Loading color scheme

ไทยสนับสนุนยุทธศาสตร์อาเซมสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ยั่งยืน

asem 9 8 30 1 2567

Asemme9 1 27 1 2567

          นายกมล รอดคล้าย ประธานคณะทำงานฝ่ายอำนวยการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับมอบหมายจาก พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยผู้แทนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการต่างประเทศและผู้แทนสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีศึกษาของอาเซม ครั้งที่ 9 (9th ASEM Education Ministers’ Meeting: ASEMME9) ระหว่างวันที่ 25 - 26 มกราคม 2567 ณ เมืองฟลอเรียนา สาธารณรัฐมอลตา

Asemme9 9 27 1 2567

Asemme9 2 27 1 2567

          ในการประชุมดังกล่าว หัวหน้าคณะผู้แทนของแต่ละประเทศได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ตามหัวข้อยุทธศาสตร์ของอาเซมใน 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) Sustainable Development Goals and Education 2) Recognition and Balanced Mobility 3) Lifelong Learning and TVET และ 4) Digitalization โดย นายกมล รอดคล้าย ในฐานะผู้แทนประเทศไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงหัวข้อ Lifelong Learning and TVET ที่มุ่งส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาและฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป โดยประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาตลอดชีวิตที่เป็นเครื่องมือในการยกระดับและพัฒนาทักษะของทุนมนุษย์เพื่อให้พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้แนวคิด “เรียนดี มีความสุข” เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะจำเป็นสู่การเป็นพลเมืองโลก ตลอดจนการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้ง ได้มีการดำเนินการที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของอาเซมเพื่อให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณภาพภายในปี 2030

Asemme9 8 27 1 2567

Asemme9 4 27 1 2567

Asemme9 5 27 1 2567

          ในโอกาสนี้ นายกมล รอดคล้าย พร้อมคณะได้เข้าร่วมการประชุมหารือความร่วมมือด้านการอาชีวศึกษา ณ วิทยาลัยมอลตาด้านศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (Malta College for Arts, Science and Technology: MCAST) ในสาขาการประมง เครื่องกลเรือ และการซ่อมบำรุงเรือ รวมทั้งด้านการอุดมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมอลตา (University of Malta: UOM) และสถาบันมหาสมุทรระหว่างประเทศ (International Ocean Institute: IOI)

          อนึ่ง การประชุม ASEMME9 เป็นเวทีหารือและแลกเปลี่ยนนโยบายด้านการศึกษาระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป ภายใต้แนวคิดหลัก “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Leaving No One Behind) ปัจจุบันสาธารณรัฐอิตาลีเป็นสำนักเลขาธิการด้านการศึกษาของอาเซม และสาธารณรัฐมอลตา โดยกระทรวงศึกษาธิการ กีฬาเยาวชน วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสำนักงานการอาชีวศึกษาและการอุดมศึกษา สาธารณรัฐมอลตา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย ผู้แทนระดับรัฐมนตรีศึกษา เจ้าหน้าที่อาวุโส และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประมาณ 100 คน สำหรับการประชุม ASEMME 10 จะจัดขึ้นในปี 2569 ที่สาธารณรัฐอินเดีย

Asemme9 6 27 1 2567

asem 9 10 30 1 2567

asem 9 11 30 1 2567

Asemme9 7 27 1 2567

facebook

สรุป/เรียบเรียง : หงษ์ฟ้า วีระนพรัตน์
สริญณพัชร์ ธรรมบุศย์

พิมพ์วรัชญ์ เมืองนิล

รายงานโดย : กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศต่างประเทศ
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
27 มกราคม 2567