Loading color scheme

jS 49209358

Dr. Wattanaporn Ra-Ngubtook, Deputy Permanent Secretary of Education, Chief Representative of Thailand attended the Workshop on the APEC Report on Education and Economic Development  from May 21-22, 2018 at the Montien Riverside Hotel.

ดร. วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำรายงานเรื่อง “การศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของกรอบความร่วมมือเอเปค” (Workshop on APEC Report on Education and Economic Development) ระหว่างวันที่ 21 - 22 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องธารทอง โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ พระราม 3 กรุงเทพมหานคร

ในโอกาสนี้ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวต้อนรับและขอบคุณผู้แทนจากเขตเศรษฐกิจเอเปคที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ฯ โดยการประชุมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อจัดทำกลไกการติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การศึกษาเอเปค (APEC Education Strategy) ตลอดจนร่วมกันกำหนดรูปแบบการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคได้ใช้เป็นแนวทางการจัดทำรายงาน นอกจากนี้ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะผู้เรียนตามความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งเสริมการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม และการพัฒนาครูในทุกระดับ โดยเฉพาะครูผู้สอนสะเต็มศึกษาและอาชีวศึกษา รวมทั้ง ได้เสนอแนะข้อนโยบายเพื่อกระชับและยกระดับความร่วมมือระหว่างสมาชิกเขตเศรษฐกิจในการใช้ประโยชน์จากการดำเนิน ความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสำหรับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคและโลกต่อไป
     อนึ่ง สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคประกอบด้วยผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ (ออสเตรเลีย บูรไน แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม)  โดยปีนี้ ปาปัวนิวกินี เป็นเจ้าภาพใหญ่ในการจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค การประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง ๆ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค และการประชุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้กำหนดหัวข้อหลัก และประเด็นสำคัญ “การสร้างโอกาสอย่างครอบคลุมเพื่อเปิดรับอนาคตทางดิจิทัล” ประกอบด้วย 3 ประเด็นได้แก่
1) การพัฒนาความเชื่อมโยงและส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
2) การส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างครอบคลุมและยั่งยืน
3) การเสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างครอบคลุมผ่านการปฏิรูปโครงสร้าง

jjs 72662 horz

*****************************

ข้อมูลโดย สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
22 พฤษภาคม 2561

การประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบเอเปค (APEC HRDWG Meeting)
และการประชุมเครือข่ายการศึกษาของเอเปค (EdNet)
ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2561
ณ กรุงพอร์ตมอร์สบี รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี
*******************

papua 1 3 2018
รัฐเอกราชปาปัวนิวกินีเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 9 มีนาคม 2561 ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบเอเปค (APEC HRDWG Meeting) การประชุมเครือข่ายการศึกษาของเอเปค (EdNet) และการประชุม APEC Human Resources Development Working Group Symposium ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2561 โดยการประชุมมีเนื้อหาที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ อ่านต่อ..

********************************************************************

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
26 กุมภาพันธ์ 2561

lima 5 6 oct 2558

พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาของเอเปค ครั้งที่ 6 การประชุมฯ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Education Growth : Competencies, Employability and Innovation ระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม 2559 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางการศึกษา และรับรองยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของเอเปค รวมทั้งแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีด้านการศึกษาของเอเปค ในการประชุมครั้งนี้ มีรัฐมนตรีด้านการศึกษา และผู้บริหารด้านการศึกษาของเขตเศรษฐกิจเอเปค เข้าประชุม จำนวน 19 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู ฟิลิปปินส์ สหพันธรัฐรัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม อ่านต่อ..

**************************************************************

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
6 ตุลาคม 2559

Arequipa Peru 10 oct 2016ตามที่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นางขนิษฐา ห้านิรัติศัย นักวิเทศสัมพันธ์ ชำนาญการพิเศษ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. และนางสาวรุ่งกานต์ พันธุ์ภักดี นักวิเทศสัมพันธ์ ชำนาญการ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเปค (6AEMM) ระหว่างวันที่ 5 - 6 พฤษภาคม 2559 และการประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปคและการประชุมคณะทำงานด้านการศึกษาของเอเปค ระหว่างวันที่ 7 - 10 พฤษภาคม 2559 ณ เมืองอาเรกีปา สาธารณรัฐเปรู นั้น
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. ขอเรียนสรุปผลการประชุม ดังนี้
1. การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเปค
1.1 เริ่มประชุมในช่วงบ่ายของวันที่ 5 พฤษภาคม 2559 โดยมี นาย Walter Twanama ผู้ประสานงานคณะทำงานด้านการศึกษาเปรู กล่าวเปิดการประชุม ร่วมกับผู้แทนสหพันธรัฐรัสเซีย ผู้แทนประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค และผู้ประสานงานคณะทำงานด้านการศึกษาเอเปค ซึ่งการประชุมนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 18 เขตเศรษฐกิจ (ออสเตรเลีย บูรไน แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ ไทเป สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และประเทศไทย)
1.2 ผู้ประสานงานคณะทำงานด้านการศึกษาเอเปคกล่าวรายงานสรุปผลการประชุมวางแผนการเตรียมการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเปค ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 26 มกราคม 2559 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน หัวข้อการประชุมฯ จะเน้นให้การศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัมนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความั่นคงทางเศรษฐกิจของเอเปค เพื่อรองรับการประชุมผู้นำเอเปค ซึ่งได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค นอกจากนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเปค จะมีการจัดทำรายงานสถานะการศึกษาของเอเปค
1.3 ที่ประชุมพิจารณาเกี่ยวกับร่างกำหนดการประชุม 6AEMM โดยหัวข้อการประชุม คือ “Inclusive and Quality Education” และหัวข้อย่อยที่จะใช้ในการประชุม มี 3 ประเด็น ดังนี้
• Competence Individual Pathways for Education, Higher Education & Technical and Vocational Education and Training (TVET)
• Innovation STI in Education and reduction of gaps
• Employability Developing Cooperation for Economic Growth
ในส่วนของเนื้อหาที่จะมีการแลกเปลี่ยนสนทนากันระหว่างเขตเศรษฐกิจ จะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่แต่ละเขตเศรษฐกิจจะให้ความสนใจ และจัดส่งเอกสารหัวข้อมายังฝ่ายเลขานุการเอเปคต่อไป
1.4 ดร. Wang Yan ผู้ประสานงานคณะทำงานด้านการศึกษา นำเสนอเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเอเปค (APEC Education Strategy) โดยในแผนยุทธศาสตร์ฯ กำหนดให้แต่ละเขตเศรษฐกิจเน้นเฉพาะหัวข้อที่เขตเศรษฐกิจตนสนใจ ประมาณ 1 - 2 หัวข้อ ที่มีการวางแผนการดำเนินงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางที่เอเปคจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาด้านการศึกษาให้สำเร็จ นอกจากนี้ ขอให้แต่ละเขตเศรษฐกิจได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาด้านการศึกษาของตน เพื่อให้เขตเศรษฐกิจอื่น ๆ สามารถนำประสบการณ์เหล่านั้นไปศึกษาและปรับใช้ให้เข้ากับบริบทด้านการศึกษาของตนเองได้ ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ฯ จะนำเสนอในการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเปคในเดือนตุลาคมนี้
สำหรับการดำเนินการเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเอเปค ออสเตรเลียได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ครั้งที่ 1 ในช่วง
ต้นเดือนสิงหาคม 2559 และรัสเซีย เสนอที่จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 1 กันยายน 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่รัสเซียจะจัดการประชุมด้านอุดมศึกษาด้วย
1.5 ดร. Wang Yan นำเสนอเกี่ยวกับการจัดทำ Baseline Report และความคืบหน้าในการดำเนินงาน ซึ่งการจัดทำ Baseline Report มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างแต่ละเขตเศรษฐกิจเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาของแต่ละเขตเศรษฐกิจ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลระบบการศึกษา ความรู้ด้านการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาที่เกิดขึ้นในแต่ละเขตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของแต่ละเขตเศรษฐกิจ จะสามารถทำให้แต่ละเขตเศรษฐกิจเกิดความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างกันได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ดร. Wang ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าในวันที่ 8 พฤษภาคม จะขอเชิญแต่ละเขตเศรษฐกิจเข้าร่วมหารือเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำ Baseline Report เพิ่มเติมด้วย
1.6 การนำเสนอรายงานเรื่อง APEC Education Cooperation Project (ECP) ของเกาหลี
ซึ่งจะนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเปค ในเดือนตุลาคม เพื่อให้ที่ประชุมรับรองรายงานฉบับนี้ด้วย ทั้งนี้ เกาหลีแจ้งว่าในรายงานดังกล่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างการแปลเป็นภาษาอังกฤษ (ประมาณไม่เกิน 100 หน้า) และจัดรีบดำเนินการจัดส่งให้แต่ละเขตเศรษฐกิจศึกษารายงานดังกล่าวก่อนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละเขตเศรษฐกิจจะต้องรับรองในเดือนตุลาคม
1.7 กำหนดการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
• รัสเซีย จะจัดโครงการ Young Leader APEC ระหว่างวันที่ 25 - 27 มิถุนายน 2559 ที่เมือง Ufa โดยจะเชิญนักเรียนอายุระหว่าง 25 - 35 ปีจากแต่ละเขตเศรษฐกิจมาเข้าร่วมการประชุม
• จีน จะจัด Model APEC โดยในปีนี้ จะจัดในหัวข้อ “a Model AEMM Youth Forum”โดยจะจัดส่งจดหมายเชิญไปยังแต่ละเขตเศรษฐกิจประมาณปลายเดือนพฤษภาคมนี้
• สหรัฐอเมริกา จัดทำแบบสำรวจเกี่ยวกับเรื่อง STEM .....
2. การประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค ครั้งที่ 38 (HRWWG 38) เริ่มประชุมในช่วงเช้าของวันที่ 7 พฤษภาคม 2559 โดยเป็นการประชุมด้านเทคนิคของเอเปค และในช่วงบ่ายเริ่มการประชุมเต็มคณะของการประชุมคณะ HRWWG
2.1 การประชุมเต็มคณะ HRWWG ได้รับเกียรติจาก H.E. Mr. Daniel Maurate รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและส่งเสริมการจ้างงานเปรู เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมจาก 20 เขตเศรษฐกิจ (ออสเตรเลีย บูรไน แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ไทเป สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และประเทศไทย) โดยรัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และได้กล่าวถึงเป้าหมายการพัฒนาการจ้างงานของเปรู รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานและการเตรียมเยาชนเพื่อให้พร้อมรับเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต ซึ่งกระทรวงแรงงานและส่งเสริมการจ้างงานเปรู มีการจัดตลาดนัดแรงงาน เพื่อเป็นหนึ่งแนวทางในการกระตุ้นความสนใจ ให้ความรู้ และฝึกทักษะให้แก่เยาวชนเพื่อสร้างความพร้อมให้เยาวชนเหล่านั้นมีทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถเข้าทำงานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพต่อไป
2.2 Ms. Daria Rybakova ปฏิบัติหน้าที่ HRDWG Lead Shepherd กล่าวเปิดการประชุม
2.3 Mrs. Monica Medina HRDWG Co-Lead บรรยายให้ที่ประชุมฟังเกี่ยวกับการดำเนินงานที่สำคัญของเอเปคใน 4 หัวข้อหลัก คือ 1) Advancing REI and Quality Growth 2) Enhancing the Regional Food Market 3) Towards the Modernization of MSMES in the Asia-Pacific 4) Developing Human Capital
2.4 Mrs. Marita Puertas ประธาน SOM ได้กล่าวถึง The APEC 2016 Priorities
2.5 ผู้แทนประเทศฟิลิปปินส์ รายงานให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับวาระการประชุมที่สำคัญใน APEC Leaders’ Meeting 2015 และผลการดำเนินงาน
3. การประชุมคณะทำงานด้านการศึกษาเอเปค ครั้งที่ ระหว่างวันที่ 8 - 9 พฤษภาคม 2559
3.1 Dr. Wang Yen ผู้ประสานงานเครือข่ายการศึกษาของเอเปค เป็นประธานการประชุมฯ ขอให้ผู้แทนเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาในเอเปค ซึ่งแต่ละเขตเศรษฐกิจได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
3.2 ผู้แทนสำนักเลขาธิการเอเปค ได้นำเสนอแผนการดำเนินงานด้านการศึกษาของเอเปค ปี 2559 ระยะที่ 1 ซึ่งมีเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้นำเสนอโครงการและความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ โดยในส่วนของประเทศไทยมีโครงการ Textbook Development for Energy Efficiency, Energy Security and Energy Resiliency ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น และอยู่ระหว่างการดำเนินการ
4. ข้อคิดเห็นและแนวทางการดำเนินงาน
ควรมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อจัดทำโครงการการศึกษาของประเทศไทยตามแผนงานด้านการศึกษาของเอเปค อาทิ หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะผู้เรียนเพื่อการว่าจ้างงาน การสร้างนวัตกรรม การจัดการศึกษาข้ามพรมแดน การพัฒนาสมรรถนะ การสร้างนวัตกรรม ฯลฯ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อเสนอโครงการดังกล่าว

**************************************************************************************

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
10 พฤษภาคม 2559

LOGOBIC

การประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบเอเปค ครั้งที่ 37
และการประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมผู้บริหารระดับสูงของเอเปคด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 1
ระหว่างวันที่ 14 – 20 พฤษภาคม 2558
เมืองโบราไกย์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
***************

การประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบเอเปค ครั้งที่ 37 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโบราไกย์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 14 – 17 พฤษภาคม 2558 และการประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมผู้บริหารระดับสูงของเอเปคด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2558 มีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยขอสรุปผลการประชุมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1. การจัดประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบเอเปค ครั้งที่ 37
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 17 พฤษภาคม 2558 ที่เมืองโบราไกย์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม จำนวน 20 เขตเศรษฐกิจ คือ ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย จีนไทเป สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และไทย โดยมี Dr. Sergey Ivanets ประธานคณะทำงานทรัพยากรมนุษย์กล่าวเปิดการประชุม และนาง Reydeluz D. Conferido ปลัดสำนักงานแรงงานและการจ้างงาน ฟิลิปปินส์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม

2. การประชุมเครือข่ายการศึกษา ครั้งที่ 31 (EDNET) มี Dr. Wang Yan ผู้ประสานงาน
เครือข่าย EDNET เป็นประธาน โดยมีวาระการประชุม ดังนี้
2.1 การหารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานของคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบเอเปค และการปรับปรุงข้อมูลด้านการศึกษาของเอเปคในเว็บไซต์ ทั้งนี้ แผนการดำเนินงาน
ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปคยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง และสนองตอบต่อความต้องการของกลุ่มคนส่วนใหญ่ และสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างกัน รวมถึงการส่งเสริมการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการด้านอาชีพ การพัฒนาแรงงานและทักษะฝีมือแรงงานที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานของศตวรรษที่ 21
2.2 การรับฟังรายงานผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งมีโครงการที่ประเทศไทย
โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับมหาวิทยาลัยสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมดำเนินการ คือ โครงการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติอัคคีภัยและแผ่นดินไหว (Emergency Preparedness Education: Learning from Experience, Science of Disasters, and Preparing for the Future (III) – Focus on Fire and Eruption) (Japan & Thailand) มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้น จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้ 1) ระหว่างวันที่ 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ประเทศญี่ปุ่น มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 185 คน จาก 13 เขตเศรษฐกิจ (ญี่ปุ่น 85 คน ต่างชาติ 100 คน) 2) ระหว่างวันที่ 13 – 16 กันยายน 2557 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น มีผู้เข้าร่วม 920 คน จาก 11 เขตเศรษฐกิจ (ไทย 825 คน ต่างชาติ 95 คน) โดยในการประชุมทั้งสองครั้งผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการสอนที่เกี่ยวกับอัคคีภัยและแผ่นดินไหว และแต่ละเขตเศรษฐกิจมีการนำเสนอสื่อของตนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำมาพัฒนาเป็นสื่อออนไลน์ในด้านอัคคีภัยและแผ่นดินไหวซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2557 นอกจากนี้ โครงการฯ ยังได้พัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ด้านคณิตศาสตร์ภาษาอังกฤษ โดยได้นำไปใช้ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ประเทศไทย มาเลเซีย ชิลี เวียดนาม รัสเซียและสิงคโปร์
2.3 การนำเสนอโครงการฯ ภายใต้กรอบการศึกษา มีโครงการของประเทศไทยร่วมกับประเทศญี่ปุ่น จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการการพัฒนาสื่อการสอนด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ความปลอดภัยในการใช้พลังงาน และความยืดหยุ่นในการใช้พลังงานผ่านความร่วมมือการศึกษาข้ามพรมแดน
โดยใช้การเรียนการสอน (Textbook Development for Energy Efficiency, Energy Security and Energy Resiliency: A Cross-Border Education Cooperation Through Lesson Study) เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อการสอนด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในด้านความมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน (2016) ความปลอดภัยในการใช้พลังงาน (2017) และความยืดหยุ่นในการใช้พลังงาน (2018) โดยจะนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาของเอเปค
2.4 การเตรียมการสำหรับการจัดประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเปค ครั้งที่ 6 (the 6th APEC Education Ministerial Meeting: AEMM) ซึ่งมี 2 เขตเศรษฐกิจที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมฯ คือ เปรู และรัสเซีย นอกจากนี้ ที่ประชุมเสนอให้มีการจัดประชุมเตรียมการสำหรับการจัดประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเปค เพื่อกำหนดประเด็นสำคัญที่ควรจะหยิบยกในที่ประชุมฯ ต่อไป

3. การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมผู้บริหารระดับสูงของเอเปคด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับอุดมศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จัดการประชุมเตรียมการฯ ระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2558 มี 15 เขตเศรษฐกิจเข้าร่วมการประชุม คือ ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และประเทศไทย ในส่วนของประเทศไทยกระทรวงศึกษาธิการมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้แทนจากสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. เข้าร่วมการประชุม
นาง Laura Q. del Rosario ประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค และปลัดสำนักงานการต่างประเทศ ฟิลิปปินส์ เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้พิจารณาวาระการประชุมฯ ซึ่งมีหัวข้อหลักของการประชุมคือ 1) Ensuring Relevance, Utilization and Contribution of Products of S&T in Higher Education to Economic Development in the APEC Region 2) Innovations in Higher Education Delivery Modalities and Strategies Focusing on Science and Technology Programs 3) Future Scientific and Technological Jobs and Careers โดยจะเน้นในสาขาด้านการผลิตอาหารและความปลอดภัยด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อมและการป้องกันภัยพิบัติ ด้านชีวมณฑล ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านการอนุรักษ์ ด้านการคิดวิเคราะห์และนวัตกรรม รวมทั้งด้านสุขภาพด้วย และพิจารณาร่างข้อเสนอแนะสำหรับการประชุมผู้บริหารระดับสูง ซึ่งหากแต่ละเขตเศรษฐกิจต้องการที่จะปรับแก้หรือเพิ่มเติมในส่วนใดขอให้จัดส่งข้อเสนอแนะไปยังเจ้าภาพได้ไม่เกินปลายเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ เจ้าภาพขอให้แต่ละเขตเศรษฐกิจพิจารณาเสนอชื่อวิทยากรที่จะมาบรรยายในแต่ละช่วงของการประชุม โดยขอให้เสนอชื่อภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2558 ซึ่งในส่วนของการจัดหาวิทยากรเข้าร่วมการบรรยาย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับที่จะเสนอชื่อวิทยากรและจัดส่งชื่อไปยังฟิลิปปินส์ต่อไป

*****************************************************************

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
20 พฤษภาคม 2558

การประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค ครั้งที่ ๓๔

ผนึกเศรษฐกิจขับเคลื่อนเครือข่ายการศึกษา แรงงาน และการเสริมสร้างศักยภาพ มุ่งบรรลุเป้าหมายเอเปค ๒๐๑๒ เน้นสร้างความเติบโตทางการค้า การลงทุน และการสร้างงานภายใต้หัวข้อ "Integrate to Grow, Innovate to Prosper"

 

การประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค (HRDWG) ครั้งที่ ๓๔ และการประชุมเครือข่ายการศึกษา ครั้งที่ ๒๘ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๕ – ๑กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ กรุงมอสโก รัสเซีย พร้อมการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของเอเปค (Senior Officials’ Meeting - SOM) และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้แทนจากเขตเศรษฐกิจของเอเปค จำนวน ๑๘ เศรษฐกิจ เข้าร่วมการประชุมได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนไทเป อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี แมกซิโก นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม เข้าร่วมการประชุม ( รายละเอียดเพิ่มเติม )

070212_group_photo_hrdwg-01

กลุ่มความร่วมมือพหุภาคี ๑
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป.
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔