Loading color scheme

การศึกษาเป็นรากฐานทางสังคมที่ชอบธรรมในโลกยุคหลังโควิด

UNESCO MGIEP 21 9 2563
          วิกฤตโควิด-19 อาจนำไปสู่การทำลายความไว้วางใจในบริการสาธารณะและรัฐบาล มีคำถามเร่งด่วนที่ถูกถามเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่กระจายที่อาจส่งผลเสียต่อหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน ซึ่งทั้งองค์การยูเนสโก (UNESCO) และ สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการศึกษาซึ่งสอนให้ตระหนักถึงหลักสิทธิมนุษยชน และนำไปสู่ความเท่าเทียมที่มากขึ้น สังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเมื่อเผชิญกับวิกฤต

          การแพร่ระบาดของโควิด -19 ทำให้การศึกษาต้องหยุดชะงักอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีนักเรียนและเยาวชน 1.2 พันล้านคนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงเรียน

          จากคำแถลงของหน่วยงานสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนในบริบทของ COVID-19 (OHCHR) ได้ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เพียงทำลายความไว้วางใจในความสามารถของบริการสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาและสุขภาพในการรับมือกับวิกฤต แต่ยังทำให้เกิดความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นในขณะนี้และหลังวิกฤต (1)

          António Guterres เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ย้ำเตือนไว้ในรายงานเมื่อเดือนเมษายน 2563 ว่าวิกฤตด้านเศรษฐกิจและสังคมได้กลายเป็นวิกฤตด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรวดเร็ว ซึ่งมาตรการฉุกเฉินใด ๆ ที่ดำเนินการจะต้องถูกต้องตามกฎหมาย และจำเป็นสำหรับการป้องกันตามสัดส่วนที่เหมาะสมและไม่เลือกปฏิบัติ

          มาตรการและกฎหมายฉุกเฉินที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอาจนำไปสู่การระเมิดสิทธิเกินกว่าที่จำเป็น รายงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้สหประชาชาติได้เน้นถึงผลกระทบของมาตรการฉุกเฉินในระดับต่างๆ ดังนี้

- เสรีภาพในการเคลื่อนไหวอาจถูกลดทอนลง (2)  
- ผู้หญิงและเด็กที่อยู่บ้านอาจได้รับความเสี่ยงต่อความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น (3)  
- การบุกรุกทางเทคโนโลยีอาจละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัว (4)  
- กลุ่มเสี่ยงอาจได้รับผลกระทบหนักที่สุด (5)  
- กระบวนการประชาธิปไตย เช่นการเลือกตั้งอาจได้รับผลกระทบ (6)  

          Mr.Gutteres ได้กล่าวว่า ไวรัสคุกคามทุกคน ในขณะที่เรื่องสิทธิมนุษยชนก็ช่วยยกระดับทุกคน การให้ความเคารพสิทธิมนุษยชนในช่วงวิกฤตนี้ เราจะสร้างแนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากขึ้นสำหรับเหตุฉุกเฉินในวันนี้และคืนกลับสู่สภาพเดิมในอนาคต

          องค์การทั้ง UNESCO และ UNODC กำลังทำงานร่วมกันเพื่อลดช่องว่างระหว่างการศึกษากับความยุติธรรม ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเข้าใจและใช้สิทธิของตน คิดอย่างมีวิจารณญาณ ใช้ดุลยพินิจทางจริยธรรมที่ดี ปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์ ท้าทายความอยุติธรรมและนำไปสู่การส่งเสริมสังคมที่ยุติธรรม

          การศึกษาเป็นพันธมิตรหลักในการปกป้องสิทธิและหลักนิติธรรม เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญในช่วงวิกฤต คุณจะปกป้องสิทธิของคุณได้อย่างไรเมื่อคุณไม่รู้ว่ามันคืออะไร

          เด็กโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่ได้รับการสอนในโรงเรียนตั้งแต่อายุยังน้อยเกี่ยวกับสิทธิในการได้รับการปกป้องจากการล่วงละเมิดและความรุนแรงทางเพศมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการแพร่ระบาดเนื่องจากพบว่าความรุนแรงต่อผู้หญิงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินทุกประเภท (WHO 2020)

          การเรียนรู้ถึงความเห็นอกเห็นใจ เคารพในความหลากหลาย ความสามารถในการรับรู้ และการเลือกปฏิบัติเป็นทักษะสำคัญที่คนหนุ่มสาวต้องใช้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สังคมมีความขัดแย้งมากขึ้น การวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าทักษะทางอารมณ์และสังคมมีส่วนช่วยในการสร้างความยืดหยุ่นของคนหนุ่มสาวโดยเฉพาะในช่วงวิกฤต (UNESCO MGIEP, 2019)

          การจัดการกับปัญหาวิกฤตคือความท้าทายด้านการศึกษาในอนาคต ทั้ง UNESCO และ UNODC จึงดำเนินการดังนี้
          กำหนดให้เรื่องสิทธิเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา: ให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ด้วยการส่งมอบโครงการและทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเข้าใจและใช้สิทธิของตน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ที่เสี่ยงต่อการถูกริดรอนสิทธิส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิเหล่านั้น โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงและกลุ่มเสี่ยง

          สร้างสะพานเชื่อมระหว่างผู้เปลี่ยนแปลงในภาคการศึกษาและกระบวนการยุติธรรม: ให้คำแนะนำด้านนโยบายสำหรับผู้กำหนดนโยบาย แบ่งปันกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผล และแนวทางปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรม ช่วยส่งเสริมการศึกษาเพื่อความยุติธรรมภายใต้บริบที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา หลักสูตรและการกำกับดูแลโรงเรียน

          สนับสนุนครู: จัดให้ครู นักการศึกษา และครอบครัวมีทรัพยากรและคู่มือที่เหมาะสมเพื่อสอนเด็ก ๆ เกี่ยวกับสิทธิของพวกเขา ปัจจัยทางโครงสร้างที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน และช่วยให้พวกเขากลายเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมที่สร้างสังคมที่ยุติธรรมสำหรับอนาคต

          องค์กรทั้ง UNESCO และ UNODC กำลังเพิ่มความร่วมมืออย่างต่อเนื่องด้านการศึกษาเพื่อความยุติธรรมในบริบทของแนวร่วมการศึกษาระดับโลก เวทีความร่วมมือนี้เป็นการผนึกกำลังกับองค์กรพหุภาคีอื่น ๆ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศและภาคประชาสังคมและพันธมิตรภาคเอกชนเพื่อให้แน่ใจว่าวิกฤตในปัจจุบันจะไม่ทำให้ความไม่เท่าเทียมกันในการเรียนรู้กว้างขึ้นและสิทธิของเด็กและเยาวชนได้รับการคุ้มครอง

(1) การรวบรวมคำแถลงของหน่วยงานสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนในบริบทของ โควิด-19 (OHCHR)   
(2) มาตรการฉุกเฉินและโควิด-19 (OHCHR)  
(3) ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 15-49 ปีทั่วโลก จำนวน 243 ล้านคนเคยประสบกับความรุนแรงทางเพศและ / หรือทางกายภาพที่กระทำโดยเพื่อนที่สนิทสนมกัน และมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นในที่คุมขัง (UNWOMEN)  
(4) หนึ่งในสามของทุกประเทศไม่มีกฎหมายในการปกป้องข้อมูลออนไลน์และความเป็นส่วนตัวของพลเมืองของตน (UNCTAD)  
(5) ผลเสียของการปิดโรงเรียน (UNESCO)  
(6) โควิด-19 และสิทธิมนุษยชน: พวกเราทุกคนต่างอยู่ในสถานการณ์นี้ร่วมกัน (UN pp14)  

*************************************************

ข้อมูล: องค์การยูเนสโก
https://en.unesco.org/news/covid-19-education-bedrock-just-society-post-covid-world
โดย Stefania Giannini ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกด้านการศึกษา
เรียบเรียงโดย : กุสุมา นวพันธ์พิมล
18 กันยายน 2563