Loading color scheme

รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมการประชุมระดับโลกด้านการศึกษาดิจิทัล

 ASEAN China Dialogue1 16 5 2568wdec 2025 800

ASEAN China Dialogue2 16 5 2568

ASEAN China Dialogue3 16 5 2568

          พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับโลกด้านการศึกษาดิจิทัล ประจำปี 2568 (2025 World Digital Education Conference) ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2568 ณ เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีนในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงนโยบายในการพัฒนาการศึกษาดิจิทัลในช่วงการประชุม ASEAN-China Dialogue โดยกล่าวถึงประเทศไทยมีนโยบายทางการศึกษาเรียนดีมีความสุขโดยมุ่งเน้นการลดภาระครู และบุคลากรทางการศึกษา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งในเขตเมือง ชนบท และกลุ่มเปราะบาง รวมถึงผู้พิการ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีแผนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัล และ AI มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ พร้อมประเทศไทยพร้อมสนับสนุนข้อเสนอของสาธารณรัฐประชาชนจีนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษาดิจิทัล 2) ส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาด้วยเทคโนโลยี 3) ขยายการเข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ของประเทศกำลัง และ 4) วางหลักจริยธรรมและความปลอดภัยของการศึกษาดิจิทัล

wdec1 2025

wdec2 2025

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการยังได้กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันของประเทศในอาเซียนจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาใช้ เพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และพัฒนาทักษะแห่งอนาคตให้กับผู้เรียน

wdec3 2025

          ในช่วงก่อนพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้นำคณะผู้บริหารระดับกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสง่า แต่เชื้อสาย รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นางยุพิน บัวคอม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และผู้เกี่ยวข้อง ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยได้เยี่ยมชม โรงเรียนประถมศึกษาเซิ่นหลง (Shenlong Primary School) ซึ่งมีโรงเรียนต้นแบบ 12 แห่งในเมืองอู่ฮั่น มาร่วมจัดแสดงนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วย อาทิ โรงเรียน Wuhan Yucai No.2, Wuhan Optics Valley No.15 และ Guocikou Primary School โดยมีการสาธิตการเรียนรู้ที่ผสมผสานเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น การเขียนโปรแกรม (coding), การควบคุมโดรน, การเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองบนดาวอังคารด้วย AI และการแสดงศิลปะและดนตรีโดยนักเรียน จากนั้น คณะฯ ได้เยี่ยมชม ศูนย์ U Learning เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษากับบริษัทชั้นนำ อาทิ Huawei และ Wenhua Online พร้อมทดลองใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง และระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

wdec4 2025

ในช่วงบ่าย คณะฯ ได้เดินทางไปยัง วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาการรถไฟอู่ฮั่น (Wuhan Railway Vocational College of Technology) เพื่อศึกษาระบบการเรียนสายอาชีพด้านระบบราง โดยมีโอกาสทดลองขับรถไฟความเร็วสูงจำลอง (High-Speed Rail Simulator) และต่อเนื่องด้วยการเยี่ยมชม วิทยาลัยอาชีวศึกษาด้านซอฟต์แวร์และวิศวกรรมศาสตร์หวู่ฮั่น (Wuhan Vocational College of Software and Engineering) เพื่อดูการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมและการควบคุมระบบอัตโนมัติ (PLC) ที่มีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้แสดงความประทับใจต่อความก้าวหน้าทางการศึกษาของจีน โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในระดับประถมศึกษา อาชีวศึกษา และระดับสูง พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ระหว่างไทยและจีน เพื่อร่วมกันยกระดับระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีสมรรถนะรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตอย่างยั่งยืน

wdec5 2025

          ในช่วงพิธีเปิดการประชุมระดับโลกด้านการศึกษาดิจิทัล ประจำปี 2568 ซึ่งมีผู้ร่วมในพิธีเปิดมากกว่า 600 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าหน้าที่รัฐบาลจากทั้งในและต่างประเทศ ผู้นำองค์กรระหว่างประเทศ ผู้แทนจากมหาวิทยาลัย โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากหลากหลายประเทศ นายติง เสวี่ยเสียง รองนายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กล่าวเน้นย้ำความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่การศึกษาในยุคอัจฉริยะ โดยเน้นย้ำว่าจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาดิจิทัล โดยกำลังเร่งเดินหน้าเพื่อก้าวขึ้นเป็นประเทศชั้นนำด้านการศึกษา ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และยกระดับอัจฉริยะในภาคการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และอยู่ระหว่างการจัดสร้างระบบการศึกษาดิจิทัลสมัยใหม่ที่มีความเป็นธรรม มีคุณภาพสูง มีความชาญฉลาด และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีจีนยังได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันใช้โอกาสจากการพัฒนาการศึกษาในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ ขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษาดิจิทัลอย่างแข็งขัน และย้ำบทบาทนำของจีนในการขับเคลื่อนการศึกษาดิจิทัลเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ปี ค.ศ. 2030

wdec6 2025

wdec7 2025

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะยังได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าทางการศึกษาดิจิทัล ภายใต้กรอบการประชุมการศึกษาแบบดิจิทัลโลก ปี 2025 โดยมุ่งเน้นแนวคิด “การพัฒนาและการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาในยุคอัจฉริยะ” เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของพรมแดนด้านการศึกษาในยุคที่เทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก และเน้นย้ำความร่วมมือระดับนานาชาติในการส่งเสริมความเท่าเทียมและคุณภาพทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 6 โซนหัวข้อ ได้แก่ 1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน แสดง นวัตกรรมด้านรูปแบบการเรียนรู้ การพัฒนาทรัพยากรการสอน ทักษะดิจิทัล และการปฏิรูประบบประเมิน 2) การศึกษาอาชีวะ เน้นพัฒนาระบบทักษะ แบ่งปันทรัพยากร และสร้างความร่วมมือกับภาคการผลิต 3) อุดมศึกษา มุ่งเน้นการสอนที่เชื่อมโยงการวิจัย และการบูรณาการมหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรม 4) การศึกษาตลอดชีวิต เน้นการส่งเสริมการอ่าน การใช้เทคโนโลยีหลากหลาย ใส่ใจสุขภาวะ และลดช่องว่างดิจิทัล 5) การศึกษานานาชาติ แสดงผลงานจากองค์กรระหว่างประเทศ สถาบัน และภาคเอกชน และ 6) การศึกษาแห่งอนาคต แสดงการสำรวจและทดลองใช้เทคโนโลยีล้ำยุคในระบบการศึกษา การจัดนิทรรศการครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญในการแสดงผลงานนวัตกรรมด้านการศึกษาดิจิทัล และแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ เพื่อผลักดันสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคการศึกษาดิจิทัลในระดับโลก

รายงานโดย : กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศต่างประเทศ
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
17 พฤษภาคม 2568