Loading color scheme

คณะกรรมการอำนวยการเป้าหมายที่ 4 การศึกษา 2030 : ถึงเวลาแล้วที่ต้องผนึกความร่วมมือในการช่วยเหลือรัฐสมาชิกในการสร้างข้อมูลที่ดีที่สุด

BBIClogo

สรุปจากบทความของ ซิลเวีย มอนโตยา ผู้อำนวยการสถาบันทางสถิติของยูเนสโก และ แดนเกิต เวเดเลอร์ ประธานร่วมคณะกรรมการอำนวยการ Education 2030 และผู้ช่วยอธิบดี กระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยของนอร์เวย์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

UIS กำลังจัดทำตัวชี้วัดสำหรับเป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา

สถาบันสถิติแห่งองค์การยูเนสโก (UIS) และองค์กรพันธมิตรโลกเพื่อติดตามผลการเรียนรู้ (Global Alliance to Monitor Learning) ได้ร่วมกันจัดทำตัวชี้วัด และวิธีการประเมิน โดยได้ผ่านการรับรองจากที่ประชุมของกลุ่มความร่วมมือด้านเทคนิค (Technical Cooperation Group : TCG) เมื่อเดือนมกราคม 2561 แล้ว ส่งผลให้ ในปี 2562 UIS จะจัดทำตัวชี้วัด สำหรับเป้าหมายที่ 4 จำนวน 33 ตัว จึงเกิดข้อคำถามว่ารัฐสมาชิกมีศักยภาพในการจัดเก็บ และรายงานข้อมูลดังกล่าวแล้วหรือยัง?

ด้วยเหตุนี้ UIS จึงได้ร่วมมือกับรัฐสมาชิก และหุ้นส่วนความร่วมมือด้านการศึกษา จัดทำตัวชี้วัดโดยใช้แหล่งข้อมูลที่มีฐานกว้างจากเดิม ตัวอย่างเช่น ตัวชี้วัดที่ 4.3.1 อัตราการเข้าถึงการศึกษาทั้งในระบบ การศึกษาและนอกระบบการศึกษา และการฝึกอบรมของเยาวชนและผู้ใหญ่ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (จำแนกเพศ) ได้มีการสร้างตัวชี้วัด และได้ผ่านความเห็นชอบจาก TCG แล้ว โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลมาใช้สำหรับ การประเมินมากขึ้น เช่น การสำรวจผู้ใช้แรงงาน และการสำรวจครัวเรือนในประเทศ เป็นต้น  นอกจากนี้UIS ยังคงช่วยเหลือรัฐสมาชิกในการใช้แหล่งข้อมูลที่อยู่เพื่อรายงานผลความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา

อีกตัวอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตัวอย่างตัวชี้วัดที่ 4.5.2 อัตราร้อยละของนักเรียนในระดับประถมศึกษา ซึ่งใช้ภาษาแม่สำหรับจัดการเรียน การสอน  แทนที่จะอาศัยแต่เพียงข้อมูลเชิงบริหารเพียงอย่างเดียวรัฐสมาชิกสามารถจัดเก็บข้อมูล  โดยใช้แบบสำรวจที่จัดทำขึ้นสำหรับครอบครัว และนักเรียน มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ในระดับชาติ ภูมิภาค และนานาชาติ   โดย UIS ได้จัดทำชุดตัวอย่างแบบสอบถามซึ่งรัฐสมาชิกนำไปประยุกต์ใช้ได้  เป็นต้น

การระดมครื่องมือ และทรัพยากรเพื่อให้ความช่วยเหลือรัฐสมาชิกจัดเก็บข้อมูล นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐสมาชิกจะต้องมีเครื่องมือและทรัพยากรเพื่อใช้สำหรับการรายงานความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่ 4  จึงขอเสนอองค์ประกอบ 4 ประการ เพื่อช่วยเหลือรัฐสมาชิกให้สามารถจัดเก็บข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันได้

องค์ประกอบแรก ได้แก่  ยุทธศาสตร์โลก 12 ปี เพื่อสร้างข้อมูลการศึกษา  (12-year Global Strategy for Education Data) ซึ่ง UIS ได้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือรัฐสมาชิกในการสร้างระบบสถิติระดับชาติที่เข้มแข็ง โดยได้เพิ่มเครื่องมือ และขยายฐานในการจัดทำข้อมูลที่มีชีวิต (Living data) การเข้าถึงข้อมูล และการเผยแพร่ฐานข้อมูล โครงการวิจัย แนวปฏิบัติที่ดี และผู้เชี่ยวชาญ และวิธีการนวัตกรรมสำหรับการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และการนำเสนอ

องค์ประกอบที่ 2 ได้แก่ การลงทุนด้านการศึกษาตามเป้าหมายที่ 4  โดยให้ความสำคัญกับการสร้างระบบข้อมูล  เอกสารของ UIS กล่าวว่า  ทุกประเทศมีค่าใช้จ่ายแต่ละปี ประมาณ 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐในการจัดทำตัวชี้วัดตามเป้าหมายที่ 4 (การลงทุนระดับโลกแต่ละปีเป็นเงิน 280 ล้านเหรียญสหรัฐ) ค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีจำนวนต่ำมาก เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่บุคคล ชุมชน และประเทศชาติจะได้รับในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน นอกจากนี้ ข้อมูลของ UIS แสดงให้เห็นว่าประเทศโดยเฉลี่ยใช้จ่ายเงินด้านการศึกษาในแต่ละปี เป็นเงิน 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่การจัดการศึกษาที่ไร้ประสิทธิภาพ ยังปรากฏในอัตราร้อยละ 10 ถึง 30  ประกอบด้วย นักเรียนซ้ำชั้นเรียน การออกจากโรงเรียนกลางคัน หรือการออกจากโรงเรียนโดยขาดทักษะการเรียนรู้พื้นฐาน สิ่งเหล่านี้เป็นการสูญเสียทรัพยากร และบั่นทอนศักยภาพของมนุษย์ อาจกล่าวโดยสรุปว่า ข้อมูลที่ดีสามารถป้องกันการสิ้นเปลืองด้วยการหาจุดเกินของปัญหาและนำมาแก้ไข แม้แต่การประมาณการแบบเดิมยังพบว่า ข้อมูลที่ดีจะสามารถเพิ่มศักยภาพการศึกษาได้ถึงร้อยละ 10 แม้ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งใช้จ่ายเงินเพื่อจัดทำข้อมูลการศึกษา ประมาณ 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี  สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 36 ล้านเหรียญสหรัฐในการจัดการศึกษาแต่ละปี

องค์ประกอบที่ 3 ได้แก่ แรงผลักดันในการสนับสนุนศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางของประเทศ  UIS ได้จัดทำข้อเสนอให้แก่ องค์กรเครือข่ายเพื่อการแบ่งปันของโลก (A Global Sharing Network) ในการจัดทำศูนย์ข้อมูลประเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพข้อมูล  ข้อมูลออนไลน์นี้จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย องค์การเพื่อการพัฒนา นักวิจัย และภาคเอกชน สามารถออกแบบและกำหนดนโยบายได้ดีขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 ได้แก่ข้อริเริ่มด้านข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งดำเนินการโดย หุ้นส่วนการศึกษาโลก (Global Partnership for Education) โดยในการประชุม The Education Data Solutions Roundtable ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการสร้างความเข้มแข็งของระบบข้อมูล ได้ตระหนักถึง บทบาทสำคัญของภาคเอกชน โดย UIS จะร่วมมือกับผู้แทนระดับสูงของภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ รัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนา และหุ้นส่วนของ GPE ในการดำเนินการตามข้อริเริ่มนี้ เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลทางการสำหรับเป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา  

การถักทอองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน
ในการประชุมด้านการเงินของหุ้นส่วนโลกเพื่อการศึกษาครั้งที่ 3 ที่กรุงดาการ์ เซเนกัล UIS ได้ร่วมมือกับรายงานการประเมินผลการศึกษาระดับโลก องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และยูเนสโกในการนำเสนอการดำเนินการ 3 ขั้นตอน เพื่อการถักทอองค์ประกอบเหล่านี้เข้าด้วยกัน ดังนี้

     *  GPE สามารถช่วยเหลือการลงทุนในการประเมินผลการศึกษา ตามเป้าหมายที่ 4  โดยให้มีการบรรจุไว้ในแผนงาน และงบประมาณ รวมถึงการสร้างกลไกเพื่อสนับสนุนการลงทุน ในโครงการความช่วยเหลือของ GPE ที่ให้ประเทศต่างๆ
     *   หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาสามารถดำเนินการที่สอดคล้องกับการประเมินผลตามวาระการพัฒนาของเป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา และให้การสนับสนุนข้อริเริ่มดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
     *   คณะกรรมการอำนวยการ  Education 2030 ควรกำกับดูแลการจัดทำคู่มือให้แก่รัฐบาลของ รัฐสมาชิก และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีการดำเนินการตามตัวชี้วัดด้านการศึกษาเป้าหมายที่ 4 โดยเฉพาะตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้  และจะมีการจัดสรรงบประมาณไว้ ในแผนและงบประมาณด้านการศึกษาระดับชาติ  รวมถึงเงินทุนกู้ยืมด้านการศึกษา และเงินสนับสนุนด้านการศึกษา
ในการมองเป้าหมายในอนาคต ควรพึงระลึกเสมอว่าข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจะต้องให้ความสำคัญในการเข้าถึงการศึกษา ความเสมอภาค คุณภาพการศึกษา  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ 

 

 

*******************************

 

 

translated by : Mrs. Kanittha Hanirattisai