Loading color scheme

การลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการศึกษาทวิภาคีไทย-เยอรมันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ

การลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการศึกษาทวิภาคีไทย-เยอรมันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

image002

      เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 เวลา 16.00 น. กระทรวงศึกษาธิการได้จัดพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการศึกษาทวิภาคีไทย-เยอรมันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Memorandum of Understanding on German-Thai Dual Excellence Education between the Ministry of Education of the Kingdom of Thailand and the Federal Foreign Office of the Federal Republic of Germany) โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และนายรอล์ฟ เพเทอร์ ก็อดฟรีด ชูลเซ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย เป็นผู้ลงนามฝ่ายเยอรมันบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการศึกษาทวิภาคีไทย-เยอรมันสู่ความเป็นเลิศระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นข้อตกลงที่ไทยและเยอรมนีแสดงเจตนาที่จะร่วมกันในการพัฒนาการอาชีวศึกษาของไทย โดยตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่แน่นแฟ้นยาวนาน โดยการนำระบบการศึกษาทวิภาคีของเยอรมนีซึ่งถือเป็นรูปแบบการศึกษาอาชีวศึกษาที่มีชื่อเสียงมาใช้พัฒนาการอาชีวศึกษาของไทย เพื่อให้นักเรียนอาชีวศึกษาสำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยนักเรียนได้เรียนภาคทฤษฎีและการได้ฝึกปฏิบัติในสถานที่ทำงานจริงอย่างสมดุลการดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และบริษัทเยอรมันในประเทศไทย 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทบีเอ็มดับเบิลยู (BMW) บริษัทบ๊อช (Bosch) และบริษัท บีกริม (B.Grimm) จะทำงานร่วมกันในการพัฒนาการศึกษาทวิภาคีของไทย โดยใช้ระบบการศึกษาวิชาชีพของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่มีชื่อเสียงเข้ามาช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้แก่ระบบการอาชีวศึกษาที่มีอยู่ของไทย โดยการจัดหลักสูตรการอาชีวศึกษาขึ้นภายในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของไทยที่ได้รับคัดเลือก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการประสานร่วมกันเป็นอย่างดีของทั้งสองฝ่าย โดยนักเรียนอาชีวศึกษาจะได้มีโอกาสในการศึกษาในวิทยาลัยและฝึกปฏิบัติงานในบริษัทต่างๆเหล่านี้อย่างสมดุล และมีการจัดทำรูปแบบ ของสัญญา (ค่าตอบแทนและทุนการศึกษา) ในระหว่างการฝึกปฏิบัติงานด้วย ทั้งนี้ ในระยะต่อไปเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทยสภาหอการค้าไทย-เยอรมัน และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และจะรวบรวมบริษัทเยอรมันในไทยเข้ามาร่วมโครงการให้มากยิ่งขึ้น

****************************************************

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
21 พฤษภาคม 2556