I. บทนำ 1. ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของอาเซียน ในช่วงสองทศวรรษครึ่งที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ได้จากการ พัฒนามนุษย์และการพัฒนาที่ยั่งยืนที่โดดเด่น หัวใจสำคัญ ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (เอเอสซีซี) คือ ความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ผ่านกิจกรรมความร่วมมือที่ให้ความสำคัญกับประชาชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมุ่งไปสู่ การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน 2025 ได้เปิดโลกแห่งโอกาส ที่จะร่วมมือกันเพื่อให้เกิดการพัฒนามนุษย์ ภูมิต้านทาน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่พวกเราเผชิญกับ สิ่งท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน
2. แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนเป็นทั้งยุทธศาสตร์และกลไกการวางแผนการทำงาน ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้ดำเนินการไปแล้ว ระหว่างปี 2552 - 2558 และได้พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ในการพัฒนา และเสริมสร้างความสอดประสานกันระหว่าง กรอบทางนโยบายและสถาบัน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ของการพัฒนามนุษย์ สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม การคุ้มครองและสวัสดิการทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน และการลดช่องว่างทางการพัฒนา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียนได้ช่วยยกระดับความมุ่งมั่นในรูปของ กรอบทางนโยบายและทางกฎหมาย อาทิ ปฏิญญา ว่าด้วยการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในอาเซียน และ ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและการขจัด ความรุนแรงต่อเด็กในอาเซียน เป็นต้น อาเซียนยังแสดง ให้เห็นถึงเจตนารมณ์ร่วมกันของภูมิภาค อาทิ ในการดำเนินการ อย่างรวดเร็วและเห็นผลได้ในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ผ่านการดำเนินงานของประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมในเรื่องการจัดการภัยพิบัติ (ศูนย์อาฮา) เป็นต้น ข้อริเริ่มเหล่านี้ได้ส่งผลทางการพัฒนาที่สำคัญซึ่งช่วย กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในภูมิภาค ได้แก่ สัดส่วน ของประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ลดลงจาก หนึ่งในสองคนเป็นหนึ่งในแปดคนในสองทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการลงทะเบียนเรียนโดยสุทธิสำหรับเด็กในช่วงชั้นประถมศึกษา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92 ในปี 2542 มาเป็นร้อยละ 95 ในปี 2553 สัดส่วนของนักการเมืองสตรีในรัฐสภาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 18.5 ในปี 2555 อัตราการเสียชีวิต ของมารดาต่อทารก 100,000 คนที่เกิดมามีชีวิตลดลงจาก 371.2 คน ในปี 2553 มาเป็น 103.7 คน ในปี 2555 และ อัตราประชากรเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดลดลงจากร้อยละ 40 ในปี 2543 มาอยู่ที่ร้อยละ 31 ในปี 2555
3. จากความร่วมมือระดับภูมิภาคที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทำให้ภูมิภาคได้เห็นความยากจนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในประเทศ สมาชิกอาเซียนหลายประเทศ ภูมิภาคยังประสบกับการขยายตัว ของชนชั้นกลาง มีสาธารณสุขและการศึกษาที่ดีขึ้น มีแรงงาน ที่เพิ่มขึ้นที่จะช่วยตอบสนองต่อความต้องการแรงงานทั้งในระดับ ภูมิภาคและระดับโลก มีประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการบริการใหม่ ๆ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเมือง และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม มีอีกหลายเรื่องที่ต้อง ดำเนินการต่อไปเพื่อรักษาประโยชน์และผลของความก้าวหน้า เหล่านี้ โดยยังมีอีกหลายสิบล้านคนที่ยังอยู่ในภาวะยากจน การโยกย้ายถิ่นฐานภายในอาเซียนเพิ่มสูงขึ้นจาก 1.5 ล้านคน ในปี 2533 เป็น 6.5 ล้านคนในปี 2556 ซึ่งเกือบร้อยละ 50 ของจำนวนแรงงานข้ามชาติเป็นสตรีซึ่งโยกย้ายถิ่นฐานมากขึ้น เพื่อแสวงหาโอกาสการจ้างงาน นอกจากนี้ ประมาณหนึ่งในแปด ของแรงงานข้ามชาติ เป็นคนหนุ่มคนสาวที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 24 ปี ภัยด้านสาธารณสุขจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น มาลาเรียดื้อยา และวัณโรค ยังคงเป็นภัยคุกคามในบางประเทศ สมาชิกอาเซียน อีกทั้งมีอีกหลายล้านคนยังไม่ได้รับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน เนื่องจากเข้าไม่ถึงโรงเรียนและมีอัตราการออก จากโรงเรียนกลางคันสูง ส่วนในเรื่องความหิวโหยซึ่งสะท้อน ให้เห็นได้จากภาวะทุพโภชนาการ ยังคงเป็นปัญหาของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญในบางประเทศสมาชิกอาเซียน ในทำนองเดียวกัน ประชากรจำนวนมากในบางประเทศสมาชิกอาเซียน มีความเปราะบางอย่างยิ่งต่อความยากจน หรือกลับตกไปสู่ ความยากจนยิ่งขึ้นจากราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น ดังที่ราคาอาหารโลก ที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างปี 2550 – 2551 ได้แสดงความก้าวหน้า ด้านการคุ้มครองทางสังคม ความยุติธรรม สิทธิ การมีส่วนร่วม และอัตลักษณ์จะต้องนำไปสู่การแก้ไขปัญหาแนวคิดสุดโต่งด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนหนึ่งยังคงเปราะบางต่อภัยพิบัติ ทางธรรมชาติและภัยพิบัติจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งมีแนวโน้ม จะกระทบที่มีความรุนแรงมากขึ้นต่อประชาชนที่ยากจนและ มีรายได้น้อยเสียเป็นส่วนใหญ่ สำหรับมลภาวะและความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรยังคงเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้นในบางประเทศสมาชิก อาเซียน โดยอาเซียนเป็นภูมิภาคหนึ่งที่เปราะบางที่สุดต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจำเป็นจะต้องหาทางออก เพื่อให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีภูมิคุ้มกัน
4. นอกเหนือจากความก้าวหน้าในปัจจุบันของประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียนและของภูมิภาคโดยรวม ประสบการณ์ ความใฝ่ฝันและโชคชะตาของอาเซียนจะยังคงเกี่ยวพัน อย่างใกล้ชิดและได้รับอิทธิพลจากพัฒนาการและความท้าทายต่าง ๆ ของโลกด้วย ในขณะที่ปี 2558 กำลังจะสิ้นสุดลง ประชาคมโลก โดยผ่านสหประชาชาติได้แสดงความมุ่งมั่นร่วมกันของประเทศ สมาชิกทั้ง 193 ประเทศในการจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนา ที่ครอบคลุมมีผลกว้างไกล เป็นสากลและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในอีกสิบห้าปีข้างหน้า นั่นคือ วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ซึ่งจะสานต่อและขยายผลความก้าวหน้าจากเป้าหมายการพัฒนา แห่งสหัสวรรษ และสนับสนุนการจัดการความท้าทายต่าง ๆ ที่มีต่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น ความยากจน ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศแนวคิดรุนแรงสุดโต่ง และการหมดไปของทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และอื่น ๆ
5. ดังนั้น ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่มีความสำคัญยิ่งของ ประชาคมอาเซียนนี้ วิสัยทัศน์ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน 2025 ที่ตระหนักถึงความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก จึงเป็นไปเพื่อประชาคมอาเซียน ที่มีปฏิสัมพันธ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ครอบคลุม ยั่งยืน มีภูมิคุ้มกัน และมีพลวัต โดยตั้งเป้าหมายว่าจะบรรลุประเด็น ต่าง ๆ ดังนี้
5.1 การเป็นประชาคมที่มุ่งมั่น มีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน และรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินงานด้วยกลไก ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์ ของประชาชนในภูมิภาคทั้งมวล ทั้งนี้ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
5.2 การเป็นประชาคมที่ครอบคลุม ซึ่งส่งเสริมให้ ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตในระดับสูง เข้าถึงโอกาสต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ แรงงานข้ามชาติ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มคนชายขอบ
5.3 การเป็นประชาคมที่ยั่งยืนซึ่งส่งเสริม การพัฒนาทางสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านกลไก ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน และคนรุ่นต่อไป
5.4 การเป็นประชาคมที่มีภูมิคุ้มกันโดยมี ขีดความสามารถและศักยภาพมากขึ้นในการปรับตัวและตอบสนอง ต่อความเปราะบางทางสังคมและเศรษฐกิจภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่และสิ่งท้าทาย ต่าง ๆ และ
5.5 การเป็นประชาคมที่มีพลวัตและสามัคคี ที่ตระหนักและภาคภูมิใจในอัตลักษณ์วัฒนธรรม และมรดกตกทอด พร้อมกับความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการรังสรรค์และมีบทบาทเชิงรุก ในประชาคมโลก
II. คุณลักษณะและองค์ประกอบของแผนงานประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน 2025 ก. มีปฏิสัมพันธ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
6. ประชาคมอาเซียนจะเป็นประชาคมที่มีปฏิสัมพันธ์ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในภูมิภาคโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล
7. ประชาคมอาเซียนจะเน้นการมีส่วนร่วมกับหลายภาคส่วน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ รวมทั้งคู่เจรจาและหุ้นส่วน การพัฒนาองค์กรในระดับอนุภูมิภาคภาควิชาการ รัฐบาล ท้องถิ่นในระดับต่าง ๆ ในจังหวัด เมืองเทศบาล และหมู่บ้าน หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนบทบาทของชุมชน การมีส่วนร่วมในลักษณะไตรภาคีในภาคแรงงาน วิสาหกิจ เพื่อสังคม การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐกับองค์กร ภาคเอกชน/องค์กร ภาคประชาสังคมความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กร การเสวนาระหว่างศาสนาและระหว่างวัฒนธรรม โดยเน้นเสริมสร้างและรักษาความตระหนักรู้และการเป็นสังคม เอื้ออาทรของอาเซียนตลอดจนปลูกฝังความรู้สึกในอัตลักษณ์อาเซียน
8. ประชาคมอาเซียนมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความมุ่งมั่น การมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อสังคมของประชาชน ในภูมิภาค ผ่านกลไกที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมซึ่งจะนำไปสู่การเป็นประชาคม ที่ประชาชนมีส่วนร่วม มีความเข้มแข็ง มีเวทีในการมีส่วนร่วม ในกระบวนการต่าง ๆ ของอาเซียน ตลอดจนได้รับประโยชน์ จากความริเริ่มต่าง ๆ ด้วย
9. ผลลัพธ์หลักที่มุ่งหวังและมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ มีดังนี้
ก.1 ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในกระบวนการของอาเซียน มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) ทำให้การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการมีส่วนร่วม ในการทำงานขององค์กรและองค์กรเฉพาะสาขา ของอาเซียนมีความเป็นทางการ ซึ่งรวมถึงความคิดริเริ่ม ในการกำหนดนโยบาย การบูรณาการมิติของการประเมิน ผลกระทบในกระบวนการกำหนดนโยบาย การจัดทำแผนงาน การดำเนินงาน การติดตามผลการดำเนินงาน และอื่น ๆ
2) ส่งเสริมกรอบความเป็นหุ้นส่วนและแนวปฏิบัติในการ ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การดำเนินงาน ตามข้อริเริ่มต่าง ๆ ของอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้าง ความตระหนักรู้ในหมู่สาธารณชนเกี่ยวกับแผนงานและความสำเร็จ ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ก.2 ให้ประชาชนมีความเข้มแข็งและมีสถาบันที่มั่นคงมาตรการ เชิงยุทธศาสตร์
1) เพิ่มสมรรถนะและภูมิคุ้มกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้องด้วยทักษะด้านการบริหารจัดการและการใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่ เพื่อปรับปรุงศักยภาพเชิงสถาบันในการรับมือกับ ความท้าทายในปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เช่น ภัยพิบัติ โรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2) ให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารโดยกลุ่มคนในทุกช่วงอายุ เพื่อเป็นเครื่องมือในการ เชื่อมโยงกับประชาคมในระดับภูมิภาคและระดับโลก
3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของรัฐบาล/หน่วยงานและ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับ จังหวัด เมือง เทศบาล และหมู่บ้าน โดยผ่านรัฐบาลกลางในการจัดทำแผนงานที่เกี่ยวกับ การเพิ่มพูนขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ของอาเซียน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนที่เกี่ยวข้อง
4) ส่งเสริมกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติที่ไม่เป็นการเลือก ประติบัติต่อกลุ่มคนต่าง ๆ ด้วยการพัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการ โปร่งใส ตรวจสอบได้ในทุกระดับ
5) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคราชการพลเรือนด้วยการ พัฒนาขีดความสามารถที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดทำโครงการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
6) ส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในบุคลากร ภาครัฐ นักเรียน เด็ก เยาวชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
7) ดำเนินการไปสู่การบรรลุความเสมอภาคทางเพศ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิงทั้งมวล
ข. มีความครอบคลุม
10. เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายสูงสุดของประชาคมอาเซียน ในปี 2568 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนได้รับ การคาดหวังว่าจะต้องก้าวไปสู่ประชาคมที่มีความครอบคลุม อันหมายถึงการส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม และส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ แรงงานข้ามชาติ ชนกลุ่มน้อย ทางด้านชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มคนชายขอบ ตลอดทุกช่วงอายุ โดยคำนึงถึงแนวทางพัฒนาทุกช่วงวัย และยึดหลักการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนในการส่งเสริม นโยบายและแผนงานต่าง ๆ ของอาเซียนภายใต้เสาสังคม และวัฒนธรรม
11. เพื่อที่จะสนับสนุนวาระการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คุณลักษณะข้อนี้จะมุ่งแก้ไข ข้อห่วงกังวลของประชาชนในอาเซียนทั้งมวลในประเด็นด้านสวัสดิการ การคุ้มครองทางสังคม การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรี ความเสมอภาคทางเพศ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน การขจัดความยากจน สาธารณสุข งานที่มีคุณค่า การศึกษา และข้อมูลข่าวสาร
12. วัตถุประสงค์ของคุณลักษณะของข้อนี้ คือ การเป็น ประชาคมอาเซียนที่มีความครอบคลุมซึ่งส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น การลดอุปสรรคต่อการได้รับประโยชน์ของการเข้าถึง โอกาสต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกันของประชาชนในอาเซียน และนั่นคือ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
13. ผลที่มุ่งหวังและมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ของ คุณลักษณะและองค์ประกอบนี้ ได้แก่
ข.1 การลดอุปสรรค
มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) ลดความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมการเข้าถึงการคุ้มครอง ทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน และได้ประโยชน์จากการส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของทุกคน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในสังคม อาทิ พัฒนาและดำเนินงานตามกรอบ แนวปฏิบัติ และกลไกสำหรับ การขจัดการเลือกประติบัติทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง การเอารัดเอาเปรียบ การล่วงละเมิดและการปล่อยปละละเลย
2) จัดหาแนวปฏิบัติสำหรับให้การดูแลที่มีคุณภาพ และให้การสนับสนุนสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ แรงงานข้ามชาติ ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มคนชายขอบ
3) จัดหากลไกระดับภูมิภาคในการส่งเสริมการเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับทุกคน
4) ส่งเสริมความคิดริเริ่มในระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุน ประเทศสมาชิกอาเซียนในการปฏิบัติตามปฏิญญาบาหลีว่าด้วย การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของคนพิการในประชาคม อาเซียน และทศวรรษคนพิการอาเซียน 2554 - 2563
5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มในระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุน ประเทศสมาชิกอาเซียนในการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ
ข.2 การเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกันสำหรับทุกคนมาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) เพิ่มเวทีการดำเนินงานในระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริม โอกาสที่เท่าเทียมกัน การเข้าร่วมและการมีส่วนร่วมอย่างมี ประสิทธิภาพของสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ บุคคลที่อาศัย อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและบริเวณชายแดน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ในการพัฒนาและดำเนินการตามนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ของอาเซียน
2) จัดทำยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคและเสริมสร้าง ขีดความสามารถขององค์กรในการบูรณาการมิติด้านเพศในนโยบาย แผนงาน และงบประมาณต่าง ๆ ของอาเซียนโดยทั่วทุกเสาและ ทุกสาขา
3) เพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ และแผนงานต่าง ๆ ภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และส่งเสริมให้มีความสอดคล้องกันกับยุทธศาสตร์ และแผนงานต่าง ๆ ภายใต้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการคุ้มครองทางสังคม หลักประกันสุขภาพ ความปลอดภัยด้านอาหาร การขจัดความยากจน การจ้างงานและการมีงานที่มีคุณค่า และการค้ามนุษย์
4) จัดหากลไกและเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร ในการส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางสังคมขั้นพื้นฐานให้มากขึ้น อาทิ การบริการทางสุขภาพและการศึกษา ซึ่งรวมไปถึงการศึกษา ระดับปฐมวัยและอาชีวศึกษา การฝึกทักษะฝีมือแรงงาน ตลอดจน การส่งเสริมการยอมรับทักษะฝีมือแรงงาน
5) สนับสนุนข้อริเริ่มของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการพัฒนาฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบแยกตามเพศ และช่วงอายุในระดับชาติ โดยเฉพาะฐานข้อมูลเกี่ยวกับความยากจน และความเท่าเทียม และจัดทำฐานข้อมูลระดับภูมิภาคที่มี ความน่าเชื่อถือสำหรับภาคส่วนที่สำคัญเพื่อสนับสนุนนโยบาย และแผนงานต่าง ๆ ของอาเซียน
6) ส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ และชีวิตความเป็นอยู่ที่มีความยั่งยืน โดยเฉพาะในหมู่คนยากจน ผ่านการเข้าถึงการศึกษา โอกาสในการจ้างงาน การประกอบการ และการเงินฐานราก
7) ส่งเสริมความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อขจัดความยากจนที่มีหลายมิติ โดยใช้แนวทางแบบพหุสาขา พหุภาคี และมีชุมชนเป็นพื้นฐาน
8) สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงทรัพยากร โอกาส และมาตรการคุ้มครองต่าง ๆ ต่อคนว่างงาน คนยากจน และกลุ่มคนชายขอบอื่น ๆ เพื่อไม่ให้ตกอยู่ภายใต้การครอบงำ ของแนวคิดสุดโต่งรุนแรงและภัยคุกคามต่าง ๆ
9) รับประกันว่ากระบวนการตัดสินใจในทุกระดับ จะเป็นไปอย่างครอบคลุม มีส่วนร่วมและสะท้อนเสียงของประชาชน โดยใส่ใจในความต้องการและความจำเป็นของผู้ที่ตกอยู่ ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบ ซึ่งรวมถึงชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ เด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ และผู้สูงอายุ
10) ส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมผ่านมาตรการ ที่เหมาะสมในระดับชาติเพื่อรับประกันว่าคนยากจนและกลุ่มเปราะบาง จะเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและโอกาสอื่น ๆ อย่างเท่าเทียม
11) ส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมกันเพื่อรับการศึกษาที่มีคุณภาพและ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการเข้าถึง การศึกษาอย่างถ้วนหน้า
12) ส่งเสริมชุมชนที่มีสุขภาพดี มีความเอื้ออาทร มีความยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญกับ การมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่อภัยคุกคามทางสุขภาพ และเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขอย่างถ้วนหน้า
13) ส่งเสริมให้คนพิการและกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ เข้าถึงบริการและ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการออกแบบเพื่อคน ทั้งมวล หรืออารยสถาปัตย์
ข.3 การส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) ส่งเสริมกลไกระหว่างสาขาในระดับภูมิภาคเพื่อนำไปสู่ การดำเนินงานแบบองค์รวมและสหวิทยาการ ในการยกระดับ การดูแลที่มีคุณภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี ความเสมอภาคทางเพศ ความยุติธรรมทางสังคม สิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน สำหรับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเพื่อตอบสนองต่อ ความเสี่ยง/ภัยคุกคามทางสังคม และเศรษฐกิจที่อุบัติขึ้นทั้งมวล
2) ส่งเสริมกลไกทางการเงินที่ยั่งยืนสำหรับการคุ้มครอง ทางสังคม โดยเฉพาะหลักประกันสุขภาพ การดูแลและส่งเสริม พัฒนาการเด็กเล็ก การป้องกันความเสี่ยงทางการเงินสำหรับ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และบำนาญทางสังคม ผ่านการเป็นหุ้นส่วน ทางยุทธศาสตร์กับภาคเอกชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) จัดหาเวทีระดับภูมิภาคสำหรับการหารือและการสนับสนุนความคิด ริเริ่มในการจัดการประเด็นเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมที่เป็นอุปสรรค ต่อการได้รับประโยชน์จากสิทธิต่าง ๆ
4) สนับสนุนการดำเนินการอย่างเร่งด่วนในหมู่ประเทศ สมาชิกอาเซียนในเรื่องการบริการทางสังคมและการคุ้มครอง ทางสังคม โดยขยายขอบเขตความคุ้มครอง ส่งเสริมการเข้าถึง การมีอย่างเพียงพอ การใช้ประโยชน์ ความครอบคลุม คุณภาพความเท่าเทียม ตลอดจนความเหมาะสมด้านอัตรา ค่าบริการและความยั่งยืน
5) ส่งเสริมการดำเนินการตามปฏิญญาและตราสารต่าง ๆ ของอาเซียนที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ
6) ผลักดันความริเริ่มในระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็ก รวมทั้งคนพิการ โดยเฉพาะ ผ่านการทำงานของคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (เอซีดับเบิลยูซี)
7) ผลักดันความคิดริเริ่มในระดับภูมิภาคและการมี ส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการขจัดการเลือกปฏิบัติ ในทุกรูปแบบ ทั้งในเชิงสถาบันและรูปแบบอื่น ๆ การเอารัดเอาเปรียบ การค้ามนุษย์ การปฏิบัติที่เป็นอันตราย เป็นความรุนแรง และ เป็นการล่วงละเมิดต่อเด็ก สตรี คนพิการ เยาวชน แรงงานข้ามชาติ ผู้สูงอายุ และเหยื่อ/ผู้รอดชีวิตจากการค้ามนุษย์ ชนกลุ่มน้อย ทางชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มคนชายขอบ
8) สนับสนุนสายสัมพันธ์ระหว่างช่วงวัย ครอบครัว และชุมชน ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ การจัดการ ดูแลที่มีคุณภาพและการคุ้มครองให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับ ปฏิญญาบรูไนดารุสซาลามว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของสถาบันครอบครัว - การดูแลผู้สูงอายุ
9) ผลักดันความคิดริเริ่มในระดับภูมิภาคที่สอดคล้องกับ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงาน ข้ามชาติ เพื่อการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิของคนทำงาน และแรงงานข้ามชาติที่ดีขึ้น
ค. มีความยั่งยืน 14. เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายสูงสุดของประชาคมอาเซียน ในปี 2568 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนได้ เล็งเห็นว่า จะบรรลุถึงสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนท่ามกลางบริบทของ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางสังคมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
15. วัตถุประสงค์ของคุณลักษณะข้อนี้ คือ การส่งเสริมและ ประกันว่าจะมีการพัฒนาสังคมที่สมดุลและมีสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในทุกรุ่นทุกสมัยได้ โดยมีจุดมุ่งหมายในการเป็นประชาคมอาเซียนที่เข้าถึง สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้อย่างเท่าเทียมกัน และสามารถเกื้อหนุน การพัฒนาสังคมและขีดความสามารถในการต่อยอดไปสู่การพัฒนา อย่างยั่งยืนต่อไปได้
16. ผลลัพธ์ที่มุ่งหวังและมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ของ คุณลักษณะและองค์ประกอบข้อนี้ ได้แก่
ค.1 การอนุรักษ์และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนมาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) สร้างความเข้มแข็งต่อความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรระบบนิเวศทางบก อย่างยั่งยืน แก้ปัญหา การกลายสภาพเป็นทะเลทราย ยับยั้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และยับยั้งและแก้ปัญหา การเสื่อมสภาพของดิน
2) สร้างความเข้มแข็งให้ความร่วมมือในระดับภูมิภาค ว่าด้วยการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนในบริบทของการป้องกัน และควบคุมไฟป่า ซึ่งรวมถึงการดำเนินการตามข้อตกลงอาเซียน ในเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน เพื่อแก้ปัญหามลพิษ จากหมอกควันข้ามแดนอย่างมีประสิทธิภาพ
3) ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อปกป้อง ฟื้นฟู และการใช้ สิ่งแวดล้อมทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน ตอบสนองและจัดการกับ ความเสี่ยงจากมลพิษและภัยคุกคามต่อระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่ง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวทางระบบนิเวศ
4) รับนำแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้และพัฒนานโยบายในการ จัดการผลกระทบของโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่มีต่อน่านน้ำชายฝั่ง และสากลและปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน อาทิ มลภาวะ การเคลื่อนย้ายและการกำจัดสารเคมีและขยะมีพิษอย่างผิดกฎหมาย โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงและกลไกระดับภูมิภาคและ ระหว่างประเทศ
5) ส่งเสริมการพัฒนานโยบายและขีดความสามารถ ตลอดจนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหาร จัดการทะเล พื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าพรุ ความหลากหลาย ทางชีวภาพ ทรัพยากรน้ำและดินอย่างยั่งยืน
6) ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน เพื่อให้มีการจัดการระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
7) ส่งเสริมความร่วมมือเกี่ยวกับการบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมเพื่อไปสู่การใช้ระบบนิเวศ และทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนผ่านสิ่งแวดล้อมศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชน และ การรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ในสังคม
8) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหุ้นส่วนระดับโลกและ ระดับภูมิภาคและสนับสนุนการปฏิบัติตามความตกลง และกรอบการดำเนินงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
9) ส่งเสริมบทบาทของศูนย์อาเซียนเพื่อความหลากหลาย ทางชีวภาพในฐานะที่เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการอนุรักษ์และ การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
10) สนับสนุนการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ความหลากหลาย ทางชีวภาพปี 2554 - 2563 และเป้าหมายไอจิอย่างเต็มที่
ค.2 เมืองที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) ส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการ ในการวางผังเมืองและการบริหารจัดการสำหรับเป็นชุมชนเมือง อย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่ประชาคมอาเซียนที่สะอาดและเป็นสีเขียว
2) เสริมสร้างขีดความสามารถของสถาบันในระดับชาติ และระดับท้องถิ่นในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์และแผนงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเมืองให้น่าอยู่
3) ส่งเสริมการประสานงานระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาซึ่งการเข้าถึงที่ดินที่สะอาด สถานที่สาธารณะสีเขียว อากาศที่บริสุทธ์ น้ำที่สะอาดและปลอดภัย และสุขอนามัย
4) ส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตรต่อเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ ผ่านการประสานงานที่ใกล้ชิดระหว่างภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเข้าถึงได้ และมีความยั่งยืน
5) เสริมสร้างความเชื่อมโยงเชิงบวกด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่เมือง ชานเมือง และชนบท
6) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่นโยบายและยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารจัดการผลกระทบของการเพิ่มจำนวนประชากร และการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปอยู่อาศัยในเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
ค.3 สภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืน มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) เพิ่มพูนขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กร ในการดำเนินการเกี่ยวกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและการบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะต่อชุมชนเปราะบางและชายขอบ
2) เอื้ออำนวยการพัฒนาการตอบโต้อย่างครอบคลุม และสอดคล้องกันต่อความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันอาจได้แก่ การทำงานด้วยหลักพหุภาคี และพหุสาขา
3) ยกระดับการให้ภาคเอกชนและชุมชนเข้าถึงกลไก ทางการเงินใหม่ ๆ และสร้างสรรค์เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ
4) เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรเฉพาะสาขา และรัฐบาลท้องถิ่นในการทำรายการก๊าซเรือนกระจก ตลอดจน การประเมินความเสี่ยงและความต้องการในการปรับตัว
5) ส่งเสริมความพยายามของรัฐบาล ภาคเอกชน และชุมชนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรม ด้านการพัฒนาหลัก ๆ
6) บูรณาการมิติของการจัดการความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการ วางแผนเฉพาะสาขา
7) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้หุ้นส่วนระดับโลกและ สนับสนุนการดำเนินการตามข้อตกลงและกรอบการดำเนินงาน ระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี)
ค.4 การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับ ภาคเอกชนด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การใช้ทรัพยากรมีความคุ้มค่าที่สุด
2) ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศึกษา (รวมถึงโรงเรียนประหยัดพลังงาน) ความตระหนักรู้ และขีดความสามารถในการบริโภคอย่างยั่งยืน และการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ
3) เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องใน จัดการขยะที่ดีและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4) ส่งเสริมการบูรณาการยุทธศาสตร์และแนวปฏิบัติ ที่เป็นเลิศเกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในนโยบาย ระดับชาติและระดับภูมิภาคหรือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม การรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
ง. มีภูมิคุ้มกัน
17. การทำงานแบบบูรณาการ ครอบคลุม และมีส่วนร่วม เป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างชุมชนที่มีภูมิคุ้มกันในภูมิภาคอาเซียน ภายหลังปี 2558 ภูมิคุ้มกันเป็นแก่นสำคัญของความมั่นคง ของมนุษย์และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องสร้างขึ้น จากการบูรณาการนโยบาย การเพิ่มพูนขีดความสามารถและ การเสริมสร้างองค์กร ตลอดจนความเป็นหุ้นส่วนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ากับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเป็นหลัก และการมี ภูมิคุ้มกันต้องครอบคลุม โดยปราศจากการเลือกประติบัติ และ เชื่อมโยงกับนโยบายด้านการตลาดและเทคโนโลยี รวมทั้งการมี ส่วนร่วมของภาคเอกชน ตลอดจนแวดวงวิทยาศาสตร์และ ภาควิชาการ ทั้งนี้ ตามปฏิญญาว่าด้วยประชาคมอาเซียนและ ประชาชนอาเซียนที่มีความเข้มแข็ง รู้รับ ปรับตัว ฟื้นกลับจาก ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นทางการ ที่ได้รับการรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 26 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 ผู้นำอาเซียนได้มุ่งมั่นที่จะ “เสริมสร้างอนาคตที่มีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยการลดภัยพิบัติและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ การป้องกันการเกิดขึ้นของความเสี่ยงใหม่ ๆ และการปรับตัวเข้ากับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการดำเนินมาตรการทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทางกายภาพและด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดการกับการเผชิญหน้าและความเสี่ยงต่าง ๆ และจะส่งผล ทำให้เกิดการยกระดับภูมิคุ้มกันขึ้น”
18. วัตถุประสงค์ของคุณลักษณะข้อนี้ คือ การเพิ่มพูน ขีดความสามารถในการร่วมกันตอบโต้และปรับตัวต่อความท้าทาย ในปัจจุบันและความท้าทายที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น โดยตระหนักว่า การมีภูมิคุ้มกันด้านสังคมและวัฒนธรรมนั้น มีความเชื่อมโยง กับเสาอื่น ๆ ภายใต้ประชาคมอาเซียนด้วย ซึ่งเปรียบเสมือน กำลังหลักที่จะทำให้เกิดความพอประมาณ เกิดประโยชน์ต่อ ส่วนรวม เกิดความพร้อมในการรับมือภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ตลอดจนวิกฤตการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจอื่น ๆ โดยยึดหลักความมั่นคงที่ครอบคลุมทุกมิติ
19. ผลที่มุ่งหวังและมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ของ คุณลักษณะและองค์ประกอบนี้ ได้แก่
ง.1 อาเซียนมีภูมิคุ้มกันต่อภัยพิบัติ โดยสามารถคาดการณ์ ตอบสนอง รับมือ ปรับตัว และฟื้นกลับที่ดีขึ้น ฉลาดขึ้น และเร็วขึ้น มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) พัฒนากลไกและขีดความสามารถของภูมิภาคเพื่อให้ อาเซียนตอบโต้ต่อภัยพิบัติทั้งที่เกิดขึ้นภายในและภายนอก ภูมิภาคร่วมกันได้
2) เสริมสร้างมาตรฐานของภูมิภาค โดยใช้วิธีการและ เครื่องมือต่าง ๆ ในการประเมินบันทึก คำนวณความเสียหายและ ความสูญเสียที่เกิดจากภัยพิบัติ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลที่สามารถ เปิดเผยได้และสร้างระบบสารสนเทศร่วมกัน เพื่อยกระดับ ความสามารถในการทำงานร่วมกัน รับประกันความเป็นเอกภาพ ในการทำงานและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
3) ส่งเสริมภูมิต้านทานของชุมชนท้องถิ่นโดยบูรณาการ หลักการของการมีภูมิคุ้มกันในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การเตรียมความพร้อม และการตอบสนองต่อภัยพิบัติ การฟื้นกลับ และการฟื้นฟูภายหลังการเกิดภัยพิบัติ
4) ส่งเสริมความสอดคล้องและการเชื่อมโยงของนโยบาย และประสานกำลังกันในความริเริ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการลด ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การปรับตัว และการบรรเทาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5) สร้างภูมิคุ้มกันอย่างเป็นทางการโดยพัฒนา ขีดความสามารถขององค์กรและความสามารถในการปรับตัว เพื่อลดความเสี่ยงที่มีอยู่ในปัจจุบันและป้องกันความเสี่ยงในอนาคต
6) ใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ ดั้งเดิมเพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการมีภูมิคุ้มกัน
7) เสริมสร้างขีดความสามารถ เทคโนโลยี และภูมิคุ้มกัน ของชุมชนในการรับมือกับผลกระทบของชนวนที่ยังไม่ระเบิดต่อ การดำรงชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่อยู่ในชนบท
ง.2 อาเซียนที่ปลอดภัยขึ้น โดยสามารถตอบสนองต่ออันตราย ต่อสุขภาพทั้งมวลได้ทั้งอันตรายด้านชีวภาพ เคมี กัมมันตรังสีและนิวเคลียร์และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) ส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ระบบสาธารณสุข เพื่อเตรียม ความพร้อมสำหรับการตอบสนองต่ออันตรายต่อสุขภาพต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งอันตรายด้านชีวภาพ เคมี กัมมันตรังสี และนิวเคลียร์ และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่
2) เสริมสร้างมาตรฐานของภูมิภาคในการส่งเสริม ทำงานร่วมกัน ประกันความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ และเสริมสร้างภูมิต้านทานร่วม
3) เพิ่มพูนขีดความสามารถขององค์กร บุคลากร และกลยุทธ์ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานต่าง ๆ ในการเตรียมการและตอบโต้อันตรายต่อสุขภาพ และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งมวลอย่างมีประสิทธิภาพ
ง.3 อาเซียนที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับภูมิอากาศด้วยการ มีขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรที่เพิ่มขึ้น ในการปรับตัวเข้ากับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) ขยายกรอบความร่วมมือข้ามสาขาในระดับภูมิภาค และกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการตอบโต้ต่อผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน
2) สนับสนุนนโยบายทางวิทยาศาสตร์ด้านการปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมและอยู่บนพื้นฐาน ของข้อมูลที่พิสูจน์ได้
3) ส่งเสริมและพิจารณาองค์ความรู้และแนวปฏิบัติท้องถิ่น และดั้งเดิมในด้านการตอบโต้และปรับตัวต่อผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ง.4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้การคุ้มครองทางสังคม สำหรับสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ ชนกลุ่มน้อย ทางชาติพันธ์ุ แรงงานข้ามชาติ กลุ่มเปราะบางและ กลุ่มคนชายขอบ ตลอดจนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งรวมไปถึงผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ชายแดน และพื้นที่ที่อ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดความเสี่ยง เมื่อเกิดวิกฤตการณ์และภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ
มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) สนับสนุนให้มีการประเมินความเสี่ยงและจุดอ่อน และการใช้มาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ไปกำหนดนโยบาย และแผนงานเพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการที่ออกมาจะสามารถบรรลุ เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้
2) จัดตั้งเวทีความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้มีภูมิคุ้มกัน โดยลดการเผชิญหน้า และลดความเปราะบางต่อสภาพอากาศรุนแรงและต่อผลกระทบ อื่น ๆ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมและต่อภัยพิบัติ
ง.5 การพัฒนาและใช้ประโยชน์จากระบบการเงิน อาหาร น้ำ พลังงานที่มีใช้อย่างเพียงพอและโครงข่ายความปลอดภัย ทางสังคมอื่น ๆ ในการรับมือกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ด้วยการทำให้แหล่งทรัพยากรนั้นมีอยู่อย่างเพียงพอ เข้าถึงได้มากขึ้น ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น จัดหามาได้มากขึ้น และมีความยั่งยืนมากขึ้น มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) ยกระดับการประสานงานข้ามสาขาและข้ามเสา เพื่อรับประกันความเพียงพอของอาหารและการเข้าถึงอาหาร ในระดับครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวด้อยโอกาส ตลอดจนความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติ ราคาอาหาร ที่ปรับตัวสูงขึ้น และความขาดแคลน ด้วยการพัฒนากลไกและ กลวิธีในด้านการปรับตัว
2) ยกระดับการประสานงานข้ามสาขาและข้ามเสา เพื่อรับประกันความเพียงพอและการเข้าถึงบริการด้านพลังงาน ในราคาที่เหมาะสมต่อระดับครัวเรือน และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ จากพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3) ยกระดับการประสานงานข้ามสาขาและข้ามเสา เพื่อรับประกันความเพียงพอของน้ำสะอาด สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสุขอนามัย และกระแสไฟฟ้าของครัวเรือนในช่วงวิกฤตการณ์
4) ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนยากจน กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มคนชายขอบในช่วงวิกฤตการณ์
5) พิจารณาความเป็นไปได้ในการตั้งกลไกและยุทธศาสตร์ ทางการเงิน และการประกันภัยสำหรับการลดความเสี่ยง จากภัยพิบัติ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ง.6 ดำเนินการเพื่อไปสู่การเป็นอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) สนับสนุนการประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย พัฒนาและดำเนินแผนงาน ในการป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิดสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ที่แตกต่างกัน รวมทั้งรับเอาวิธีการรักษาและฟื้นฟู และแผนงาน การติดตามผลภายหลังการรักษาที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ตลอดจน การวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิด
2) เสริมสร้างความตระหนักรู้ของชุมชนและความรับผิดชอบต่อสังคม เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของยาอันตรายผ่านการมีส่วนร่วม ของชุมชน การรณรงค์และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
จ. มีพลวัต
20. วัตถุประสงค์ของคุณลักษณะข้อนี้ คือ การเสริมสร้าง ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและ การเป็นสมาชิกประชาคมโลกที่มีบทบาทเชิงรุก มุ่งเสริมสร้าง สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้านนโยบายและสถาบันต่าง ๆ ที่ส่งเสริม ให้คนและองค์กรมีทัศนคติที่เปิดกว้างรู้จักปรับตัวมากขึ้น มีความคิด สร้างสรรค์และนวัตกรรม และมีทักษะในการประกอบการ
21. ผลที่มุ่งหวังและมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ของ คุณลักษณะและองค์ประกอบนี้ ได้แก่
จ.1 การเป็นอาเซียนที่เปิดกว้างและปรับตัวมากขึ้น มาตรการเชิงกลยุทธ์
1) ส่งเสริมเสรีภาพในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารอย่างถ้วนหน้าโดยสอดคล้องกับกฎหมายภายใน ประเทศ
2) ส่งเสริมวัฒนธรรมของขันติธรรม ความเข้าใจและ การเคารพซึ่งกันและกันของศาสนาต่าง ๆ และการเสวนาระหว่าง ศาสนา
3) เผยแพร่ความเป็นอาเซียนสู่โลกภายนอกโดยแนวทาง ต่าง ๆ อาทิ ศิลปะอาเซียน เทศกาลภาพยนตร์อาเซียน และ แผนงานที่เกี่ยวกับมรดกของอาเซียน
4) กำหนดท่าทีร่วมกันของอาเซียนในเวทีด้านสังคมและ วัฒนธรรมระดับโลกและในการเจรจาต่าง ๆ เมื่อเห็นสมควร
5) ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และการเคลื่อนย้ายระหว่างประชาชน ทั้งภายในและภายนอกอาเซียน
6) ส่งเสริมความร่วมมือด้านการกีฬาและพัฒนาแผนงาน ด้านกีฬาที่ครอบคลุมและหลากหลายเพื่อสนับสนุนการมีชีวิตที่มี สุขภาพดีและมีชีวิตชีวา
7) เพิ่มพูนขีดความสามารถและศักยภาพของภาคราชการ พลเรือนและภาครัฐของอาเซียนในการตอบโต้ต่อความท้าทาย ที่เกิดขึ้นใหม่ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ผ่านการให้บริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โปร่งใส และตรวจสอบได้ มีแนวทางการดำเนินงานที่มีส่วนร่วมและ มีความคิดสร้างสรรค์ และร่วมมือกัน
8) จัดหาโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องได้แบ่งปัน องค์ความรู้ ซึ่งรวมถึงการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ และผลการศึกษาต่าง ๆ
9) ส่งเสริมค่านิยมของการเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม ในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มเข็ง ของประชาคมอาเซียน
10) แสดงออกซึ่งความเป็นอาเซียนให้เห็นชัด ผ่านความ พยายามต่าง ๆ ที่ครอบคลุมการสร้างภาพลักษณ์โดยผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียจากหลากหลายภาคส่วน นำเสนอโดยอัตลักษณ์ร่วม ของอาเซียน เช่น วันอาเซียน ธงอาเซียน เพลงประจำอาเซียน และตราสัญลักษณ์อาเซียน
11) ส่งเสริมมาตรการสร้างสังคมที่เอื้ออาทร ปรองดอง ให้คุณค่าแก่ความเป็นมนุษย์และจิตวิญญาณของชุมชน
จ.2 การเป็นอาเซียนที่สร้างสรรค์ มีนวัตกรรม และตอบสนอง มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของทรัพยากร มนุษย์ในอาเซียนผ่านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเตรียม ความพร้อมสู่การศึกษาระดับปริญญา การปรับพื้นฐานการศึกษา ให้สมดุล และการพัฒนาด้านทักษะ ตลอดจนส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกช่วงวัย
2) ส่งเสริมแนวทางการดำเนินงานของอาเซียนที่มีนวัตกรรม ในการอุดมศึกษาโดยเชื่อมโยงระหว่างภาควิชาการ บริการชุมชน การฝึกงานในภูมิภาค และบ่มเพาะและให้ความสนับสนุน การประกอบการ
3) เพิ่มพูนความร่วมมือในระดับภูมิภาคในด้านการศึกษา การฝึกอบรมและการวิจัย และเสริมสร้างบทบาทของอาเซียน ในเครือข่ายการวิจัยระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วยความคิดริเริ่ม และแรงจูงใจต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนา ซึ่งรวมถึงการตีพิมพ์ผลงานวิจัย
4) ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของความคิดองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะ เพื่อกระตุ้นพลวัตในภูมิภาค
5) พัฒนาหลักสูตรและระบบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาการเชิงสร้างสรรค์
6) ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และ การดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาพยนตร์ ดนตรีและภาพเคลื่อนไหว
7) ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม
8) ยกระดับความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระดับโลก ด้านการพัฒนาคุณภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขัน ของสถาบันอุดมศึกษา
9) สนับสนุนรัฐบาล ภาคเอกชน และชุมชน ในการพัฒนา ระบบการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและการฝึกอบรมใหม่ เพื่อการ เรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนากำลังแรงงาน
10) ส่งเสริมการจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ ยกระดับความร่วมมือและการดำเนินงานในอาเซียนในด้านต่าง ๆ เช่น ความปลอดภัยด้านอาหารเวชกรรม สินทรัพย์ทางวัฒนธรรม พื้นเมือง ผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
จ.3 ทำให้เกิดวัฒนธรรมของการประกอบการในอาเซียน มาตรการเชิงยุทธศาสตร์
1) เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนการประกอบการ ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดพี่เลี้ยง การให้ เงินลงทุนตั้งต้น การดำเนินธุรกิจและการระดมทุนสาธารณะ และการสนับสนุนทางการตลาด
2) สนับสนุนและพัฒนาการประกอบการเพื่อสังคม ที่มีนวัตกรรมและครอบคลุมสำหรับเยาวชน คนพิการ สตรี กลุ่มเปราะบางและกลุ่มคนชายขอบ
3) สนับสนุนนวัตกรรมเชิงสถาบันและเชิงวิชาการ ในการจัดบริการทางสังคม และการสาธารณสุข
III. การทบทวนและการดำเนินการ ก. กลไกการดำเนินการ
22. แผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 เป็นไปตามแนวบทบัญญัติแห่งกฎบัตรอาเซียน ตลอดจนตราสาร และเอกสารสำคัญอื่น ๆ ของอาเซียนซึ่งได้วางหลักการและ กรอบการดำเนินงานสำหรับการดำเนินความร่วมมือด้านสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน ทั้งนี้ การดำเนินงานจะต้องสอดคล้องกับ บรรดากฎหมาย กฎระเบียบ และนโยบายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง
ก.1 กลไกทางสถาบัน 23. องค์กรเฉพาะสาขาภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน รับผิดชอบในการดำเนินมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับอาณัติที่มี โดยการแปลงมาตรการต่าง ๆ ไปเป็น มาตรการย่อยที่เฉพาะเจาะจงขึ้น หรือเป็นแผนงาน โครงการ และ กิจกรรมต่าง ๆ ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนงานเฉพาะสาขานั้น ๆ สำหรับมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ที่เป็นประเด็นคาบเกี่ยวและ ต้องการความร่วมมือจากองค์กรเฉพาะสาขาภายใต้ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น จะต้องมีกลวิธีประสานงานและประสานความร่วมมือข้ามสาขา และข้ามเสา โดยองค์กรเฉพาะสาขาจะพัฒนาแผนงานรายสาขา ของตนให้สอดคล้องกับมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการ “เฉพาะเจาะจง วัดผลได้ บรรลุผล สำเร็จได้ เป็นไปได้จริง มีกรอบระยะเวลาที่แน่นอน” เพื่อให้ แผนการดำเนินงานดังกล่าวบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
24. คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน รับผิดชอบในการกำกับดูแลการดำเนินการของแผนงานประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่อาวุโส สำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนและองค์กร เฉพาะสาขาต่าง ๆ และมีหน้าที่ประสานงานความร่วมมือในประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือข้ามเสาและข้ามสาขา ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการ อาเซียนจะยังคงจัดการประชุมคณะกรรมการประสานงานประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ซอค-คอม) และสนับสนุน การประชุมดังกล่าวในฐานะที่เป็นเวทีที่สำหรับการมีส่วนร่วม อย่างกว้างขวางและปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรเฉพาะสาขาต่าง ๆ ภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนกับเสาอื่น ๆ (โดยเชิญผ่านประธาน/รองประธาน) กับคณะกรรมการ ผู้แทนถาวรประจำอาเซียนกับองคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน และกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ รวมไปถึงองค์กรระดับอนุภูมิภาค
25. คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และองค์กรเฉพาะสาขาต่าง ๆ ภายใต้การกำกับดูแล อาจส่งเสริม ความร่วมมือแบบพหุภาคีเพื่อแบ่งปันความเชี่ยวชาญ และทรัพยากร การถ่ายโอนความรู้และเทคโนโลยี การติดตามผลการดำเนินการ และดำเนินการในฐานะหุ้นส่วนในการดำเนินความคิดริเริ่มและ ความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ ควรสนับสนุนกลไกการติดตามและทบทวนผลการดำเนินงาน แบบมีส่วนร่วม
26. ส่งเสริมให้คู่เจรจาและองค์กรในระดับภูมิภาคที่มี ความสัมพันธ์กับอาเซียนสนับสนุนการดำเนินงานของแผนงาน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 ผ่านกรอบ ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน โดยที่แผนงาน โครงการและ กิจกรรมต่าง ๆ จะต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ในแผนงานประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน 2025
ก.2 กลยุทธ์การดำเนินงาน 27. การดำเนินการตามแผนงานประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน 2025 จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากบทบาท ขององค์กรและองค์กรเฉพาะสาขาต่าง ๆ ของอาเซียน โดยสนับสนุน การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเพิ่มพูนกลไกการพัฒนา ขีดความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปยังประชาชนในอาเซียน นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้มีเวทีสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในแผนงาน การประชุม และความริเริ่มต่าง ๆ ขององค์กรและองค์กรเฉพาะสาขาต่าง ๆ ของอาเซียน ตลอดจนเปิดโอกาสสำหรับการเป็นหุ้นส่วนและ การทำงานร่วมกัน ส่งเสริมหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน การประกอบการเพื่อสังคม และความรับผิดชอบต่อสังคมของ องค์กร เพื่อการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างครอบคลุม และยั่งยืน และยังจะพัฒนากลไกการพัฒนาขีดความสามารถ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน ซึ่งจะเป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องไปยัง ประชาชนในอาเซียนได้ ยิ่งไปกว่านั้นประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียนจะเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินยุทธศาสตร์ แผนงาน และความริเริ่มต่าง ๆ ขององค์กรเฉพาะสาขา เพื่อลดช่องว่างทางการพัฒนา
ก.3 ขีดความสามารถทางสถาบันที่เข้มแข็งและการมีตัวตน ของอาเซียน 28. สำนักเลขาธิการอาเซียนจะเพิ่มพูนขีดความสามารถ และการตอบสนองเพื่อสนับสนุนงานของประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน และการร่วมมือกับภาคส่วนอื่น ๆ ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ทั้งนี้ คณะมนตรีประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียนและองค์กรเฉพาะสาขา โดยคำนึงถึงข้อเสนอแนะ ของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ สำนักเลขาธิการอาเซียนและการทบทวนองค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน จะร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอาเซียน ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ในการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะดังกล่าว เพื่อนำไปสู่ขีดความสามารถ ทางสถาบันและการมีตัวตนอาเซียนที่เข้มแข็งขึ้น
29. หน่วยประสานงานหลักระดับชาติของสาขาต่าง ๆ ภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน จะต้องได้รับการ สนับสนุนให้มีการประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ และหน่วยประสานงานหลักด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนในระดับชาติมากขึ้น เพื่อให้มีการแบ่งปันข้อมูล อย่างทันท่วงที การปรึกษาหารือกับเมืองหลวงอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนการส่งเสริมให้สาธารณชน มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับงาน และความก้าวหน้าของประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ข. ทรัพยากร 30. เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของการเป็นเจ้าของร่วมกัน และการเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียนและเพื่อสนับสนุน การดำเนินการของมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ในแผนงานประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 อาเซียนสนับสนุนให้ ประเทศสมาชิกจัดหาทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการ และการทำงานขององค์กรเฉพาะสาขาเมื่อเห็นสมควร
31. การตั้งงบประมาณทั้งแบบต่อเนื่องหลายปีและ แบบรายปีเป็นสิ่งจำเป็นในการสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงาน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 เพื่อเพิ่มความ สามารถในการคาดการณ์เกี่ยวกับความเพียงพอของเงินทุน
32. องค์กรเฉพาะสาขาจะต้องรับประกันความยั่งยืน ทางด้านการเงินหากมีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุน การดำเนินงานตามแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน 2025 หรือแผนงานเฉพาะสาขา
33. เพื่อความยั่งยืนของโครงการและกลไกที่ได้รับการ จัดตั้งขึ้นแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนและองค์กรเฉพาะสาขา/ กลไกที่เกี่ยวข้องจะระดมทรัพยากรในรูปแบบของเงินทุน ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค และองค์ความรู้จากคู่เจรจา องค์กรระหว่างประเทศ และหุ้นส่วนอื่น ๆ กลยุทธ์ในการระดมทุน อาจรวมถึงการรวบรวมการสนับสนุนจากผู้มีจิตกุศลในภาคธุรกิจ และปัจเจกบุคคล ในการดำเนินงานตามแผนงานประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน 2025
ค. การสื่อสาร 34. สอดคล้องกับแผนแม่บทด้านการสื่อสารอาเซียน (เอซีเอ็มพี) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนจะทำงาน ร่วมกับองค์กรอาเซียนที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างใกล้ชิด ในการพัฒนากรอบการดำเนินงาน กลไก ยุทธศาสตร์ และความคิดริเริ่มต่าง ๆ ในการสร้างความตระหนักรู้ และการยอมรับในแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน 2025 เพื่อให้ได้ผลในการสื่อสารที่ดีขึ้น
ง. การทบทวน 35. การทบทวนและการประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากระบบการติดตามและประเมินผล ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งประกอบด้วย ระบบการติดตามผลที่มุ่งเน้น การดำเนินงานและดัชนีชี้วัดประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยในการสานต่อดัชนีชี้วัดประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ชุดปัจจุบันนั้น องค์กรเฉพาะสาขาต่าง ๆ จะพิจารณาตัวชี้วัด ที่เกี่ยวข้องกับสาขาของตน เพื่อรับประกันว่ามิติอื่น ๆ ที่ปรากฏ อยู่ในแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรม 2025 นี้ จะได้รับ การเพิ่มเติมเข้าไปในดัชนีและตัวชี้วัดชุดปัจจุบันด้วย โดยจะตั้ง อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการบริหารจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ในระดับภูมิภาคที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ แผนการติดตามและประเมินผล จะถูกกำหนดขึ้นโดยประกอบด้วยการติดตามผลภายใน โดยองค์กรเฉพาะสาขาเองและการประเมินผลที่อาจมีส่วนร่วม โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ
36. ระบบการติดตามประเมินผลจะต่อยอดจากดัชนี ชี้วัดประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่ใช้ในการวัดผล ความก้าวหน้าการดำเนินการของแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน 2552 - 2558 และพิจารณาบทเรียน ที่ได้รับและข้อเสนอแนะจากผลของการประเมินผลดัชนีชี้วัด ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน การดำเนินการดังกล่าว จะได้รับการบรรจุอยู่ในกรอบผลลัพธ์ที่คาดหวังซึ่งจะได้รับ การพัฒนาในการติดตามและวัดผลความก้าวหน้าของแผนงาน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 นอกจากนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาดัชนีชี้วัดประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ชุดปัจจุบัน องค์กรเฉพาะสาขาต่าง ๆ จะมีการพิจารณาตัวชี้วัด ที่เกี่ยวข้องกับสาขาของตนเพื่อรับประกันว่ามิติอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ใน แผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 จะได้รับ การพิจารณาให้เพิ่มเติมเข้าไปในดัชนีและตัวชี้วัดชุดปัจจุบัน
37. กรอบผลลัพธ์ที่คาดหวังจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบ การติดตามประเมินผล ซึ่งวัตถุประสงค์หลักหรือเชิงผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์หลักและตัวชี้วัด ได้ถูกรวบรวม สังเคราะห์และดำเนินการ ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะและองค์ประกอบที่ได้มีการแจกแจง รายละเอียดในแผนงานฉบับนี้ แสดงในภาคผนวก 1 กรอบผลลัพธ์ ที่คาดหวังจะแสดงและจัดหมวดหมู่ของวัตถุประสงค์ผลสัมฤทธ์ิหลัก และตัวชี้วัดในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบ ของแผนงาน นอกจากนี้ กรอบผลลัพธ์ที่คาดหวังจะเป็นรายละเอียด พื้นฐานสำหรับการติดตามผลความก้าวหน้าตามแผนงาน ซึ่งจะมี การกำหนดตัวชี้วัดและกรอบระยะเวลาการดำเนินงานเบื้องต้น ตารางดังกล่าวยังสามารถให้ข้อสนเทศสำหรับวัตถุประสงค์ในการ ระดมทรัพยากรโดยการจำแนกรายละเอียดเกี่ยวกับความจำเป็น ด้านทรัพยากรลงในเป้าหมายงบประมาณประจำปี/ต่อเนื่องหลายปี เป้าหมายดังกล่าวอาจรวมถึงการระบุจำนวนงบประมาณ ความเชี่ยวชาญ การฝึกอบรมหรือปัจจัยที่ต้องพิจารณาอื่น ๆ
38. กรอบผลลัพธ์ที่คาดหวังของแผนงานประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน 2025 จะต้องเป็นไปตามหลักการ ดังต่อไปนี้
38.1 วัตถุประสงค์ - ผลลัพธ์สุดท้ายที่เป็นที่ต้องการ หรือคาดหวังให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินการหรือ อย่างน้อยที่สุดเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการมาตรการหรือ กิจกรรมใด ๆ โดยแผนงานฉบับนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ อย่างชัดเจนแล้ว ดังนี้ (1) มีปฏิสัมพันธ์และเป็นประโยชน์ ต่อประชาชน (2) มีความครอบคลุม (3) มีความยั่งยืน (4) มีภูมิคุ้มกัน และ (5) มีพลวัต
38.2 ผลสัมฤทธิ์หลัก – ผลสัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ซึ่งคาดว่าจะมีหรือมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในสภาพหรือเงื่อนไข อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ตามหลักเหตุและผล ทั้งนี้ แผนงาน ฉบับนี้ประกอบด้วยผลสัมฤทธิ์หลักภายใต้วัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ ของคุณลักษณะนั้น ๆ
38.3 ตัวชี้วัดสำคัญ - ปัจจัยหรือตัวแปรเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและเชื่อถือได้ในการวัดผล ความสำเร็จในการสะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวเนื่องกับ การดำเนินมาตรการ หรือในการช่วยวัดผลการดำเนินการพัฒนา หรือมาตรการใด ๆ
38.4 มาตรการเชิงยุทธศาสตร์ – ถ้อยคำเกี่ยวกับ การดำเนินการให้มาซึ่งผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง ในผลสัมฤทธิ์หลัก ผลลัพธ์จะแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเชิงองค์กรและขีดความสามารถเชิงพฤติกรรมสำหรับเงื่อนไข การพัฒนาซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างการเสร็จสิ้นของผลผลิตและ ความสำเร็จของวัตถุประสงค์
39. การประเมินผลครึ่งแผน ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาระหว่าง ปี 2559 - 2563 และการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดแผน ซึ่งครอบคลุม ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2564 - 2568 จะต้องดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าและประเมินผลลัพธ์/ผลกระทบ ของการบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแผนงาน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025
|
I. INTRODUCTION 1. ASEAN’s socio-economic progress in these two and a half decades is heralded by remarkable human and sustainable development. At the heart of the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) is the commitment to lift the quality of life of its peoples through cooperative activities that are people-oriented, people-centred, environmentally friendly, and geared towards the promotion of sustainable development. The ASCC 2025 opens a world of opportunities to collectively deliver and fully realise human development, resiliency and sustainable development as we face new and emerging challenges together.
2. The ASCC’s strategy and planning mechanism, the ASCC Blueprint, was substantially implemented from 2009 to 2015 and was shown to be effective in developing and strengthening the coherence of policy frameworks and institutions to advance Human Development, Social Justice and Rights, Social Protection and Welfare, Environmental Sustainability, ASEAN Awareness, and Narrowing the Development Gap. More concretely, the ASCC has helped to heighten commitment in the form of policy and legal frameworks, such as the Declaration on Non-Communicable Diseases in ASEAN and the Declaration on Elimination of Violence Against Women and Elimination of Violence Against Children in ASEAN. The region has also shown collective will, for example, in offering quick, tangible action in humanitarian assistance through the ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance (AHA Centre). Underlying these initiatives are important development outcomes spurring social changes in the region: the proportion of people living on less than USD 1.25 per day fell from one in two persons to one in eight persons in the last two decades; the net enrolment rate for children of primary school age rose from 92 percent in 1999 to 94 percent in 2012; proportion of seats held by women in parliaments increased from 12 percent in 2000 to 18.5 percent in 2012; maternal mortality per 100,000 live births fell from 371.2 in 1990 to 103.7 in 2012; and the proportion of urban population living in slums decreased from 40 percent in 2000 to 31 percent in 2012.
3. Against this backdrop of intensified regional cooperation, the region has witnessed extreme poverty dramatically declining in a number of ASEAN Member States. The region also experienced an expanding middle class, improving health and education, a growing workforce serving regional and global labour needs, a rapidly rising urban population that generates new services, city infrastructure development, and evolving lifestyles. Nevertheless, more needs to be done to secure the benefits and results of progress. Tens of millions remain in extreme poverty. Intra-ASEAN migration is on the rise, from 1.5 million in 1990 to 6.5 million in 2013. Almost 50 percent of international migrants are women, who are increasingly migrating to seek employment opportunities. An estimated one in eight migrant workers is a young person between the ages of 15 and 24. Public health scourges of communicable and emerging infectious diseases like drug-resistant malaria and tuberculosis are still a significant presence and threat in a few ASEAN Member States. Millions are still deprived of full primary education due to the lack of access to schools and high drop-out rates. Hunger, as reflected in malnutrition, remains a problem in a significant share of the populace in a few ASEAN Member States. Similarly, a large percentage of the population in a number of ASEAN Member States are very vulnerable to poverty or sliding deeper into poverty from significant food price hikes, as the 2007-2008 global food price surge shows. Progress in social protection, justice, rights, inclusion and identity must also address extremism. A number of ASEAN Member States remain vulnerable to natural and humaninduced disasters, which tend to disproportionately and adversely affect the poor and low income populace. Pollution and resource degradation are also increasingly serious problems in a number of ASEAN Member States. ASEAN is also among the most highly vulnerable regions to climate change and will need to find solutions to adapt to climate change in building a resilient ASEAN.
4. Going beyond the current progress in the ASCC and the region in general, ASEAN’s experiences, aspirations and destiny will be closely intertwined and influenced by global developments and challenges. As the year 2015 draws to a close, the global community of nations through the United Nations is forging commitment with all its 193 member states to realise in the next fifteen years a comprehensive and far-reaching set of universal and transformative goals and targets for the 2030 Agenda for Sustainable Development. This will continue and build upon the gains of the Millennium Development Goals and rally broadbased support on addressing challenges to sustainable development such as poverty, rising inequalities within and among countries, violent extremism and natural resource depletion and climate change among many others
5. Thus, at this critical juncture for the ASEAN Community, cognisant of the challenges and opportunities regionally and globally, the ASCC 2025 vision is for an ASEAN Community that engages and benefits the peoples and is inclusive, sustainable, resilient, and dynamic. It aims to realise:
5.1. A committed, participative and sociallyresponsible community through an accountable and inclusive mechanism for the benefit of all ASEAN peoples, upheld by the principles of good governance;
5.2. An inclusive community that promotes high quality of life, equitable access to opportunities for all and promotes and protects human rights of women, children, youths, the elderly/older persons, persons with disabilities, migrant workers, and vulnerable and marginalised groups;
5.3. A sustainable community that promotes social development and environmental protection through effective mechanisms to meet the current and future needs of the peoples;
5.4. A resilient community with enhanced capacity and capability to adapt and respond to social and economic vulnerabilities, disasters, climate change as well as emerging threats, and challenges; and
5.5. A dynamic and harmonious community that is aware and proud of its identity, culture, and heritage with the strengthened ability to innovate and proactively contribute to the global community.
II. CHARACTERISTICS AND ELEMENTS OF ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY BLUEPRINT 2025 A. ENGAGES AND BENEFITS THE PEOPLE
6. The ASEAN Community shall be characterised as one that engages and benefits its peoples, upheld by the principles of good governance.
7. It focuses on multi-sectoral and multistakeholder engagements, including Dialogue and Development Partners, sub-regional organisations, academia, local governments in provinces, townships, municipalities and cities, private-public partnerships, community engagement, tripartite engagement with the labour sector, social enterprises, government organisation, non-governmental organisation, civil society organisation (GO-NGO/CSO) engagement, corporate social responsibility (CSR), inter-faith and inter-cultural dialogue, with emphasis on raising and sustaining awareness and caring societies of ASEAN, as well as deepening the sense of ASEAN identity.
8. The objective is to enhance commitment, participation and social responsibility of ASEAN peoples through an accountable and engaging mechanism for the benefit of all, towards a community of engaged and empowered ASEAN peoples who are provided the platforms to participate in ASEAN processes as well as to enjoy the benefits from the various initiatives.
9. The key result areas and corresponding strategic measures are as follows:
A.1. Engaged Stakeholders in ASEAN processes Strategic Measures
i. Institutionalise ASEAN policies on relevant stakeholders’ consultations and engagement in the work of ASEAN Organs and Bodies including policy making initiatives, integration of impact assessment into policy development, programme development, implementation and monitoring, among others; and
ii. Promote partnership frameworks and guidelines in engaging the stakeholders for the effective implementation of ASEAN initiatives and promotion of public awareness of ASCC programmes and accomplishments.
A.2. Empowered People and Strengthened Institutions Strategic Measures
i. Increase competencies and resilience of relevant stakeholders with advanced technological and managerial skills so as to improve institutional capacity to address current challenges and emerging trends, such as disasters, pandemics and climate change;
ii. Harness the use of information and communication technologies across different age groups as a means to connect with the regional and global community;
iii. Promote participation of local governments/ authorities, provinces, townships, municipalities and cities through the central government in the development of ASEAN capacity building programmes that benefit their respective communities;
iv. Promote non-discriminatory laws, policies and practices by developing effective, responsive, accountable and transparent institutions at all levels;
v. Strengthen civil service through effective capacity building, human resource development and collaboration programmes among ASEAN Member States;
vi. Promote ASEAN awareness among government officials, students, children, youths and all stakeholders as part of building ASEAN identity; and vii. Work towards achieving gender equality and the empowerment of all women and girls.
B. INCLUSIVE
10. In realising the overarching goals of an ASEAN Community 2025, the ASCC is envisioned to move towards a more inclusive community. This would entail the promotion of equitable access to opportunities for ASEAN peoples, and the promotion and protection of human rights of women, children, youths, the elderly/ older persons, persons with disabilities, migrant workers, ethnic minority groups, and vulnerable and marginalised groups, throughout their life cycle, guided by a life-cycle approach and adhering to rights-based principles in the promotion of ASEAN policies and programmes in the ASCC Pillar.
11. Complementing the inclusive growth agenda of the ASEAN Economic Community (AEC), this Characteristic focuses on addressing the concerns of all peoples of ASEAN on matters related to welfare, social protection, women empowerment, gender equality, promotion and protection of human rights, equitable access to opportunities, poverty eradication, health, decent work, education and information.
12. The objective of this Characteristic is an inclusive ASEAN Community that promotes an improved quality of life, addresses barriers to the enjoyment of equitable access to opportunities by ASEAN peoples, and that promotes and protects human rights.
13. The key result areas and corresponding strategic measures are as follows:
B.1. Reducing Barriers
Strategic Measures
i. Reduce inequality and promote equitable access to social protection and enjoyment of human rights by all and participation in societies, such as developing and implementing frameworks, guidelines and mechanisms for elimination of all forms of discrimination, violence, exploitation, abuse and neglect;
ii. Provide guidelines for quality care and support for women, children, youths, the elderly/older persons, persons with disabilities, migrant workers, ethnic minority groups, and vulnerable and marginalized groups;
iii. Provide regional mechanisms to promote access to information and communication technologies for all;
iv. Promote regional cooperation initiatives to support ASEAN Member States in implementing the Bali Declaration on the Enhancement of the Role and Participation of the Persons with Disabilities in ASEAN Community and the ASEAN Decade of Persons with Disabilities (2011-2020); and
v. Promote regional cooperation initiatives to support ASEAN Member States to be well prepared for ageing society.
B.2. Equitable Access for All
Strategic Measures
i. Enhance regional platforms to promote equitable opportunities, participation and effective engagement of women, children, youths, the elderly/older persons, persons with disabilities, people living in remote and border areas, and vulnerable groups in the development and implementation of ASEAN policies and programmes;
ii. Develop regional strategies and enhance institutional capacity for gender mainstreaming in ASEAN policies, programmes and budgets across pillars and sectors;
iii. Enhance effectiveness of the implementation of strategies and programmes under ASCC and promote their harmonisation with those of ASEAN Political-Security Community (APSC) and AEC, particularly in the areas of social protection, universal health coverage, food safety, poverty eradication, employment and decent work, and trafficking in persons;
iv. Provide mechanisms and enhance institutional capacity to promote greater access to basic social services for all, such as health services and education including early childhood education and vocational education, skills training, and promotion of skills recognition;
v. Support ASEAN Member States’ initiatives in strengthening national gender and age-disaggregated databases and analyses, including on poverty and equity, and establish a reliable regional database for key sectors to support ASEAN policies and programmes;
vi. Promote human capital development, economic self-reliance and sustainable livelihood, especially among the poor, through access to education, employment opportunities, entrepreneurship and microfinance;
vii. Promote continuous efforts toward multidimensional poverty eradication through multisectoral, multi-stakeholder and community-based approaches;
viii. Build an enabling environment to provide the unemployed, poor and other marginalised groups equitable access to resources, opportunities, and safeguard measures to prevent them from falling under the negative influence of violent extremism and threats;
ix. Ensure inclusive, participatory and representative decision making at all levels with special attention to the needs of those in disadvantaged situations, including ethnic minority groups, children, youths, women, persons with disabilities, and the elderly/older persons;
x. Promote inclusive growth through appropriate measures at the national level to ensure that the poor and vulnerable have equitable access to economic and other opportunities;
xi. Promote equitable opportunities to quality education and access to information with priority given to the advancement of universal access to education;
xii. Promote a community that is healthy, caring, sustainable and productive, and one that practices healthy lifestyle resilient to health threats and has universal access to healthcare; and
xiii. Promote increased accessibility for persons with disabilities and other vulnerable groups in keeping with the universal design facilities.
B.3. Promotion and Protection of Human Rights
Strategic Measures
i. Promote regional inter-sectoral mechanisms towards a holistic and multi-disciplinary approach in enhancing quality care, well-being, gender equality, social justice, human rights and fundamental freedoms, especially the vulnerable groups, in response to all hazards and emerging social and economic risks/threats;
ii. Promote sustainable financing mechanism for social protection, particularly universal health coverage, early childhood care and development, financial risk protection for disaster risk reduction and climate change adaptation, and social pension, through strategic partnerships with private sector and other relevant stakeholders;
iii. Provide regional platforms for dialogue and support initiatives to address issues of traditional practices that impinge upon the fulfilment of rights;
iv. Support accelerated implementation among ASEAN Member States to extend coverage, accessibility, availability, comprehensiveness, quality, equality, affordability and sustainability of social services and social protection;
v. Enhance the effective implementation of relevant ASEAN declarations and instruments related to human rights;
vi. Enhance regional initiatives to promote and protect the rights of women and children as well as persons with disabilities especially through the work of the ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children (ACWC);
vii. Enhance regional initiatives and stakeholder participation to promote the elimination of all forms of discrimination–institutionalised or otherwise–exploitation, trafficking, harmful practices, and violence and abuse against children, women, persons with disabilities, youths, migrant workers, the elderly/older persons, and victims/ survivors of trafficking in persons, ethnic minority groups, and vulnerable and marginalised groups;
viii. Encourage intergenerational relationships, families and communities in promoting and protecting the rights of the elderly/older persons, and providing quality care and protection of the elderly/older persons, in accordance with the Brunei Darussalam Declaration on Strengthening Family Institution: Caring for the Elderly; and
ix. Enhance regional initiatives in accordance with the ASEAN Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers to improve the protection and promotion of the rights of workers and migrant workers.
C. SUSTAINABLE
14. In moving towards the realisation of the overarching goals of an ASEAN Community 2025, the ASCC envisions the achievement of a sustainable environment in the face of social changes and economic development.
15. The objective of this Characteristic is to promote and ensure balanced social development and sustainable environment that meet the needs of the peoples at all times. The aim is to strive for an ASEAN Community with equitable access to sustainable environment that can support its social development and its capacity to work towards sustainable development.
16. The key result areas and corresponding strategic measures are as follows:
C.1. Conservation and Sustainable Management of Biodiversity and Natural Resources Strategic Measures
i. Strengthen regional cooperation to protect, restore and promote sustainable use of terrestrial ecosystems resources, combat desertification, halt biodiversity loss, and halt and reverse land degradation;
ii. Strengthen regional cooperation on sustainable forest management in the context of forest fire prevention and control, including through the implementation of the ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution, to effectively address transboundary haze pollution;
iii. Promote cooperation for the protection, restoration and sustainable use of coastal and marine environment, respond and deal with the risk of pollution and threats to marine ecosystem and coastal environment, in particular in respect of ecologically sensitive areas;
iv. Adopt good management practices and strengthen policies to address the impact of development projects on coastal and international waters and transboundary environmental issues, including pollution, illegal movement and disposal of hazardous substances and waste, and in doing so, utilise existing regional and international institutions and agreements;
v. Enhance policy and capacity development and best practices to conserve, develop and sustainably manage marine, wetlands, peatlands, biodiversity, and land and water resources;
vi. Promote capacity building in a continuous effort to have sustainable management of ecosystems and natural resources;
vii. Promote cooperation on environmental management towards sustainable use of ecosystems and natural resources through environmental education, community engagement and public outreach;
viii. Strengthen global and regional partnerships and support the implementation of relevant international agreements and frameworks;
ix. Promote the role of the ASEAN Centre for Biodiversity as the centre of excellence in conservation and sustainable use of biodiversity; and
x. Support the full implementation of the Strategic Plan for Biodiversity 2011-2020 and the Aichi Targets.
C.2. Environmentally Sustainable Cities Strategic Measures
i. Enhance participatory and integrated approaches in urban planning and management for sustainable urbanisation towards a clean and green ASEAN;
ii. Strengthen the capacity of national and local institutions to implement strategies and programmes towards liveable cities;
iii. Promote coordination among relevant sectors to provide access to clean land, green public space, clean air, clean and safe water, and sanitation;
iv. Promote cities that are child-, youths-, the elderly/older persons-, and persons with disabilitiesfriendly through enhanced coordination with relevant sectors to provide sustainable and accessible infrastructure systems;
v. Strengthen positive economic, social and environmental linkages among urban, peri-urban and rural areas; and
vi. Strengthen policies and strategies for the effective impact management of population growth and migration on cities.
C.3. Sustainable Climate Strategic Measures
i. Strengthen human and institutional capacity in implementing climate change adaptation and mitigation, especially on vulnerable and marginalised communities;
ii. Facilitate the development of comprehensive and coherent responses to climate change challenges, such as but not limited to multi-stakeholder and multisectoral approaches;
iii. Leverage on private sector and community to have access to new and innovative financing mechanisms to address climate change;
iv. Strengthen the capacity of sectoral institutions and local governments in conducting Greenhouse Gas (GHG) inventory, and vulnerability assessments and adaptation needs;
v. Strengthen the effort of government, private sector and community in reducing GHG emission from main activities of development;
vi. Mainstream climate change risk management and GHG emission reduction on sectoral planning; and
vii. Strengthen global partnerships and support the implementation of relevant international agreements and frameworks, e.g. the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC).
C.4. Sustainable Consumption and Production Strategic Measures
i. Strengthen public-private partnerships to promote the adoption of environmentally-sound technologies for maximising resource efficiency;
ii. Promote environmental education (including eco-school practice), awareness, and capacity to adopt sustainable consumption and green lifestyle at all levels;
iii. Enhance capacity of relevant stakeholders to implement sound waste management and energy efficiency; and
iv. Promote the integration of Sustainable Consumption and Production strategy and best practices into national and regional policies or as part of CSR activities.
D. RESILIENT
17. Integrated, comprehensive, and inclusive approaches are necessary to build resilient communities in the ASEAN region post-2015. Resilience is an essential aspect of human security and sustainable environment which is addressed by integrating policies, capacity and institution-building, stakeholder partnerships in disaster risk reduction, humanitarian assistance, and community empowerment, among others. Resilience has to be inclusive, non-discriminatory and incorporates market and technology-based policies, including contributions from the private sector as well as the scientific and academic communities. Through the Declaration on Institutionalising the Resilience of ASEAN and its Communities and Peoples to Disasters and Climate Change adopted during the 26th ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia on 27 April 2015, the Leaders committed “to forge a more resilient future by reducing existing disaster and climate-related risks, preventing the generation of new risks and adapting to a changing climate through the implementation of economic, social, cultural, physical, and environmental measures which address exposure and vulnerability, and thus strengthen resilience.”
18. The objective of this Characteristic is to achieve an enhanced capacity to collectively respond and adapt to current challenges and emerging threats. This recognises that socio-cultural resilience has cross-pillar linkages within the ASEAN Community as an effective force for moderation for the common good, and one that is prepared for natural and human-induced disasters, and socioeconomic crises, while fully embracing the principles of comprehensive security.
19. The key result areas and corresponding strategic measures are as follows:
D.1. A Disaster Resilient ASEAN that is able to Anticipate, Respond, Cope, Adapt, and Build Back Better, Smarter, and Faster Strategic Measures
i. Enhance regional mechanisms and capacities to enable ASEAN to respond together to disasters within and outside the region;
ii. Promote regional standards, including methodologies and tools to assess, record, calculate the disaster losses and damages, and share non-sensitive data and create common information system, to enhance interoperability, ensure unity of action, and strengthen resilience;
iii. Promote local communities’ resilience by integrating principles of resilience in risk reduction, preparedness, response, recovery, and rehabilitation measures;
iv. Promote policy coherence and interlinkages, and synergise initiatives on disaster risk reduction, climate change adaptation and mitigation, humanitarian actions and sustainable development;
v. Institutionalise resilience by strengthening institutional and adaptive capacities to reduce existing risks and prevent future risks;
vi. Harness local wisdom and traditional knowledge to foster a culture of resilience; and
vii. Enhance capacity, technology and community resilience to the impact of unexploded ordnance on the livelihood of people, especially the vulnerable groups in rural areas.
D.4. Strengthened Social Protection for Women, Children, Youths, the Elderly/Older Persons, Persons with Disabilities, Ethnic Minority Groups, Migrant Workers, Vulnerable and Marginalised Groups, and People Living in At-risk Areas, including People Living in Remote and Border Areas and Climate Sensitive Areas, to Reduce Vulnerabilities in Times of Climate Change-related Crises, Disasters and other Environmental Changes
Strategic Measures
i. Encourage risk and vulnerability assessments and other scientific and evidence-based measures for policies and plans to ensure targeted response measures; and
ii. Establish platforms to empower people living in at-risk areas to become resilient by reducing their exposure and vulnerability to climate-related extreme events and other economic, social and environmental shocks and disasters.
D.5. Enhanced and Optimised Financing Systems, Food, Water, Energy Availability, and other Social Safety Nets in Times of Crises by making Resources more Available, Accessible, Affordable and Sustainable Strategic Measures
i. Enhance cross-sectoral and cross-pillar coordination to ensure food adequacy and accessibility at the household level, especially vulnerable households, and ability to cope with disaster, food price shocks and scarcity by developing adaptive mechanisms and strategies;
ii. Enhance cross-sectoral and cross-pillar coordination to ensure availability and accessibility of affordable energy services at the household level and promote utilisation of renewable energy and green technologies;
iii. Enhance cross-sectoral and cross-pillar coordination to ensure availability of clean water, sanitation facilities and electricity to households in times of crises;
iv. Enhance the targeting of poor, vulnerable and marginalised groups in times of crises; and
v. Explore the possibility of establishing financial and insurance mechanisms and strategies for disaster risk reduction and climate change adaptation.
D.6. Endeavour towards a “Drug-Free” ASEAN Strategic Measures
i. Support the coordination with relevant stakeholders in policy formulation, develop and implement preventive programmes for different target groups, adopt and utilise effective treatment and rehabilitation and after-care programmes, and research on drug abuse problems; and
ii. Enhance community awareness and social responsibility on the ill-effects of dangerous drugs through community engagement, advocacy and other relevant activities.
E. DYNAMIC
20. The objective of this Characteristic is to strengthen the ability to continuously innovate and be a proactive member of the global community. It aims to provide an enabling environment with policies and institutions that engender people and firms to be more open and adaptive, creative, innovative, and entrepreneurial.
21. The key result areas and corresponding strategic measures are as follows: E.1. Towards an Open and Adaptive ASEAN Strategic Measures
i. Encourage freedom of universal access to information and communication technology in accordance with national legislations;
ii. Promote a culture of tolerance, understanding and mutual respect for religions and interfaith dialogue;
iii. Showcase ASEAN to the outside world using various approaches e.g. ASEAN arts, film festivals and heritage programmes;
iv. Project a common ASEAN voice in global socio-cultural fora and negotiations, where appropriate;
v. Promote greater people-to-people interaction and mobility within and outside ASEAN;
vi. Promote cooperation in sports and develop comprehensive and inclusive sports programmes to encourage healthy and active lifestyles;
vii. Strengthen capacity and capability of both the ASEAN civil service and public sectors to respond to emerging challenges and the needs of the peoples through efficient, effective, transparent and accountable public services, participatory and innovative approaches, and collaboration;
viii. Provide opportunities for relevant stakeholders for knowledge sharing, which include exchange of best practices and studies;
ix. E n c o u r a g e v o l u n t e e r i sm amo n g ASEAN Member States to strengthen the ASEAN Community;
x. Project ASEAN’s visibility through comprehensive, multi-stakeholder branding efforts, which are represented by common ASEAN identifiers, such as ASEAN Day, ASEAN
xi. Promote measures to ensure a caring society, social harmony and values of humanity, and spirit of community.
E.2. Towards a Creative, Innovative and Responsive ASEAN Strategic Measures
i. Enhance the competitiveness of ASEAN human resources through the promotion of life-long learning, pathways, equivalencies and skills development as well as the use of information and communication technologies across age groups;
ii. Promote an innovative ASEAN approach to higher education, incorporating academics, community service, regional placement, and entrepreneurship incubation and support;
iii. Encourage regional cooperation in the areas of education, training and research, and strengthen ASEAN’s role in regional and global research network by promoting initiatives and providing incentives and support for research and development, including research publications;
iv. Promote the free flow of ideas, knowledge, expertise, and skills to inject dynamism within the region;
v. Strengthen curricula and system of education in science, technology and creative disciplines;
vi. Encourage and support creative industry and pursuits, such as film, music, and animation;
vii. Promote ASEAN as a centre for human resource development and training;
viii. Strengthen regional and global cooperation in enhancing the quality and competitiveness of higher education institutions;
ix. Encourage the government, private sector and community to develop a system of continuous training and re-training to support lifelong learning and workforce development; and x. Promote registration of intellectual property rights (IPR), and strengthen its cooperation and implementation in ASEAN in areas such as food safety, medicines, traditional cultural assets and biodiversitybased products. E.3. Engender a Culture of Entrepreneurship in ASEAN
Strategic Measures
i. Strengthen the supportive environment for socially and environmentally responsible entrepreneurship, such as mentoring, providing seed money, venture and crowd funding, and marketing support;
ii. Promote and nurture creative and inclusive social entrepreneurship for youths, persons with disabilities, women and vulnerable and marginalised groups; and
iii. Encourage institutional and technical innovations in the provision of social services and health care.
III. IMPLEMENTATION AND REVIEW A. IMPLEMENTATION MECHANISM
22. The ASCC Blueprint 2025 is guided by the ASEAN Charter as well as other key ASEAN instruments and documents, which provide the principles and frameworks for ASEAN socio-cultural cooperation and their implementation. Such implementation is also guided by relevant domestic laws, regulations and policies.
A.1. Institutional Mechanism 23. The sectoral bodies under the ASCC shall be responsible for operationalizing the strategic measures relevant to their mandate by translating them into specific action lines or programmes, projects and activities as part of their respective sectoral work plans. For strategic measures that are cross-cutting and require collaboration with sectoral bodies from the APSC and AEC Pillars, an institutionalised cross-pillar and cross-sectoral coordination strategy shall be employed where the lead sectoral bodies in collaboration with cooperating bodies will develop their respective sectoral work plans, anchored on the corresponding strategic measures relevant to their sectors and based on the SMART (Specific, Measurable, Achievable, Realistic, and Time-bound) approach to ensure realisation.
24. The ASCC Council is responsible for overseeing the implementation of the ASCC Blueprint 2025 and with the support of the Senior Officials Committee for the ASCC (SOCA) and the sectoral bodies, shall be the principal body responsible for coordinating matters that require cross-sectoral and cross pillar collaboration. The ASEAN Secretariat shall continue to convene and enhance the Senior Officials Coordinating Conference on the ASEAN Socio-Cultural Community (SOC-COM) mechanism to provide a platform for road participation and engagement of sectoral bodies within ASCC and from other pillars (through their chairpersons/vice-chairs), the Committee of Permanent Representatives to ASEAN (CPR), entities associated with ASEAN, and other relevant stakeholders, including sub-regional organisations.
25. The ASCC Council and the sectoral bodies under its purview shall promote multi-stakeholder engagement to share expertise and resources, transfer of knowledge and technology, monitor implementation, and act as partners in carrying out regional cooperation initiatives of mutual interest. Participative monitoring review mechanisms shall be encouraged.
26. Dialogue partners and regional entities associated with the ASEAN shall be encouraged to support the implementation of the ASCC Blueprint 2025 through mutually-beneficial cooperation frameworks where the programmes, projects and activities are in line with the vision, objectives and strategic measures in the ASCC Blueprint 2025.
A.2. Implementation Strategies 27. The implementation of the ASCC Blueprint 2025 shall employ strategies and approaches that will maximise the role of ASEAN Organs and Bodies, encourage stakeholder engagement and enhance capacity building mechanisms in disseminating relevant knowledge to the peoples of ASEAN. It shall promote the provision of platforms for relevant stakeholders and groups to fully participate in programmes, meetings and other initiatives of ASEAN Organs and Bodies, as well as the opportunities for partnerships and collaborations. It shall also promote public private partnerships (PPP), social entrepreneurship and CSR for inclusive and sustainable socio-cultural development. It will likewise develop capacity-building mechanisms for relevant stakeholders in the ASCC who are able to cascade the relevant knowledge to the peoples of ASEAN. Furthermore, the ASCC will intensify strategies, work programmes and initiatives of sectoral bodies under the ASCC Pillar to narrow the development gap.
A.3. Strengthened ASEAN Institutional Capacity and Presence 28. The ASEAN Secretariat shall also enhance its capacities and responsiveness to support the work of the ASCC and in collaboration with other sectors, pillars, and other stakeholders. Cognisant of the recommendations by the High Level Task Force on Strengthening the ASEAN Secretariat and Reviewing the ASEAN Organs, the ASCC Council and sectoral bodies under its purview, with the support of the ASEAN Secretariat shall take concrete steps to carry out the recommendations towards an enhanced ASEAN institutional capacity and presence.
29. National Focal Points of Sectoral Bodies shall be encouraged to strengthen their coordination with their National Secretariats and ASCC National Focal Points in ensuring timely sharing of information, effective and efficient consultation with capitals and in promoting public awareness on the work and achievements of the ASCC.
B. RESOURCES 30. In keeping with the principles of ownership and enhancing ASEAN Centrality and in order to support the implementation of strategic measures in the ASCC Blueprint 2025, ASEAN Member States are encouraged to provide resources to support, when appropriate, the projects and work of the sectoral bodies.
31. Indicative multi-year and annual budget is necessary to support the implementation of the ASCC Blueprint 2025 to foster the predictability of availability of funds.
32. Sectoral bodies have to ensure financial sustainability if they plan to establish centres to support the implementation of the ASCC Blueprint 2025 or their sectoral work plans.
33. To ensure sustainability of projects and established mechanisms, resources in the form of funds, technical expertise and knowledge assets from Dialogue Partners, International Organisations and other partners, will be mobilised by the ASEAN Member States and respective ASEAN Organs and Bodies. Resource mobilisation strategies would also garner the support of philanthropists from among the business sector and individuals for the implementation of the ASCC Blueprint 2025.
C. COMMUNICATION 34. In line with the ASEAN Communications Master Plan (ACMP), the ASCC in close collaboration with relevant ASEAN Organs and Bodies and stakeholders will develop necessary platforms, mechanisms, strategies and initiatives to promote awareness and appreciation of the ASCC Blueprint 2025 in order to achieve greater communication impact.
D. REVIEW 35. The review and assessment of ASCC Blueprint 2025 implementation shall utilise the existing Monitoring and Evaluation (M&E) system that consists of implementation-focused monitoring system and the ASCC Scorecard. Building on the current ASCC Scorecard, the sectoral bodies will revisit their sectoral indicators to ensure that other dimensions of the ASCC Blueprint 2025 will be considered in enhancing the current scorecard and its indicators, based on accepted regional results-based management standards. An M&E Work Plan will be drawn up that consists of internal monitoring by the respective sectoral bodies and evaluation that may engage other stakeholders.
36. The M&E system shall build upon the ASCC Scorecard used in assessing the progress of implementation of the ASCC Blueprint 2009-2015 and consider the lessons learned and recommendations from the ASCC Scorecard Assessment Results. This shall be reflected in a results framework that will be developed to monitor and assess progress of the ASCC Blueprint 2025. Building on the ASCC Scorecard, the sectoral bodies will revisit their sectoral indicators to ensure that other dimensions of the new ASCC Blueprint 2025 will be considered in enhancing the current scorecard and its indicators.
37. A Results Framework shall form part of this M&E system where higher-order or outcome-based objectives, key result areas (KRA) and indicators are compiled, synthesised and aligned with the Characteristics and Elements in this Blueprint as shown in the Results Framework in Appendix 1. The Results Framework maps and clusters such objectives, KRAs, and indicators in terms of their relation to the Blueprint components. In addition, the Results Framework provides the basis for monitoring Blueprint implementation by establishing the provisional targets and timelines. The matrix also provides information for resource mobilisation purposes by breaking down resource requirements into Annual/Multi-Year funding targets. Such targets may be expressed in funds, expertise, training or other inputs.
38. The Results Framework of the ASCC Blueprint 2025 shall be guided by the following key concepts:
38.1. Objectives: A specific end result desired or expected to occur as a consequence, at least in part, of an intervention or activity. The blueprint clearly spells out the objectives under each characteristic of (1) Engages and Benefits the Peoples; (2) Inclusive; (3) Sustainable; (4) Resilient and (5) Dynamic;
38.2. Key Result Areas: Areas corresponding to the objective where results or changes are expected to occur. Results are changes in a state or condition that derive from a cause-and-effect relationship. The blueprint has specified the key result areas under each objective of the characteristic;
38.3. Key Performance Indicators: Quantitative or qualitative factor or variable that provides a simple and reliable means to measure achievement, to reflect the changes connected to an intervention, or to help assess the performance of a development actor or intervention; and
38.4. Strategic Measures: Outcome-oriented action statements to deliver desired changes in the KRAs. Outcomes represent changes in the institutional and behavioural capacities for development conditions that occur between the completion of outputs and the achievement of the objectives.
39. A Mid-Term Evaluation, covering the period of 2016-2020, and an End-of-Term Evaluation, covering the period of 2021-2025, will be conducted to monitor progress and evaluate outcomes/impacts of the achievement of the objectives of the ASCC Blueprint 2025.
|