Loading color scheme

ประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 47

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ในการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ครั้งที่ 47
วันที่  18  21  มีนาคม 2556
ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

 


นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  เข้าร่วมการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ครั้งที่ 47 (47th SEAMEO Council Conference: SEAMEC) ระหว่างวันที่ 19 – 21 มีนาคม 2556 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Ministry of Education and Training: MOET) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้

ในการประชุมเต็มคณะ ช่วงที่ 1  วันที่ 20 มีนาคม 2556 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้กล่าวแถลงการณ์ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย โดยแสดงความยินดีต่อ H.E. Prof. Dr. Pham Vu Luan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) และประธานการประชุมสภาซีเมค ครั้งที่ 47 โดยเชื่อมั่นว่าภายใต้การบริหารงานและการเป็นผู้นำของประธานสภาซีเมคคนใหม่ จะนำพาองค์การนี้ให้ยังคงดำเนินแนวทางที่ดีและมีคุณค่านานัปการต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค  นอกจากนี้ยังได้กล่าวชื่นชม H.E. Pehin Abu Bakar Apong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบรูไนดารุสซาลาม ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาซีเมค อย่างดีเยี่ยมในช่วงสองปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และได้กล่าวต้อนรับสหราชอาณาจักรสู่การเป็นสมาชิกสมทบของซีมีโอด้วย


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า คุณภาพนับว่าเป็นหัวใจของการศึกษาในโลกปัจจุบัน การพัฒนาการศึกษาในทุกแขนงและการสร้างความมั่นใจว่าประชาชนในภูมิภาคจะสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและเสมอภาคได้อย่างทั่วถึงนั้น ต้องอาศัยการดำเนินข้อพันธกิจที่เข้มแข็งและการยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกซีมีโอให้มากขึ้น การขยายความร่วมมือระหว่างซีมีโอ อาเซียนและประเทศคู่เจรจา ขยายเพิ่ง้นำจะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเสริมสร้างขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคและนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคต ทั้งนี้ประเทศไทย  ยังมุ่งให้ความสำคัญต่อการกระชับความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศในภูมิภาค ามารถเพื่อเป็นการย้ำความเชื่อมั่นว่าประชาชนทุกคน รวมถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มผู้ทุพพลภาพและชนกลุ่มน้อย สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ ในส่วนของประเทศไทยที่ได้ดำเนินความร่วมมือกับซีมีโอ อาเซียน และยูเนสโก เพื่อการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ที่ห่างไกลและการเร่งรัดความก้าวหน้าด้านการศึกษาเพื่อปวงชนนั้น ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพหลัก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนในชนบทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโครงการการจัดการศึกษา การดูแล และการให้บริการการปรึกษาสำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อ HIV และเอดส์
 


ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ที่ประชุมทราบว่า ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงศึกษาธิการไทยจะมอบรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ให้แก่ครูผู้ทุ่มเทปฏิบัติงานและมีผลงานดีเด่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใ
ต้ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์ในวงกว้างต่อการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการมอบรางวัลนี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จะเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา และการอุทิศพระองค์เพื่อพัฒนาการศึกษาของไทยด้วย นอกจากนี้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยคุณภาพและความเสมอภาคทางการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวข้อ แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดต่อความยั่งยืนเพื่อการพัฒนาการศึกษา ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าวจะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาในภูมิภาค รวมทั้งยังส่งเสริมความเข้าใจและเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึงความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการดำเนินตามพันธกิจที่ได้เห็นพ้องร่วมกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษและเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชนภายในปี พ.ศ. 2558 โดยเป้าหมายสองประการนี้ได้เสนอวิสัยทัศน์ในระยะยาวในเรื่องการขจัดความยากจน ความเสมอภาค
ทางเพศ การส่งเสริมสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น วาระการศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ระยะเวลาที่เหลืออีกไม่ถึง 3 ปี ของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ประเทศสมาชิกต้องร่วมกันดำเนินต่อไป เพื่อให้บรรลุต่อประเด็นท้าทายต่างๆ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของรากฐานความสมานฉันท์ทางสังคมของภูมิภาค ด้วยความร่วมมือในการสร้างประชาคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน และการมุ่งแก้ไขประเด็นการบูรณาการทางเศรษฐกิจที่เร่งด่วน ทั้งนี้ประเทศไทยมีความภูมิใจที่ได้ร่วมดำเนินงานกับซีมีโอและศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอ รวมถึงศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอว่าด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นใหม่ที่เวียดนามตามข้อริเริ่มของ H.E. Prof. Dr. Pham Vu Luan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น

ในท้ายสุดของแถลงการณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยังได้กล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่ร่วมกับซีมีโอในการผลักดันความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภาซีเมค ครั้งที่ 48 แทนสาธารณรัฐสิงคโปร์ซึ่งมีกำหนดจัดงานเฉลิมฉลองเอกราช ครบรอบ 50 ปี ในปีเดียวกัน โดยได้ขอเชิญ  ทุกท่านเข้าร่วมการประชุมที่ประเทศไทยอีกครั้ง

ในการประชุมครั้งนี้ H.E. Mr. Truong Tan Sang ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดการประชุม ในช่วงเช้าของวันที่ 20 มีนาคม 2556 ภายหลังจากเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการแล้ว มีการมอบเหรียญเกียรติยศด้านการศึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสมาชิกและผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษา หลังจากการประชุมแล้ว มีการลงนาม และเปิดตัวโครงการ SEAMEO College : ข้อเสนอเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของซีมีโอในการส่งเสริมการศึกษาและการพัฒนาทางสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย


สำหรับการประชุมเต็มคณะ ช่วงที่ 2  เป็นการรายงานความก้าวหน้าและการนำเสนอโครงการ/กิจกรรม อาทิ สถานะการเงินและการใช้ประโยชน์ การตรวจสอบบัญชี การดำเนินโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชน การดำเนินความร่วมมือระหว่างซีมีโอ-APCEIUโครงการ GIZ Fit for School โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและการพัฒนาหลักสูตร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การดำเนินโครงการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มด้อยโอกาสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนและข้อเสนอการดำเนินงานภายหลังปี 2558 กิจกรรมของสำนักงานเลขาธิการซีมีโอ ในการพัฒนาและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับองค์กรระหว่างประเทศและหน่วยงานต่าง ๆ การจัดทำฐานข้อมูลด้านการศึกษาของซีมีโอ และข้อเสนอเกี่ยวกับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเป็นต้น ในการประชุมเต็มคณะ ช่วงที่ 3  เป็นการประชุมPolicy Forum หัวข้อ “Lifelong Learning : Policy and Vision” โดยในส่วนผู้แทนไทยนั้น ศาสตราจารย์ดร. สุมาลี สังข์ศรี อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะร่วมเป็นวิทยากรนำเสนอในช่วงการประชุมดังกล่าวด้วย

การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีศึกษา (Ministerial Round-table Meeting) ในวันที่ 21 มีนาคม 2556 เป็นการหารือประเด็นสำคัญที่มีความสนใจร่วมกันในภูมิภาค 2 เรื่อง ได้แก่ Building ‘a Learning Society’ in Southeast Asian Countries และ Joint Efforts by SEAMEO Member Countries in Support of ASEAN Community by 2015 and Beyond

อนึ่ง การประชุมวาระเฉพาะ จัดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม 2556 ระหว่างเวลา 15.00  16.15 น. โดยภายหลังจากการประชุมแล้ว มีการลงนามในใบประกาศรับสหราชอาณาจักรเข้าเป็นประเทศสมาชิกสมทบ และการลงนามในแถลงการณ์ยุทธศาสตร์ความร่วมมือของซีมีโอต่อการพัฒนาในระดับภูมิภาค

 

 

กลุ่มความร่วมมือกับองค์การระดับภูมิภาค
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
19 มีนาคม 2556