JUser: :_load: Unable to load user with ID: 758
JUser: :_load: Unable to load user with ID: 62
![]() |
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Republic of South Africa |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา |
สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ Arab Republic of Egypt |
2. ระบบการศึกษา
3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
|
![]() |
รัฐเอริเทรีย State of Eritrea |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา |
![]() |
สาธารณรัฐแองโกลา Republic of Angola |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน Republic of South Sudan |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐรวันดา Republic of Rwanda |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐเบนิน Republic of Benin |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐบอตสวานา Republic of Botswana |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
บูร์กินาฟาโซ Burkina Faso |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐบุรุนดี Republic of Burundi |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา |
![]() |
สาธารณรัฐแคเมอรูน Republic of Cameroon |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา |
![]() |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย Federal Democratic Republic of Ethiopia |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐคองโก
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐเคนยา Republic of Kenya |
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐเคปเวิร์ด
Republic of Cape Verde
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
Central African Republic
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
|
||
![]() |
สาธารณรัฐชาด
Republic of Chad
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สหภาพคอโมโรส
Union of the Comoros
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
Democratic Republic of the Congo
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐจิบูตี
Republic of Djibouti
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี
Republic of Equatorial Guinea
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐกาบอง
Gabonese Republic
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐกานา
Republic of Ghana
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐกินี
Republic of Guinea
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐกินีบิสเซา
The Republic of Guinea-Bissau
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา |
![]() |
ราชอาณาจักรเลโซโท
Kingdom of Lesotho
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐไลบีเรีย
Republic of Liberia
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
The Great Socialist Peoples Libyan Arab Jamahiriya
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา |
![]() |
สาธารณรัฐมาดากัสการ์
Republic of Madagascar
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา |
![]() |
สาธารณรัฐมาลาวี
Republic of Malawi
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐมาลี
Republic of Mali
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย
Islamic Republic of Mauritania
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐมอริเชียส
Republic of Mauritius
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐโมซัมบิก
Republic of Mozambique
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐนามิเบีย
Republic of Namibia
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐไนเจอร์
Republic of Niger
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย
Federal Republic of Nigeria
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยเซาตูเมและปรินซิปี
Democratic Republic of Saotome and Principe
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐเซเนกัล
The Republic of Senegal
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐเซเชลส์
Republic of Seychelles
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน
Republic of Sierra Leone
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐโซมาเลีย
Republic of Somalia
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐซูดาน
Republic of the Sudan
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา |
![]() |
ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์
Kingdom of Swaziland
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย
United Republic of Tanzania
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐโตโก
Togolese Republic
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
ตูนิเซีย
Republic of Tunisia
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐยูกันดา
Republic of Uganda
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐแซมเบีย
Republic of Zambia
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
![]() |
สาธารณรัฐซิมบับเว
Republic of Zimbabwe
|
2. ระบบการศึกษา 3. ความร่วมมือด้านการศึกษา
|
ระบบการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
1. ระดับประถมศึกษา (Primary School) เกรด 1 - 6 อายุ 4-15 ปี แบ่งออกเป็น
- ปฐมวัน เวลาเรียน 2 ปี รับเด็ก 4- 5 ปี
- ประถมศึกษา เกรด 1 - 6 ใช้ระยะเวลาศึกษา 6 ปี อายุ 6-11 ปี เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาคบังคับ
2. ระดับมัธยมศึกษา เกรด 7 - 12 อายุ 11 - 17 ปี ใช้เวลาศึกษา 6 ปี แบ่งเป็น
- มัธยมศึกษาตอนต้น (Preparatory School) ใช้เวลาศึกษา 3 ปี อายุ 11-14 ปี เพื่อเลือกเรียนในโรงเรียนของรัฐหรือศาสนาหรือเอกชน
- มัธยมศึกษาตอนปลาย(General Secondary School) ใช้เวลาศึกษา 3 ปี อายุ 15-17 ปี หรือเลือกเรียนด้านอาชีวศึกษา
3. ระดับอาชีวศึกษา แบ่งเป็น
- Technical Secondary (for Technicians) ใช้เวลาศึกษา 3 ปี อายุ 15-17 ปี (ต่อจากมัธยมศึกษาตอนต้น)
- Technical (for High Level Technicians) ใช้เวลาศึกษา 5 ปี อายุ 14-19 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนต้น (เมื่อจบจะได้รับ Advanced Technical Diploma)
4. ระดับอุดมศึกษา
- ระดับปริญญาตรี (Baccalaureos Degree) ใช้เวลาศึกษา 3-5 ปี
- ระดับปริญญาโท (Magistr) ใช้เวลาศึกษา 2 ปี ต่อจากปริญญาตรี
- ระดับปริญญาเอก (Doktora) ใช้เวลาศึกษาอย่างน้อย 2 ปี
--------------------------
ความร่วมมือกับสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
ข้อมูลพื้นฐาน
1. ชื่อทางการ สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arub Republic of Egypt)
2. ประชากร 70,712,245 (กรกฎาคม 2545)
3. ภาษา ใช้ภาษาอารบิกเป็นภาษาราชการ
4. ศาสนา มุสลิม (สุหนี่) ร้อยละ 94
5. เมืองสำคัญ กรุงไคโรเป็นเมืองหลวง ประชากร 9.6 ล้านคน นอกจากนี้มีเมืองใหญ่ได้แก่
เมืองอเล็กซานเดรีย
6. รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี
7. รายได้ประชาชาติต่อหัว 3,700 เหรียญสหรัฐ (ปี 2544)
8. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 258 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2544)
9. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2497
10. มูลค่าการค้าไทย-อียิปต์ 151.5 ล้านเหรียญ (ปี 2544)
11. สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ใบยาสูบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง
12. สินค้านำเข้าจากอียิปต์ ได้แก่ เส้นใยในการทอ น้ำมันหล่อลื่น หนังดิบ หนังฟอก เครื่องตกแต่งบ้าน หมึกพิมพ์ และอุปกรณ์เกี่ยวกับการพิมพ์ เครื่องสำอาง แก้ว และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ความร่วมมือด้านการศึกษา
สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือที่ให้ความร่วมมือด้านการศึกษากับประเทศไทยโดยเฉพาะทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยเพื่อศึกษาวิชาศาสนาอิสลาม และภาษาอาหรับในประเทศอียิปต์เป็นจำนวนมาก (จำนวนมากกว่า 2,000 คน) ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งศูนย์
การศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญขึ้นที่อียิปต์ตั้งแต่ปี 2538 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่นักเรียน
เหล่านี้เพื่อสามารถนำไปใช้ศึกษาต่อในในระดับมหาวิทยาลัยของอียิปต์ หรือเพิ่มคุณวุฒิในการทำงานได้
ในปี 2547 รัฐบาลอียิปต์ได้เสนอความร่วมมือในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอิสลามในเขตพื้นที่ภาคใต้ของไทย โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยอัลอัซซาร์แห่งอียิปต์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุธรรม แสงปทุม) ได้นำคณะผู้แทนเดินทางไปหารือรายละเอียดกับรัฐบาลอิยิปต์ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดตั้งวิทยาลัยอิสลามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ในการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยประจำประเทศสมาชิกองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference-OIC) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามเน้นการดำเนินงานที่ช่วยให้นักเรียน/นักศึกษามุสลิมของไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อในกลุ่มประเทศมุสลิมเกิดความรู้สึกอบอุ่นและมั่นใจในการสนับสนุนของหน่วยงานราชการไทย เนื่องจากนักเรียน/นักศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากองค์กรมุสลิม หรือครอบครัวต้องการให้ศึกษาต่อตามแนวทางของศาสนาอิสลามในประเทศตะวันออกกลาง จึงเดินทางไปศึกษาในประเทศเหล่านี้ โดยมิได้ผ่านการประสานงานของหน่วยงานราชการ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดเตรียมส่งคณะผู้แทนเดินทางไปเยี่ยมเยือนนักเรียน/นักศึกษาไทยในประเทศตะวันออกกลางที่มีผู้เรียนอยู่มาก ได้แก่ อียิปต์และจอร์แดน ในเดือนมิถุนายน 2550 สถานะล่าสุดยังไม่ได้จัดส่งคณะผู้แทนไป เนื่องจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทยได้เตรียมส่งคณะผู้แทนเดินทางไปเยือนอียิปต์เช่นกัน แต่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร แจ้งว่าช่วงเวลาดังกล่าวสถานศึกษาของอียิปต์อยู่ระหว่างการสอบ ไม่สะดวกที่จะให้การต้อนรับ
รายละเอียดเกี่ยวกับทุนรัฐบาลอียิปต์
รัฐบาลอียิปต์ได้เสนอให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปี 2546/2547 แก่นักเรียนไทย จำนวน 2 ทุน โดยขอให้ไทยเสนอชื่อภายในวันที่ 1 มิ.ย.2546 อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประกาศทุนเป็นช่วงปิดภาคการศึกษา ทำให้กระบวนการคัดเลือกผู้สมัครเกิดความล่าช้า โดยกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอชื่อผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2546 คือ
1. น.ส.อุศนา สุขประเสริฐ โรงเรียนบางกอกวิทยา (มูลนิธิ)
2. นายฟะห์มี อาแว โรงเรียนอิสลาฮียะห์ จ.ยะลา
ผลการคัดเลือกสุดท้ายไม่ได้รับแจ้งจากฝ่ายอียิปต์
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547 กระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่ารัฐบาลอียิปต์ได้เสนอให้ทุนระดับอุดมศึกษาประจำปี 2547/2548 แก่นักเรียนไทย 2 ทุน โดยขอให้เสนอชื่อภายในวันที่ 15 มีนาคม 2547 ซึ่งในเรื่องนี้กระทรวงศึกษาธิการแจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการคัดเลือกได้ทันตามกำหนด
ปี 2548-2549 ไม่มีข้อมูลการให้ทุนรัฐบาลอียิปต์ แต่มีเรื่องที่รัฐบาลอียิปต์เสนอให้ความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยอัลอัสซาร์ อย่างไรก็ตามมีข้อมูลว่ารัฐบาลอียิปต์ได้เสนอให้ทุนไปยังคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จำนวน 80 ทุน
ปี 2550 รัฐบาลอียิปต์ได้เสนอให้ทุนระดับปริญญาตรี 2 ทุน ซึ่งผู้สมัครต้องจบการศึกษาระหว่างปี 2547-2549 ในการนี้กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอชื่อผู้สมัคร 2 คน คือ
1. น.ส.ศรัญญา ชมเผ่า โรงเรียนท่าอิฐศึกษา
2. นายเกียรตินันท์ มุมิ โรงเรียนบางกอกวิทยา (มูลนิธิ)
นอกจากนี้ รัฐบาลอียิปต์ได้เสนอให้ทุนการศึกษาภาษาอาหรับเป็นเวลา 8 เดือน อีก 2 ทุน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครและเสนอชื่อผู้รับทุนดังนี้
1. นายตอริด สาแม็ง โรงเรียนวิทยาศีล จังหวัดปัตตานี
2. นายวินัย เกาะสมัน โรงเรียนแสงธรรมวิทยา จังหวัดตรัง
ปี 2551 รัฐบาลอียิปต์ได้เสนอให้ทุนระดับปริญญาตรี 2 ทุน ซึ่งผู้สมัครต้องจบการศึกษาระหว่างปี 2549-2550 และทุนศึกษาภาษาอาหรับระยะเวลา 8 เดือน อีก 2 ทุน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการสอบคัดเลือกผู้สมัครเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2551 และเสนอชื่อผู้สมัครรับทุน ดังนี้
ทุนปริญญาตรี
1. นายมุสลาม ทับทิมใหม่ โรงเรียนท่าอิฐศึกษา
2. น.ส.วารุณี รูมิง โรงเรียนอิสลามสันติชน
ทุนภาษาอาหรับ
1. นายสราวุธ และซัน โรงเรียนท่าอิฐศึกษา
2. นายฉัตรชัย บินซัน โรงเรียนบางกอกวิทยามูลนิธิ
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557 ดร.สุทธศรี วงษ์สมานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้การต้อนรับ ศ.ดร.อับบาส อับเดลลาห์ อับบาส ซูแมน (H.E.Prof.Dr.Abdellah Abbas Shouman) รองผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์และคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย
โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันภาษาอาหรับที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จังหวัดนราธิวาส การส่งเสริมการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตการขยายทุนการศึกษา ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาหรับและส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาต่อในสาขาต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยประเทศอียิปต์ได้เสนอมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนไทย จำนวน 20 ทุน เพื่อไปศึกษาต่อในสาขาทางการแพทย์ แนวความคิดในเรื่องการจัดตั้งสถาบันสอนภาษาอาหรับในประเทศไทย
-------------------------
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป.
8 ส..ค.2551
ความร่วมมือกับราชอาณาจักรโมร็อกโค
ข้อมูลพื้นฐาน
1. ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีพื้นที่ 446,550 ตารางกิโลเมตร (ทั้งนี้ ยังมีดินแดน Western Sahara ซึ่งมี พื้นที่ 267,028 ตารางกิโลเมตรที่โมร็อกโกอ้างสิทธิเหนือดินแดนดังกล่าว และเป็นกรณีพิพาทกับแนวร่วม Polisario) มีประชากร 33.7 ล้านคน โดยเป็นชาว Arab-Berber ร้อยละ 99.1 ชาวยิวร้อยละ 0.2 และเชื้อชาติอื่นๆ (ก.ค. 2550) ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ และภาษาฝรั่งเศสใช้กันทั่วไป ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม (นิกายสุหนี่) ร้อยละ 98.7
2. เมืองสำคัญ กรุงราบาต (Rabat) เป็นเมืองหลวง
- เมืองคาซาบลังกา (Casablanca) เป็นเมืองท่า และเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
- เมืองเฟส (Fes) เมืองหลวงเก่า เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว
- เมืองมาร์ราเกช (Marrakech) เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่ เชิงเขาแอตลัส และเป็นเมืองที่มีการเจรจาความตกลงการค้าโลก ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO)
3. รูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
4. รายได้ประชากรต่อหัว 1,767 เหรียญสหรัฐ (ปี 2548)
5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 63.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2549)
6. สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ สิ่งทอ อุปกรณ์สื่อสาร ข้าวสาลี ก๊าซและไฟฟ้า พลาสติก
7. สินค้าส่งออกที่สำคัญ แร่ฟอสเฟตและปุ๋ย สินแร่ สารเคมี ผลิตภัณฑ์ เคมี ปลา ผักผลไม้และเสื้อผ้า
8. นโยบายด้านการต่างประเทศ โมร็อกโกเป็นประเทศอาหรับสายกลางที่มีบทบาทมากทั้งในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก มีความใกล้ชิดกับยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ตลอดจนสนับสนุนการแสวงหาสันติภาพในอาหรับ อย่างไรก็ดี โมร็อกโกมีปัญหาขัดแย้งในเรื่องดินแดนซาฮาราตะวันตก (Western Sahara) ซึ่งโมร็อกโกพยายามอ้างสิทธิ ขณะที่ประเทศแอฟริกันส่วนใหญ่โดยเฉพาะแอลจีเรีย สนับสนุนกลุ่มแนวร่วม Polisario ซึ่งอ้างตัวเป็นผู้แทนของประชาชนในดินแดนซาฮาราตะวันตก และประสงค์จะแยกตัวเป็นอิสระ
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับโมร็อกโกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) ความสัมพันธ์ได้ดำเนินมาด้วยดีโดยตลอด ต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงราบัต และได้แต่งตั้งนาย Younes Laraqui เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำนครคาซาบลังกา ส่วนโมร็อกโกได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตโมร็อกโกที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)
ความร่วมมือทางวิชาการ ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยมีการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการทวิภาคีกับโมร็อกโก ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation among Developing Countries หรือ TCDC) ในปี พ.ศ. 2541 - 2543 ไทยอนุมัติทุนฝึกอบรมให้โมร็อกโก จำนวน 10 ทุน ในสาขา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มลภาวะรถยนต์และสิ่งแวดล้อม การวางแผนท่าอากาศยานและการจราจรทางอากาศ การซ่อมและบำรุงรักษายานยนต์และขนส่ง การซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม และหัตถกรรม ฝ่ายโมร็อกโกได้จัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนและนักศึกษาไทยมุสลิม จำนวน 15 ทุนต่อปี โดยนักศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาทางด้านศาสนาอิสลาม ปัจจุบันมีนักเรียนไทยในโมร็อกโกจำนวนประมาณ 50 คน (ที่มา : กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา สิงหาคม 2550)
ข้อมูลทางการศึกษา
โมร็อกโกเริ่มการศึกษาภาคบังคับในปี 2506 สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 7-13 ปี อย่างไรก็ตามในปี 2543 มีเด็กนักเรียนประมาณเพียงร้อยละ 85 ที่เข้าสู่ระบบการศึกษา ซึ่งรัฐบาลโมร็อกโกได้จัดสรรงบประมาณให้ถึง 26 % แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาก็นับว่ารัฐบาลโมร็อกโกได้มีการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างมาก ทั้งด้านคุณภาพ มาตรฐาน และการประกันคุณภาพ
โมร็อกโกได้จัดให้มีการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือการศึกษาระยะที่ 1 (Basic หรือ First Stage) เป็นการศึกษาสำหรับเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี รวม 6 ปี
2. การศึกษาขั้นพื้นฐานระยะที่ 2 (Basic Second Stage) เป็นการศึกษาสำหรับเด็กอายุระหว่าง 12-15 ปี รวม 3 ปี
3. การศึกษาสายสามัญระดับมัธยมศึกษา (General Secretary) เป็นการศึกษาสำหรับเด็กอายุระหว่าง 15-18 ปี รวม 3 ปี
4. การศึกษาสายอาชีพระดับมัธยมศึกษา หรือ Technical Secretary เป็นการศึกษาสำหรับเด็กอายุระหว่าง 15-18 ปี รวม 3 ปี
5. การศึกษาด้านเทคนิค (Technical) 2 ปี เป็นการศึกษาสำหรับเด็กอายุ ระหว่าง 18-20 ปี
ส่วนการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุดมศึกษา (Ministere de l’ Enseignement Superieur) ซึ่งมีทั้งสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาชั้นสูง (Grande Ecoles) สถาบันฝึกอบรมครู และสถาบันการฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังมีการบริหารงบประมาณที่เป็นอิสระ (Budgetary Autonomy)
ความร่วมมือด้านการศึกษา
การดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของไทยกับโมร็อกโกนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะของทุนการศึกษา โดยรัฐบาลโมร็อกโกได้เริ่มให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี/โท/เอกแก่รัฐบาลไทยเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี ตั้งแต่ปี 2537 (1994) โดยสนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนไทยได้ไปศึกษายังมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาของโมร็อกโกในสาขาต่าง ๆ เช่น แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กฎหมาย และภาษาอารบิค เป็นต้น ปีละจำนวน 15 ทุน ซึ่งในระยะแรกสถานเอกอัครราชทูตโมร็อกโกจะดำเนินการเอง แต่หลังจากปี 2546 ได้แจ้งขอความร่วมมือให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ และกระทรวงการต่างประเทศได้บริหารทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาสัญชาติไทยและนักเรียนไทยมุสลิม โดยจัดสรรโควตาในส่วนของนักศึกษาสัญชาติไทยให้กระทรวงศึกษาธิการปีละ 3-5 ทุน ส่วนนักศึกษามุสลิมได้จัดสรรโควต้าผ่านกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ปีละประมาณ 10 ทุน โดยในขั้นตอนสุดท้ายกระทรวงการต่างประเทศจะเสนอชื่อผู้สมัครรับทุนไปยังรัฐบาลโมร็อกโกต่อไป
สำหรับในภาพรวมของนักเรียนไทยที่ได้รับทุนจากรัฐบาลโมร็อกโกนั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อไปศึกษาต่อในสาขา Islamic Studies หรือ Arabic Literature
ส่วนการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรีนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอดิศัย โพธารามิก) เคยเดินทางไปเยือนโมร็อกโก ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2547 เพื่อดูงานด้านการศึกษานอกโรงเรียน
---------------
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป.
30 ต.ค.2550