครัฐให้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษา ของภูมิภาค ทุกวันนี้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายที่แตกต่างไปจากศตวรรษที่ 19 จึงมีความมุ่งหวังอย่างมากที่จะต้องให้บริการในสิ่งที่ประชาชนคาดหวังและมี ความพึงพอใจ ขณะนี้ ในช่วงศตวรรษที่ 21 แต่ครูยังเหมือนอยู่ในศตวรรษที่ 20 และการจัดเรียนการสอนยังคงเป็นรูปแบบเดิมๆ เหมือนในศตวรรษที่ 19 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเหมือนกันมากกว่าความแตกต่าง ดังนั้น ประเทศต่างๆ จึงควรร่วมมือกันเพื่อนาไปสู่การพัฒนาของภูมิภาคที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการกำหนดมาตรฐานและวางรูปแบบในการดำเนินความร่วมมือใหม่ๆ รวมทั้งการปรับนโยบายโรงเรียนในการเปิดโอกาสให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการการศึกษาด้วย
ในปี 2545 อินโดนีเซียได้กำหนดแนวทางให้ภาครัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภายใน โรงเรียน ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียนและกรรมการบริหารด้านการศึกษาใน ระดับท้องถิ่น แบ่งเป็น ชุดที่ปรึกษาโดยมีอานาจในการตัดสินใจในระดับโรงเรียน ชุดสนับสนุนโดยจัดหาความร่วมมือ จากภาครัฐและภาคเอกชน ชุดควบคุมและกำกับดูแลโดยรับผิดชอบกิจการภายในโรงเรียน และชุดสื่อกลาง โดยประสานงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมของภาครัฐจะเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลและข่าวสารจาก โรงเรียน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปปรึกษาหน่วยงานภาครัฐเพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ซึ่งจากขั้นตอนนี้จะทำให้เกิดข้อริเริ่มในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อ ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเพื่อพิจารณาถึงสิ่งที่จาเป็นเร่งด่วนในการดำเนิน การ ขั้นตอนสุดท้ายคือ การติดตามด้านนโยบายและการประเมินผลซึ่งจะทำให้ทราบถึงความก้าวหน้าและความ สำเร็จในการดำเนินงาน ตามนโยบาย ปัจจุบันนี้ อินโดนีเซียมีผู้แทนจากภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในภาคการศึกษา ประมาณ 500 คน
2.2 เวียดนาม H E Prof Dr Bui Van Ga รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม กล่าวว่าภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญมากในโลก ซึ่งผู้กำหนดนโยบายควรเข้ามามีบทบาทให้มากขึ้น โดยหากมองย้อนกลับไปในอดีตถึงสิ่งที่ได้ดาเนินการมาแล้วพร้อมทั้งรับเอาแนว ทางใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ ผู้ปกครองและสื่อควรเข้ามามีส่วนร่วมด้วย (เอกสารสรุปผลการประชุมโต๊ะกลมฯ)
2.3 ประเทศไทย พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและประธานสภาซีเมค กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ (Public – Private Steering Committee) โดยมีชื่อเรียกว่า นโยบายประชารัฐ เพื่อให้บรรลุผลตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์นี้ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และชุมชน จึงเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับด้านการศึกษา คณะกรรมการดังกล่าวจะเรียกว่า “คณะทางานด้านการศึกษาพื้นฐานและ การพัฒนาผู้นา” โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นหัวหน้าทีมภาครัฐ ร่วมด้วยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในส่วนภาคเอกชนคณะทำงานข้างต้นนำทีมโดยประธานกรรมการบริหารบริษัทเครือเจริญ โภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัท ขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีประธานกรรมการบริหารจากบริษัทขนาดใหญ่ จานวน 20 แห่ง ร่วมในคณะทำงานข้างต้นด้วย ทั้งนี้ ยังได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 4 ชุด เพื่อช่วยกำหนดแผนงานในการดำเนินโครงการ ได้แก่ 1) อนุกรรมการด้านฐานข้อมูลการศึกษา 2) อนุกรรมการ ด้านปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนการสอน 3) อนุกรรมการด้านการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) อนุกรรมการด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
อนึ่ง การมีส่วนร่วมของบริษัท จะต้องมีการคัดเลือกพนักงาน จานวน 1,000 คน เพื่อทำงานร่วมกับภาครัฐในการออกแบบแผนปฏิบัติการสำหรับสถานศึกษา ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีการจัดตั้งกองทุนเพื่อรับรอง การขับเคลื่อนทรัพยากรจากหุ้นส่วนความร่วมมือต่าง ๆ ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ คือ ความร่วมมืออย่างดีระหว่างโรงเรียนในเรื่องความโปร่งใสและความรับผิดชอบร่วม กัน การอุทิศตนของผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวมทั้งสาธารณูปโภคและเทคโนโลยี โดยข้อตกลงระหว่างโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ และการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อไป
------------------------------------------
สรุปสาระสำคัญการประชุมหารือโต๊ะกลม
ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีศึกษา SDEM ครั้งที่ 2
หัวข้อที่ 4 เรื่อง “The Seven Priorities Areas of SEAMEO:
Agenda for the Next 3 Years (2016 - 2018)”
วันที่ 28 เมษายน 2559 ระหว่างเวลา 16.00 – 17.00 น.
ณ ห้อง Champaka ชั้น 7 โรงแรม Padma เมืองบันดุง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
------------------------ ------------------------ ------------------------
1. หลักการแนวคิด : ให้ความสำคัญกับวาระการพัฒนาการศึกษาตามมติที่ประชุม SDEM ครั้งที่ 1 ที่ต้องการผลักดันประเด็นสำคัญด้านการศึกษาทั้ง 7 ประการ ให้บรรลุผลในอีก 20 ปีต่อจากนี้ (พ.ศ. 2578) ซึ่งรวมถึงเรื่องของการดูแลเด็กปฐมวัย การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษา การฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา การพัฒนาครู ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัย และการจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21
2. การนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น :
2.1 เมียนมา Dr. Soe Win ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ประเทศมีจุดเน้นด้านผลิตผลในการจัดการศึกษาก่อนวัยเรียน การควบคุมบริหารด้านงบประมาณของโรงเรียนในการจัดการศึกษาและการศึกษาครู รวมถึงการส่งเสริมให้มีการจัดฝึกอบรมภาษาอังกฤษร่วมกับบริติช เคาน์ซิล (โครงการ 2 ปี) ปัจจุบัน เมียนมาอยู่ภายใต้การพัฒนาระบบการศึกษาและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ K – 12 (5-4-3) ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างจัดเตรียมหลักสูตรในแต่ละชั้นปี สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษา ได้มีการกำหนดกรอบโครงสร้างและแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติใหม่โดยเน้นการเสริม สร้างความแข็งแกร่งของการศึกษา เด็กก่อนวัยเรียน การพัฒนาในระดับประถมศึกษา การดำเนินการด้านคุณภาพการศึกษา และการเสริมสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนในการพัฒนา เช่น องค์การซีมีโอกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) กับศูนย์ซีมีโอไรเฮด เป็นต้น
นอก จากนี้ ยังกล่าวเห็นด้วยกับสปป.ลาวในการขยายความร่วมมือในระดับโรงเรียนซึ่งเรา สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอสามารถให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ตามขอบข่ายความเชี่ยวชาญ รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการศึกษาต่อไป
2.2 สปป.ลาว Mr. Lytou Bouapao รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา กล่าวว่า องค์การซีมีโอ ได้ก่อตั้งมา 50 ปีแล้ว และจนถึงทุกวันนี้ได้มีการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการพัฒนาการศึกษา ของภูมิภาค ลาวเน้นการจัดหาสาธารณูปโภคให้แก่โรงเรียนและขณะนี้ได้นำเอาประเด็นสาคัญ ด้านการศึกษาของซีมีโอไปรวมไว้ในกิจกรรมโครงการด้วย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมบทบาทและความร่วมมือของซีมีโอ ทั้งนี้ ลาวยังมีอีกหลายโครงการที่ต้องดำเนินการแต่ยังขาดงบประมาณรองรับ รวมทั้งผู้ดำเนินการและโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม ลาวยังคงสนับสนุนแนวคิดในการผลักดันซีมีโอให้เป็นหน่วยงานหลัก เพื่อนำพาประเทศในภูมิภาคไปสู่เวทีการประชุมระดับสุดยอดด้านการศึกษา (Summit) ดังนั้น เราจึงควรส่งเสริมให้หน่วยงานภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องก้าวไปสู่เวทีระดับ ผู้นำและมุ่งเน้นถึงแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.3 ฟิลิปปินส์ H E Br Armin A Luistro รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสนอว่าการจัดหารือ เชิงยุทธศาสตร์ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพราะหากเราสามารถแบ่งปันแนวปฏิบัติได้ เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมุ่งแก้ไขสิ่งท้าทายของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ และหากเรามีโอกาสได้กล่าวถึงประเด็นการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เรายิ่งจำเป็นต้องให้ความสาคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายเรื่องที่พวกเราไม่สามารถแก้ไขได้เอง ซึ่งซีมีโออาจให้ความช่วยเหลือได้โดยการรวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญสำหรับ โรงเรียนและแบ่งปันข้อมูลที่ โรงเรียนไม่สามารถเข้าถึง หรือแม้แต่ข้อมูลที่โรงเรียนมีแต่ไม่สามารถดาวน์โหลด หรือนามาดำเนินการได้เอง ซึ่งเรื่องนี้ซีมีโอควรหาแนวทางและกลยุทธ์ในการจัดการกับเรื่องดังกล่าวให้ เกิดผลสัมฤทธิ์
2.4 อินโดนีเซีย H.E. Dr. Anies Rasyid Baswedan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม กล่าวว่า เราควรสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและประสาน สัมพันธ์ระหว่างประชาชน โรงเรียนและนักเรียน รวมทั้งประเทศในภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลผ่านการดำเนินโครงการของ ซีมีโอ

*************************

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
28 เมษายน 2559