Loading color scheme

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 18 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 5 - 6 ตุลาคม 2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

som ed1 6 10 2566

          กระทรวงการศึกษาและฝึกอบรมของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 18 (The 18th ASEAN Senior Officials Meeting on Education : SOMED) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน+3 ครั้งที่ 13 (13th ASEAN+3 Officials Meeting on Education : SOMED+3) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษาครั้งที่ 8 (8th EAST ASIA Summit Senior Officials Meeting on Education : EAS-EMM) ระหว่างวันที่ 5 – 6 ตุลาคม 2566 ผ่านการประชุมทางไกล โดยมีผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และติมอร์เลสเต ในฐานะผู้สังเกตการณ์ พร้อมด้วยผู้แทนจากจีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐฯ ในส่วนของประเทศไทยปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้ นางพิมพ์วรัชญ์ เมืองนิล รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการ

som ed2 6 10 2566

          ประชุมฯ โดยมีผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้า¬ของแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ปี 2564-2568 การรับรองร่างปฏิญญาว่าด้วยการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration on Early Childhood Care and Education in Southeast Asia) และการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนกลยุทธ์ภายใต้ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน การดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น รวมถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านต่างๆ รวมถึงข้อจำกัดในการดำเนินงานตามแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ฯ ในด้านงบประมาณ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินโครงการและกิจกรรมตามแผนงาน ความมั่นคงทางการเมือง มีผลต่อการทำงานและการลงทุนระยะยาวของแผนงานฯ ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานจะเกิดความยั่งยืน ที่ประชุมจึงมีเห็นว่าต้องมีการพัฒนารูปแบบการระดมทุนที่ยั่งยืน และรักษาพันธสัญญาในการร่วมมือกันทำงานจากประเทศสมาชิกและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง แนวทางนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการตามแผนงานได้ นอกจากนี้ในที่ประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ได้มีความก้าวหน้าของการจัดสรรทุนการศึกษาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวภายใต้โครงการ ASEAN-China Young Leaders Scholarship Programme โครงการแลกเปลี่ยนกับประเทศญี่ปุ่นในโครงการ Education Exchange and Cooperation among APT Countries ความร่วมมือกับเกาหลีภายใต้โครงการ Higher Education for ASEAN Talents: Scholarship Opportunity for ASEAN Faculty Members และโครงการภายใต้กองทุน ASEAN Cyber University Project และโครงการ ASEAN Cyber University ความร่วมมือกับอินเดียในโครงการ ASEAN-India Network of Universities Faculty Exchange Programme and Doctoral Fellowship in India for ASEAN ความร่วมมือกับออสเตรเลียในโครงการ Australia for ASEAN Scholarships โครงการ Australia for ASEAN Digital Transformation and Future Skills Initiative และโครงการ Technical and Vocational Education and Training (TVET) ความร่วมมือกับนิวซีแลนด์ในการดำเนินงานด้านอาชีวะ ความปลอดภัยด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลในการทำงานของภาครัฐ รวมทั้งยินดีต้อนรับนักเรียน นักศึกษาจากเป็นสมาชิก EAS ให้เข้ามาศึกษาในประเทศ หลังจากสถานการณ์โควิดดีขึ้นแล้วเป็นต้น

ในส่วนของประเทศไทยได้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ระหว่าง 2021 – 2025 ที่สำคัญได้แก่

1. โครงการ Asian International Mobility for Students Programme ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยระหว่างปี 2553-2566 มีนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ AIMS จำนวนรวม 1,982 คน โดยมีนักศึกษาไทยไปศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ จำนวน 958 คน และมีนักศึกษาต่างชาติเดินทางมาศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาไทยจำนวน 1,024 คน

2. โครงการ TVET Capacity Building ภายใต้การสนับสนุนรับงบประมาณจากกองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง

3. การให้การฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีทักษะและสมรรถนะด้านดิจิทัล จำนวนประมาณ 80,000 คน

4. การดำเนินการด้านการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งภาคการศึกษาและกำลังคน

          ทั้งนี้ประเทศไทยได้แสดงความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น ครั้งที่ 4 (4rd Working Group Meeting on the Out-of-School Children and Youth: OOSCY) ซึ่งจะจัดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 และความพร้อมสำหรับการรับเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2567 – 2568 และการเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในปี 2567 ภายใต้หัวข้อ “พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล (Transforming Education to Fit in the Digital Era)” ซึ่งจะจัดในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 พร้อมกันนี้ได้กล่าวชื่นชมเวียดนามสำนักเลขาธิการอาเซียนที่ร่วมกันจัดการประชุมในครั้งนี้

สรุปและเรียบเรียง: รุ่งกานต์ พันธุ์ภักดี
กุสุมา นวพันธ์พิมล
กลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาค
รายงานโดย : กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศต่างประเทศ
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
6 ตุลาคม 2566