1. เราในฐานะประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า อาเซียน) มารวมตัวกันที่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 27 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เพื่อเฉลิมฉลองการก่อตั้งประชาคม อาเซียน 2015 อย่างเป็นทางการ และกำหนดวิสัยทัศน์ ประชาคมอาเซียน 2025
2. เราระลึกถึงวิสัยทัศน์อาเซียนในการเป็นประชาคม ที่รวมกันเป็นหนึ่ง มีสันติภาพ และความมั่นคง รวมทั้ง มีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของพันธกรณีและ ความปรารถนา ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 กฎบัตรอาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009 - 2015) และ ปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก
3. เรายินดีที่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ความคืบหน้าของ การดำเนินงานตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วย แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและ ความมั่นคงอาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน กรอบยุทธศาสตร์ ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนและแผนงาน ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2009 - 2015) รวมทั้งแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ได้นำพาพวกเราไปสู่จุดที่สำคัญของพัฒนาการอาเซียน กล่าวคือ การก่อตั้งประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2015 อย่างเป็นทางการ
4. เราตกลงที่จะทำให้ประชาคมของเราแข็งแกร่ง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการ การรวมกลุ่มที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมที่ยึดมั่นในกฎกติกา ทำเพื่อประโยชน์ ของประชาชน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยเป็นที่ซึ่ง ประชาชนมีสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นและได้รับประโยชน์จากการสร้างประชาคม เสริมสร้าง ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีอัตลักษณ์ร่วม เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และหลักการของกฎบัตรอาเซียน
5. เรามองเห็นประชาคมที่มีสันติภาพ ความมั่นคง และความแข็งแกร่ง มีศักยภาพมากขึ้น ที่จะตอบสนองต่อ ความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพ และประชาคมที่มองออกไป นอกภูมิภาคในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก โดยยังรักษา ความเป็นแกนกลางของอาเซียนไว้ อีกทั้งเรามองเห็น ความมีชีวิตชีวา ความยั่งยืนและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขั้นสูง ความเชื่อมโยงที่มากขึ้น รวมทั้งความพยายามที่แข็งขันขึ้นในการ ลดช่องว่างด้านการพัฒนาผ่านข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน และเรายังมองเห็นอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการไขว่คว้า โอกาสและรับมือกับความท้าทายที่จะมาถึงในทศวรรษหน้า
6. เราเน้นย้ำความสอดคล้องกันระหว่างวาระ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ค.ศ. 2030 กับ ความพยายามในการสร้างประชาคมอาเซียนเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนของเรา ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
7. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจะเป็น ประชาคมที่มีความเป็นหนึ่ง ครอบคลุม และแข็งแกร่ง ประชาชน ของเราจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ปรองดอง และมั่นคง โอบรับค่านิยมเรื่องขันติธรรมและทางสายกลาง รวมทั้งยึดมั่นในหลักการขั้นพื้นฐานของอาเซียน ค่านิยมและ บรรทัดฐานที่มีร่วมกัน นอกจากนี้ อาเซียนยังคงมีความแน่นแฟ้น มีความสำคัญ และตอบสนองต่อความท้าทายที่คุกคามสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค และมีบทบาทหลักในการสร้าง โครงสร้างสถาปัตยกรรมภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ในขณะเดียวกันก็ปฏิสัมพันธ์กับภาคีภายนอกอย่างลึกซึ้งขึ้น และร่วมส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพของโลก
8. ดังนั้น เราจะดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่ง 8.1 ประชาคมที่ยึดมั่นในกฎกติกา ที่ยึดมั่น ในหลักการขั้นพื้นฐานของอาเซียน ค่านิยม และบรรทัดฐานที่มีร่วมกัน ตลอดจนหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ควบคุมการดำเนิน ความสัมพันธ์อย่างสันติระหว่างรัฐ
8.2 ประชาคมที่ครอบคลุมและตอบสนอง ที่ประชาชนมีสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตลอดจน เติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีความยุติธรรม เป็นประชาธิปไตย ปรองดอง และมีความอ่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องเพศสภาพ โดยเป็นไป ตามหลักประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และนิติธรรม
8.3 ประชาคมที่โอบรับขันติธรรมและทางสายกลาง ความเคารพศาสนา วัฒนธรรม และภาษาที่แตกต่างกัน ของประชาชนของเรา ยึดมั่นในค่านิยมร่วมเพื่อให้มีความเป็นหนึ่ง ในความหลากหลาย รวมถึงรับมือกับภัยคุกคามของลัทธิสุดโต่ง รุนแรงในทุกรูปแบบ
8.4 ป ร ะ ช า ค ม ที่ส่ง เ ส ริม ค ว า ม มั่น ค ง ที่ครอบคลุมทุกมิติ ที่พัฒนาศักยภาพในการรับมือกับ ความท้าทายที่มีอยู่และที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงประเด็น ความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอาชญากรรมข้ามชาติ และความท้าทายข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพและ ทันท่วงที
8.5 ภูมิภาคที่แก้ไขความแตกต่างและข้อพิพาท โดยสันติวิธี รวมถึงการละเว้นการขู่ที่จะใช้หรือการใช้ความรุนแรง และใช้กลไกการระงับข้อพิพาทอย่างสันติ ในขณะเดียวกัน ก็เสริมสร้างมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ส่งเสริมกิจกรรม การทูตเชิงป้องกัน และข้อริเริ่มเรื่องการคลี่คลายความขัดแย้ง
8.6 ภูมิภาคที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ตลอดจนการสนับสนุนความพยายาม ระดับโลกในการลดอาวุธ การไม่แพร่ขยายและการใช้อาวุธนิวเคลียร์ เพื่อสันติ
8.7 ภูมิภาคที่ส่งเสริมความมั่นคงทางทะเลและ ความร่วมมือทางทะเลเพื่อสันติภาพ และเสถียรภาพในภูมิภาคและ ภายนอก ผ่านกลไกของอาเซียนและกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ และรับรองสนธิสัญญา และหลักการทางทะเลที่เป็นที่ยอมรับ ในเวทีระหว่างประเทศ
8.8 ประชาคมที่เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความแน่นแฟ้น และความเป็นแกนกลางของอาเซียน รวมถึงยังคง เป็นแรงผลักดันหลักในการสร้างโครงสร้างสถาปัตยกรรมภูมิภาค โดยตั้งอยู่บนกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ
8.9 ประชาคมที่ส่งเสริมความร่วมมือกับคู่เจรจา อย่างลึกซึ้ง การปฏิสัมพันธ์กับภาคีภายนอก และเปิดรับหุ้นส่วน ที่มีศักยภาพ เพื่อความสัมพันธ์ที่เป็นมิตร และเป็นประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงร่วมกันตอบสนองอย่างสร้างสรรค์ต่อประเด็น และพัฒนาการ ในระดับโลกที่เป็นข้อห่วงกังวลร่วม
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
9. ภายในปี ค.ศ. 2025 ประชาคมเศรษฐกิจของเรา จะต้องมีการรวมตัวกันอย่างลึกซึ้ง มีความเป็นเอกภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน มีพลวัต และมีความหลากหลาย รวมทั้งมีความเชื่อมโยงและความร่วมมือจากแต่ละภาคส่วน ที่เพิ่มขึ้น และเป็นประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง ทุกคนมีส่วนร่วม มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก
10. ดังนั้น เราจะดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่ง 10.1 เศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่มีการรวมตัวกัน อย่างลึกซึ้งที่สนับสนุนและคงไว้ซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผ่านการค้าขาย การลงทุน การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเพิ่ม ความสามารถของภูมิภาคในการตอบสนองต่อความท้าทายและ แนวโน้มของโลก ส่งเสริมการเป็นตลาดเดียวจากการมีความตกลง เกี่ยวกับการค้าขายสินค้าและขจัดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในด้านบริการการค้าและ ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายการลงทุน แรงงานมีฝีมือ นักธุรกิจ และเงินทุน
10.2 ประชาคมที่มีความสามารถในการแข่งขัน มีความก้าวหน้าทางนวัตกรรม และมีพลวัตซึ่งส่งเสริม การเจริญเติบโตเชิงผลผลิต ผ่านการใช้ประโยชน์ของความรู้ และนโยบาย ที่ส่งเสริมนวัตกรรม เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี ดิจิทัล ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล หลักกฎหมายที่โปร่งใส และตอบสนอง ตลอดจนกลไกระงับข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพ และมีวิสัยทัศน์ในการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลก
10.3 ความเชื่อมโยงที่มากขึ้นและความร่วมมือ จากภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีการพัฒนากรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค รวมทั้งนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของภาคส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญต่อ การดำเนินงานของประชาคมเศรษฐกิจ
10.4 ประชาคมที่แข็งแกร่ง ทุกคนมีส่วนร่วมทำ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเสมอภาคและการเจริญเติบโต ที่ทุกคนมีส่วนร่วม เป็นประชาคมที่มีนโยบายเกี่ยวกับวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยที่มีประสิทธิภาพ และร่วมมือกัน เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา และเป็นประชาคมที่มีการปฏิสัมพันธ์ กับภาคธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีประสิทธิภาพ มีความร่วมมือ และโครงการด้านการพัฒนาระดับอนุภูมิภาค และมีโอกาส ทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นเพื่อขจัดความยากจน และ
10.5 อาเซียนที่เป็นสากลและดำเนินความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจกับภาคีภายนอกด้วยวิธีการที่เป็นระบบและ สอดคล้องกันยิ่งขึ้น และยังคงเป็นผู้ขับเคลื่อนการรวมตัว ทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกที่คงความเป็นศูนย์กลางและ มีความสำคัญรวมทั้งเป็นอาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียว และมีบทบาท และเสียงที่มากขึ้นในเวทีเศรษฐกิจโลก ในการจัดการและรับมือกับ ประเด็นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
11. ในปี ค.ศ. 2025 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนของเราจะเป็นประชาคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน และประชาชนได้รับประโยชน์ รวมทั้งทุกคนมีส่วนร่วม มีความยั่งยืน แข็งแกร่งและพลวัต
12. ดังนั้น เราจะดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่ง 12.1 ประชาคมที่มุ่งมั่น ประชาชนมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านกลไกที่เชื่อถือได้ และทุกคน มีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ของประชาชนในอาเซียนโดยยึดหลัก ธรรมภิบาล
12.2 ประชาคมที่ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งส่งเสริม คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น การเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม การส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ หรือกลุ่มที่เปราะบางและชายขอบ
12.3 ประชาคมที่มีความยั่งยืนที่สนับสนุน การพัฒนาทางสังคมและปกป้องสิ่งแวดล้อม ผ่านกลไก ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และอนาคตของประชาชน 12.4 ประชาคมที่แข็งแกร่งที่มีความสามารถและ สมรรถนะในการปรับตัวและตอบสนองต่อความเปราะบาง ทางสังคมและความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ปัญหาภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนภัยคุกคาม และความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 12.5 ประชาคมที่มีพลวัตและปรองดอง ตระหนัก และภูมิใจในอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และมรดกที่เสริมสร้าง ความสามารถในการพัฒนาและส่งเสริมประชาคมโลกในเชิงรุกได้ ขับเคลื่อนไปข้างหน้า 13. เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 ได้สำเร็จ เราต้องจัดตั้งประชาคมที่มีสถาบันที่เข้มแข็งด้วยการ พัฒนากระบวนการการทำงานและการประสานงานของอาเซียน เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน ซึ่งรวมถึงสำนักเลขาธิการอาเซียน นอกจากนี้ เราจะต้องจัดตั้ง ประชาคมที่สถาบันของอาเซียนมีตัวตนมากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับ ประเทศ ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ 14. ดังนั้น เรามอบหมายคณะมนตรีประชาคมอาเซียน ในการนำข้อตกลงใน “อาเซียน ค.ศ. 2025 : มุ่งหน้าไปด้วยกัน” ไปปฏิบัติอย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิภาพ และรายงาน ต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ตามกระบวนการที่ได้ดำเนินการ อยู่ก่อนแล้ว 15. เราสัญญากับประชาชนของเราว่า จะมีความแน่วแน่ ในการจัดตั้งอาเซียนที่ยึดมั่นในกฎกติกา ทำเพื่อประโยชน์ ของประชาชน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีหนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
|
1. We, the Heads of State/Government representing the peoples of the Member States of the Association of Southeast Asian Nations (hereinafter referred to as ASEAN), gather here today at the 27th ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, to celebrate the formal establishment of the ASEAN Community 2015 and to chart the ASEAN Community Vision 2025.
2. We recall the ASEAN vision of an integrated, peaceful and stable community with shared prosperity built upon the aspirations of and commitment to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia, the ASEAN Vision 2020, the Declaration of ASEAN Concord II, the ASEAN Charter, the Roadmap for an ASEAN Community (2009-2015) and the Bali Declaration on ASEAN Community in a Global Community of Nations.
3. We are pleased that the positive progress made since 2009 in implementing the Roadmap for an ASEAN Community comprising the ASEAN Political-Security Community, ASEAN Economic Community and ASEAN Socio-Cultural Community Blueprints, as well as the Initiative for ASEAN Integration (IAI) Strategic Framework and the IAI Work Plan II (2009-2015) and the Master Plan on ASEAN Connectivity has led us to another important milestone in ASEAN development, namely, the formal establishment of the ASEAN Community 2015.
4. We resolve to consolidate our Community, building upon and deepening the integration process to realise a rules-based, people-oriented, people-centred ASEAN Community, where our peoples enjoy human rights and fundamental freedoms, higher quality of life and the benefits of community building, reinforcing our sense of togetherness and common identity, guided by the purposes and principles of the ASEAN Charter.
5. We envision a peaceful, stable and resilient Community with enhanced capacity to respond effectively to challenges, and ASEAN as an outwardlooking region within a global community of nations, while maintaining ASEAN centrality. We also envision vibrant, sustainable and highly integrated economies, enhanced ASEAN Connectivity as well as strengthened efforts in narrowing the development gap, including through the IAI. We further envision ASEAN empowered with capabilities, to seize opportunities and address challenges in the coming decade.
6. We underline the complementarity of the United Nations 2030 Agenda for Sustainable Development with ASEAN community building efforts to uplift the standards of living of our peoples. ASEAN Political-Security Community
7. Our ASEAN Political-Security Community by 2025 shall be a united, inclusive and resilient community. Our peoples shall live in a safe, harmonious and secure environment, embrace the values of tolerance and moderation as well as uphold ASEAN fundamental principles, shared values and norms. ASEAN shall remain cohesive, responsive and relevant in addressing challenges to regional peace and security as well as play a central role in shaping the evolving regional architecture, while deepening our engagement with external parties and contributing collectively to global peace, security and stability.
8. We, therefore, undertake to realise: 8.1. A rules-based community that fully adheres to ASEAN fundamental principles, shared values and norms as well as principles of international law governing the peaceful conduct of relations among states;
8.2. An inclusive and responsive community that ensures our peoples enjoy human rights and fundamental freedoms as well as thrive in a just, democratic, harmonious and gender-sensitive environment in accordance with the principles of democracy, good governance and the rule of law;
8.3. A community that embraces tolerance and moderation, fully respects the different religions, cultures and languages of our peoples, upholds common values in the spirit of unity in diversity as well as addresses the threat of violent extremism in all its forms and manifestations;
8.4. A community that adopts a comprehensive approach to security which enhances our capacity to address effectively and in a timely manner existing and emerging challenges, including non-traditional security issues, particularly transnational crimes and transboundary challenges;
8.5. A region that resolves differences and disputes by peaceful means, including refraining from the threat or use of force and adopting peaceful dispute settlement mechanisms while strengthening confidence-building measures, promoting preventive diplomacy activities and conflict resolution initiatives;
8.6. A region that remains free of nuclear weapons and other weapons of mass destruction, as well as contributes to global efforts on disarmament, non-proliferation and peaceful uses of nuclear energy;
8.7. A community that enhances maritime security and maritime cooperation for peace and stability in the region and beyond, through ASEAN and ASEAN-led mechanisms and adopts internationallyaccepted maritime conventions and principles;
8.8. A community that strengthens our unity, cohesiveness and ASEAN centrality as well as remains the primary driving force in shaping the evolving regional architecture that is built upon ASEAN-led mechanisms; and
8.9. A community, in the interest of developing friendly and mutually beneficial relations, that deepens cooperation with Dialogue Partners, strengthens engagement with other external parties, reaches out to potential partners, as well as responds collectively and constructively to global developments and issues of common concern.
ASEAN Economic Community
9. Our ASEAN Economic Community by 2025 shall be highly integrated and cohesive; competitive, innovative and dynamic; with enhanced connectivity and sectoral cooperation; and a more resilient, inclusive, and people-oriented, people-centred community, integrated with the global economy.
10. We, therefore, undertake to achieve: 10.1. A highly integrated and cohesive regional economy that supports sustained high economic growth by increasing trade, investment, and job creation; improving regional capacity to respond to global challenges and mega trends; advancing a single market agenda through enhanced commitments in trade in goods, and through an effective resolution of non-tariff barriers; deeper integration in trade in services; and a more seamless movement of investment, skilled labour, business persons, and capital;
10.2. A competitive, innovative and dynamic community which fosters robust productivity growth including through the creation and practical application of knowledge, supportive policies towards innovation, science-based approach to green technology and development, and by embracing the evolving digital technology; promotion of good governance, transparency and responsive regulations; effective dispute resolution; and a view towards enhanced participation in global value chains;
10.3. Enhanced connectivity and sectoral cooperation with improvements in regional frameworks, including strategic sectoral policies vital to the effective operationalisation of the economic community;
10.4. A resilient, inclusive, people-oriented and people-centred community that engenders equitable development and inclusive growth; a community with enhanced micro, small and medium enterprise development policies and cooperation to narrow the development gaps; and a community with effective business and stakeholder engagement, sub-regional development cooperation and projects, and greater economic opportunities that support poverty eradication; and
10.5. A global ASEAN that fosters a more systematic and coherent approach towards its external economic relations; a central and foremost facilitator and driver of regional economic integration in East Asia; and a united ASEAN with an enhanced role and voice in global economic fora in addressing international economic issues. ASEAN Socio-Cultural Community
11. Our ASEAN Socio-Cultural Community by 2025 shall be one that engages and benefits the peoples, and is inclusive, sustainable, resilient, and dynamic.
12. We, therefore, undertake to realise: 12.1. A committed, participative and socially-responsible community through an accountable and inclusive mechanism for the benefit of our peoples, upheld by the principles of good governance;
12.2. An inclusive community that promotes high quality of life, equitable access to opportunities for all and promotes and protects human rights of women, children, youth, the elderly/older persons, persons with disabilities, migrant workers, and vulnerable and marginalised groups;
12.3. A sustainable community that promotes social development and environmental protection through effective mechanisms to meet the current and future needs of our peoples;
12.4. A resilient community with enhanced capacity and capability to adapt and respond to social and economic vulnerabilities, disasters, climate change as well as emerging threats and challenges; and
12.5. A dynamic and harmonious community that is aware and proud of its identity, culture, and heritage with the strengthened ability to innovate and proactively contribute to the global community. Moving Forward
13. In order to achieve our ASEAN Community Vision 2025, we shall realise a community with enhanced institutional capacity through improved ASEAN work processes and coordination, increased effectiveness and efficiency in the work of ASEAN Organs and Bodies, including a strengthened ASEAN Secretariat. We shall also realise a community with increased ASEAN institutional presence at the national, regional and international levels.
14. We, therefore, task the ASEAN Community Councils to fully and effectively implement the commitment contained in the ASEAN 2025 : Forging Ahead Together and to submit their reports to the ASEAN Summit, in accordance with the established procedure.
15. We pledge to our peoples our resolve to realise a rules-based, people-oriented, people-centred ASEAN of “One Vision, One Identity, One Community”.
|