Loading color scheme

การประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค ครั้งที่ 36 (HRDWG)


การประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค ครั้งที่ 36
1. Dr. YoungHwan Kim ประธาน คณะทำงานทรัพยากรมนุษย์กล่าวเปิดการประชุม โดยมี Mr. Hao Bin อธิบดีสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการประกัน สังคมจากประเทศเจ้าภาพเป็นประธานร่วม และมี ผู้ประสานงานทั้ง 3 เครือข่าย ของเอเปคเข้าร่วมประชุมด้วย 

2. Mr. Hao Bin กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและการดำเนินการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเปคพร้อมกับการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในปี 2557  โดยเน้นการพัฒนาทักษะของเยาวชน ภายใต้กรอบหัวข้อการประชุม Shaping the Future through Asia-Pacific Partnership ตามที่สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความสำคัญในด้านการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน และประชาชน และการพัฒนาด้านโครงสร้างขั้นพื้นฐานระหว่างกัน นอกจากนี้ Dr. YoungHwan Kim ประธานคณะทำงานฯ ได้กล่าวถึงการดำเนินงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของเอเปคในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ตามข้อเสนอแนะของการประเมินภายนอก โดยได้มีการดำเนินโครงการ และกิจกรรมต่างๆ ในขอบข่ายการดำเนินงานของเอเปค โดยเฉพาะการระดมสรรพกำลัง และทรัพยากรในการดำเนินโครงการการศึกษาข้ามพรมแดน (Cross Border Education) และการเชื่อมโยงประชาชนกับประชาชน (People-to-People Connectivity) 

3. Dr. Sherri Lauver บรรยายเกี่ยวกับการดำเนินงาน Independent Assessment (AI) วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และสิ่งที่คาดหวังจะให้แต่ละเขตเศรษฐกิจให้ความร่วมมือเพื่อให้การทำงาน ประสบผลสำเร็จ

4. Dr. YoungHwan Kim ได้กล่าวถึงรายละเอียดของแผนการปฏิบัติงานประจำปีของคณะทำงานด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ แผนยุทธศาสตร์คณะทำงาน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค และกรอบการดำเนินงานของคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค ซึ่งที่ประชุมฯ เห็นว่ากรอบการดำเนินงานของคณะทำงานควรมีการปรับปรุงเนื่องจากข้อมูลยังไม่ เป็นปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุมฯ เห็นควรให้มีการเสนอแนะแนวทางแก้ไขให้ชัดเจน และควรให้มีการปรับปรุง แผนการปฏิบัติงาน และแผนยุทธศาสตร์ด้วย

5. การสรุปผลการเตรียมการสำหรับการประชุม 6th APEC Human Resources Development Ministerial Meeting (HRDMM) โดยผู้แทนสาธารณรัฐเวียดนามได้รายงานที่ประชุมทราบเกี่ยวกับ กำหนดการจัดประชุมข้างต้นดังนี้

5.1.1 การประชุมจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 7 กันยายน 2557

5.1.2 หัวข้อในการประชุม Strengthening people-people connectivity and quality employment through human resources development และ3 หัวข้อย่อย คือ

- Enhancing human resource quality to meet supply chain demand
- Facilitating mobility in the fields of labour and skills development
- Supporting inclusive growth and sustainable development, addressing the social dimensions of globalization

นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการทางการศึกษา โดยมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาของเขตเศรษฐกิจต่างๆ ด้วย   

6. การประชุมเต็มคณะทำงานด้านการศึกษา ครั้งที่ 30 (EDNET)
การประชุมเครือข่ายด้านการศึกษาของเอเปค จัดขึ้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมี Ms. Adriana de Kanter ผู้ประสานงานเครือข่าย EDNET เป็นประธาน โดยที่ประชุมฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านการศึกษาของเขตเศรษฐกิจต่างๆ ภายใต้ EDNET ประกอบด้วย 1) ความร่วมมือด้านการศึกษา 2) การศึกษาด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรม 3) การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและและคุณภาพการอุดมศึกษา 4) ICT และคุณภาพครู ดังนี้

6.1 ความร่วมมือด้านการศึกษา ประกอบด้วย

1) โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาของเอเปค (APEC Education Cooperation Project (เกาหลีใต้) รายงานเกี่ยวกับการร่วมมือด้านการศึกษา ความสำคัญของการดำเนินการของรัฐบาล รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการของเอเปค  การมีเครือข่ายและบทบาทของสมาชิกเขตเศรษฐกิจ

2) โครงการเชื่อมโยงเอเปคโดยเยาวชน : การพัฒนาและ การแบ่งปันเนื้อหา และโครงการ สำหรับเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเอเปค และเขตเศรษฐกิจเอเปค  Connect APEC with young people: Developing and sharing online contents and experiential programs for understanding APEC and its economies (เกาหลีใต้)  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และเผยแพร่ประสบการณ์ของเยาวชนเพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในเกิด ขึ้นในเอเปค

6.2 ความร่วมมือด้านคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษา, วัฒนธรรม และการศึกษา ประกอบด้วย

6.2.1) โครงการจัดตั้งเครือข่ายในการส่งเสริมโมเดลหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับอุดม ศึกษา (Establishment of a Network on Promoting Mathematical Modeling Course in the Curriculum of Higher Education (อินโดนีเซีย และไทย)

6.2.2) โครงการจัดทำฐานข้อมูลด้านคณิตศาสตร์ (Database Containing Mathematical Tasks (รัสเซีย) นำเสนอเกี่ยวกับโครงการที่จะดำเนินการในอนาคตเกี่ยวกับการรวบรวมฐานข้อมูลใน ด้านปัญหาคณิตศาสตร์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องของแต่ละเขตเศรษฐกิจเพื่อให้สมาชิกได้ใช้ร่วมกันต่อไป

6.2.3) โครงการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติอัคคีภัยและแผ่นดินไหว (Emergency Preparedness Education: Focus on Fire and Eruption (ไทยและญี่ปุ่น) ได้รายงานเกี่ยวกับสรุปผลการดำเนินการและการต่อยอด โครงการโดยจะนำบทเรียนที่ได้รับพัฒนาไปสู่การลดความเสี่ยงในด้านภัยพิบัติในอนาคต

6.2.4) โครงการการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Financial Literacy Education (จีน)  มีวัตถุประสงค์ที่จะเตรียมความพร้อมด้านแรงงานให้เขตเศรษฐกิจ มีความรู้ในการเตรียมความพร้อมในการจ้างงานและเพิ่มคุณภาพในการพัฒนาแรงงาน โดยจะทำคู่มือเพื่อเผยแพร่ข้อมูลไปสู่แต่ละเขตเศรษฐกิจต่อไป

6.2.5) โครงการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อทำธุรกิจในเอเปค (Learning foreign languages as a mean of ease of doing business : comparative analysis of best practices/ approaches/ standards in APEC (รัสเซีย) นำเสนอโครงการเพื่อต้องการรวบรวมข้อมูล และจะมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในเดือนพฤศจิกายน 2557 เพื่อจะจัดทำรายงานการดำเนินการ

6.2.6) โครงการประชุมวิชาการเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในโครงการประเมินผลนักเรียน นานาชาติ Symposium on Best Practices in the Programme for International Student Assessment (PISA) among APEC Economies (มาเลเซีย) มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของผล PISA และระบุวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด และปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินการ

6.3 ความร่วมมือด้านเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม และคุณภาพการอุดมศึกษา

6.3.1) โครงการแผนงานความร่วมมือข้ามพรมแดน (Cross-Border Education Cooperation Workplan (ออสเตรเลีย) ปัจจุบันมีการดำเนินการครอบคลุมทั้งสิ้น 27 โครงการจาก 9 ประเทศ และสมาชิก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการริเริ่มให้ทุนการศึกษาอีกด้วย

6.3.2) โครงการส่งเสริมการรวมตัวด้านการศึกษาในภูมิภาค : การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับศึกษาข้ามพรมแดน Promoting Regional Education Services Integration: APEC University Associations Cross - Border Education Cooperation Workshop (ออสเตรเลีย)  มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล และนวัตกรรมใหม่เพื่อความคล่องตัวและขจัดอุปสรรคในการเสริมสร้างศักยภาพด้านการศึกษา

6.3.3) โครงการประชุมความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาในเอเชียและแปซิฟิก (3 rd Conference on Cooperation in Higher Education in the Asia-Pacific Region (รัสเซีย) นำเสนอโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอตัวอย่าง และการพัฒนาศักยภาพในการดำเนิน หลักสูตรการอบรมระยะสั้นของ การดำเนินงานด้านการอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชน

6.3.4) โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยด้านการอุดมศึกษาของเอเปค (APEC Higher Education Research Center (จีน) นำเสนอโครงการเพื่อสนับสนุนความร่วมมือและการเชื่อมโยงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านอุดมศึกษา โดยศูนย์วิจัยแห่งนี้จะมีรายงานการพัฒนาการอุดมศึกษาของเอเปคและกิจกรรม อื่นๆ ด้วย

6.3.5) โครงการรวบรวมข้อมูลด้านการศึกษาข้ามพรมแดนและการให้ความช่วยเหลือด้าน เทคนิค Cross-Border Education Data Gathering and Dissemination Technical Assistance (สหรัฐอเมริกา)  โครงการนี้มุ่งเน้นการเดินทางของสมาชิกในกลุ่มประเทศเอเปคให้มีสิทธิ์เทียบ เท่ากับสมาชิกในกลุ่มอื่นๆ เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งเก็บรวบรวม และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นในการศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายนักเรียน

6.3.6) การพัฒนางานวิจัยด้านการอุดมศึกษาในเอเชียและแปซิฟิกในบริบทการศึกษาข้าม พรมแดน (Developing Leading Edge Higher Education Research in the Asia-Pacific within the Context of Cross-Border Education (สหรัฐอเมริกา) มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายสิทธิ์ในการเดินทางของสมาชิกเอเปคไปยังเครือข่าย  รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการประชุมหารือเชิงนโยบายและการสัมมนา เพื่อหารือเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายในภูมิภาค

6.3.7) การดำเนินความร่วมมือด้านการวิจัยและจัดทำสิ่งพิมพ์ในระหว่างนักวิจัยของเอ เปค (Collaborative Research and Publication among APEC's Researchers (อินโดนีเซีย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชน และระหว่างสถาบันด้วยการขยายเครือข่ายการวิจัยและความร่วมมือ 

6.3.8) การพัฒนาคู่มือการเคลี่อนย้ายนักเรียน (Development of Students Mobility Guideline (อินโดนีเซีย) นำเสนอโครงการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอุปสรรค ในการเคลื่อนย้ายและให้ความช่วยเหลือนักเรียนและสถาบันการศึกษาที่จะมีส่วน ร่วมในกิจกรรมการศึกษาข้ามพรมแดนซึ่งจะมีการดำเนินการผ่านการพัฒนาแนวทาง ซึ่งจะมีการจัดประชุมหารือตลอดปี 2557

6.3.9) โครงการจัดทำบัตรเพื่อส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักเรียน (Academic Mobility Card (รัสเซีย) นำเสนอโครงการวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนและนักการศึกษาสามารถได้รับการ บริการด้าน ทรัพยากรการศึกษาและสื่อดิจิตอลที่ใช้ร่วมกันผ่านข้อตกลงภายในมหาวิทยาลัย และความร่วมมือทวิภาคี

6.3.10) โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาอาชีวศึกษาและเทคนิคและการฝึกอบรม (Cooperative Alliance for Technical and Vocational Education and Training / Career and Technical Education / APEC Career and Technical Education Licensing Portal (ไต้หวัน) โดยจะเชิญสมาชิกเขตเศรษฐกิจเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในเดือนเมษายน 2014

6.3.11) โครงการจัดทำรูปแบบฝึกปฏิบัติงานด้านอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการศึกษาข้าม พรมแดน (Sustainable Implementation of Cross-Border Internship Modules in the APEC Region (ไต้หวัน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย และระเบียบปฏิบัติในการ ฝึกปฏิบัติงานข้ามพรมแดน เพิ่มสร้างความตระหนักและขจัดอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นโดยอาศัยรูปแบบการดำเนิน งานที่ไต้หวันดำเนินการร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ

6.3.12) โครงการพัฒนาทักษะอาชีวศึกษาโดยตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม (Green Skills development in TVET Systematic Design (จีน)  มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอให้มีการพัฒนาทักษะพื้นฐาน ในเชิงอนุรักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนด้านเทคนิคและ อาชีวศึกษา รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ และเครือข่ายการแลกเปลี่ยนของการพัฒนาทักษะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

6.4 ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณภาพครู

6.4.1) โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ของเอเปค (APEC Learning Community for Shared Prosperity (เกาหลีใต้) กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่และนักธุรกิจ ในเอเปค ในการร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

6.4.2) โครงการกิจกรรมการศึกษาสำหรับอนาคตของเอเปค (APEC Future Education Consortium: Focusing on APEC Network for ICT Model School for Future Education (เกาหลีใต้) กล่าวถึงโครงการซึ่งมีการสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนจาก 84 โรงเรียนในปี 2014 โดยในแต่ละปีจะมีการจัดประชุมประจำปีเกี่ยวกับอนาคตการศึกษาเอเปค (APEC Future Education Forum: AFEF) และมีการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการในการพัฒนาแบบจำลองทางทฤษฎี และการปฏิบัติสำหรับการศึกษาในอนาคตโดยอาศัยข้อเสนอแนะมะนิลาสำหรับการ ดำเนินการเชิงรุก เพื่อขยายโครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาแบบสันทนาการ และการวิจัยร่วมกัน เพื่อหาวิธีการดำเนินการในระยะยาวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการของ ALCoB ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการอำนวยการในปี 2013

6.4.3) โครงการฝึกอบรมการศึกษาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (APEC e-learning Training Program (เกาหลีใต้) นำเสนอรายงานโครงการภายใต้ขอบเขตของความรู้และประสบการณ์ของการศึกษาด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ และแนวโน้มของ e-learning ผ่านนโยบาย online และ offline โดยในปี 2006 มีผู้แผ่นการอบรมจำนวน  681 คน

6.4.4) โครงการจัดทำธนาคารข้อมูลของเอเปค The APEC Knowledge Bank Wiki (สหรัฐอเมริกา) มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม จัดทำและแบ่งปันข้อมูลด้านการศึกษาและการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค

6.4.5) โครงการวิจัยเปรียบเทียบเพื่อจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาครูในวิชา คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ (International Comparative Research to Identify Unique and Promising Practices in Mathematics and Science Teacher Preparation for APEC Economies (จีน, นิวซีแลนด์, รัสเซีย, สหรัฐอเมริกา) รายงานผลโครงการวิจัยข้ามเขตเศรษฐกิจในการพัฒนาครู โดยมีการรวบรวมนักวิจัยจาก 7 ประเทศ เพื่อเปรียบเทียบโปรแกรมเสริมสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน

7. เรื่องอี่นๆ

• Dr. YoungHwan Kim ได้แจ้งว่าตนเองจะหมดวาระการปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะทำงาน ทรัพยากรมนุษย์ในปี 2557 โดยจะมีผู้ประสานงานเครือข่ายการศึกษา และได้แก่ Ms. Adriana De Kanter จากสหรัฐอเมริกา และ Mr. Malcolm Greening ผู้ประสานงานเครือข่ายสวัสดิการสังคมและแรงงานจาก ออสเตรเลียหมดวาระลงด้วย  เนื่องจากครบวาระแล้ว (วาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี และได้ต่ออายุ 2 ปี รวม  4 ปี โดยไม่สามารถต่อวาระการปฏิบัติงานได้อีก)   จึงได้ขอให้ประเทศสมาชิกที่ประสงค์จะเสนอชื่อผู้แทนเขต เศรษฐกิจเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าว ภายในเดือนกันยายน 2557 สำหรับ Mr. Tsai, Meng-Liang ผู้ประสานงานเครือข่ายด้านการพัฒนาศักยภาพจะหมดวาระ 2 ปีแรก ในปี 2557 และเขตเศรษฐกิจจะได้ให้ความเห็นชอบในการต่อวาระในช่วงปีที่ 2 หรือไม่ต่อไป
• ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ Dr. YoungHwan Kim แต่งตั้งรองประธานคณะทำงานทรัพยากรมนุษย์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยการดำเนินงานการประชุมรัฐมนตรีด้านการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ของเอเปคที่ เวียดนาม ซึ่งจะเป็นตำแหน่งเพียงชั่วคราวเท่านั้น สำหรับการแต่งตั้งรองประธานคณะทำงาน ทรัพยากรมนุษย์คนใหม่ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นการถาวรให้อยู่ภายใต้การพิจารณา ของที่ประชุมคณะทำงาน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค และการจัดทำขอบเขตการปฏิบัติงาน (Terms of Reference) ในอนาคต

คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค จัดตั้งขึ้น ในปี 2533 มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันจะก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน ประธานคณะทำงาน ได้แก่ Dr. YoungHwan Kim จากสาธารณรัฐเกาหลี กลไกคณะทำงานทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

1) เครือข่ายการศึกษา ผู้ประสานงาน ได้แก่ Ms. Adriana De Kanter จากสหรัฐอเมริกา

2) เครือข่ายสวัสดิการสังคมและแรงงาน ผู้ประสานงานได้แก่ Mr. Malcolm Greening จากออสเตรเลีย และ

3) เครือข่ายด้านการพัฒนาขีดความสามารถ ผู้ประสานงานได้แก่ Mr. Tsai, Meng-Liang จากสาธารณรัฐประชาชนจีน

ยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงานของเอเปคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปี 2557 ที่เน้นการดำเนินงานใน 3 เป้าหมายหลัก คือ1) การพัฒนาความรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาทักษะเพื่อปวงชน 2) การบูรณาการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเศรษฐกิจโลก  3) การแก้ปัญหาในมิติสังคมที่ส่งผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ ด้วยการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคโดยใช้กลไกการพัฒนา ศักยภาพ การศึกษา และแรงงานและการปกป้องทางสังคมทั้งนี้

HRDWG-2-36TH 28-2-2557

**การดำเนินงานที่สำคัญของเครือข่ายการศึกษาจะเน้นในเรื่องการเชื่อมโยงประชาชนกับประชาชน**
ตาม ที่ผู้นำเอเปคได้ประกาศต่อที่ประชุมผู้นำเอเปคเมื่อปี 2556 ที่จะเร่งรัดการดำเนินการด้านการศึกษาข้ามพรมแดน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การบริการ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายของประชาชนในภูมิภาค

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
28 กุมภาพันธ์ 2557